Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20850
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณรงค์ ขำวิจิตร์-
dc.contributor.authorนิธิกานต์ รงรอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-14T11:37:30Z-
dc.date.available2012-07-14T11:37:30Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20850-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2553en
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษากระบวนการสร้างความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์สารานุกรมวิกิพีเดียไทยและความเชื่อถือของผู้ใช้ต่อเว็บไซต์วิกิพีเดียไทย ทั้งในด้านเนื้อหาบทความสารานุกรม ผู้ดูแลระบบ และนโยบายกับระบบของเว็บไซต์สารานุกรมเสรีออนไลน์วิกิพีเดียในภาคภาษาไทย โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ดูแลระบบ ผู้ใช้ที่เป็นผู้สื่อข่าวกับผู้ใช้ที่เป็นนักวิชาการ และการสำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการในการสร้างความน่าเชื่อถือของวิกิพีเดียนั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนของนโยบายและระบบของวิกิพีเดียที่เป็นลักษณะของการเปิดเสรีให้ผู้ใช้ได้มีส่วนร่วมผ่านซอฟท์แวร์เสรีและยังเผยแพร่ด้วยลิขสิทธิ์เสรีภายใต้สัญญาอนุญาติ GDFL ควบคู่กับสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ 3.0 ส่วนของผู้ใช้ที่สามารถมีส่วนร่วมในการจัดการเนื้อหาและเว็บไซต์ได้ ทั้งในด้านการสร้างเนื้อหาบทความและการดูแลเว็บไซต์ โดยที่ผู้ใช้สามารถเข้ามาเข้ามาเขียน แก้ไข หรือปรับปรุงเนื้อหา รวมทั้งสามารถร่วมกันอภิปรายเนื้อหาเพื่อให้ได้บทความที่มีความถูกต้องสมบูรณ์มากที่สุดด้วย อีกทั้งการเปิดให้มีส่วนร่วมในการจัดการเว็บไซต์และดูแลระหว่างผู้ใช้ด้วยกันเอง ทำให้ผู้ใช้ส่วนหนึ่งได้รับการยอมรับให้เป็นผู้ดูแลของเว็บไซต์วิกิพีเดียไทย และส่วนการจัดการบทความที่ทำให้ทุกคนร่วมสร้าง ปรับปรุง โดยอาศัยเครื่องมือแม่แบบ หรือหน้าอภิปรายในการปรับปรุงหน้าบทความ โดยกระบวนการสุดท้ายของการปรังปรุงบทความเป็นการจัดระดับบทความที่จะทำให้ได้บทความคัดสรรหรือคุณภาพ ซึ่งถือว่าเป็นบทความที่มีคุณภาพดีที่สุดในวิกิพีเดียไทย การสำรวจและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ใช้มีความสอดคล้องกัน โดยผู้ใช้ยังมีความรับรู้ในการใช้งานและมีส่วนร่วมในเว็บไซต์น้อย แต่มีการนำไปใช้ประโยชน์ค่อนข้างสูง ด้านความเชื่อถือต่อภาพรวมเว็บไซต์วิกิพีเดียไทยอยู่ในระดับสูง โดยความเชื่อถือต่อเนื้อหาบทความวิกิพีเดียไทยในระดับปานกลาง ความเชื่อถือต่อผู้ดูแลระบบวิกิพีเดียไทยในระดับปานกลาง และความเชื่อถือต่อระบบของเว็บไซต์วิกิพีเดียไทยระดับสูง ซึ่งการจัดระดับบทความและการได้รับเลือกเป็นบทความคุณภาพและบทความคัดสรรทำให้บทความมีความน่าเชื่อถือสูงen
dc.description.abstractalternativeThis research has been conducted both qualitatively and quantitatively to study the process of building Thai Wikipedia’s credibility (th.wikipedia.org) by in-depth interview administrators, and to study Thai users’ reliability in content, web administrators and policy by survey and in-depth interview journalists and academic. Research results that the process of Thai Wikipedia’s building credibility contained three important parts: policy and system of Wikipedia, users, and content management. Policy of Wikipedia to open user to generate content and participate in website management through the free software and publish with free copyright GFDL and Creative Commons 3.0. Users can write, edit and update the articles, and also discuss about articles to improve the articles to be the most complete and accurate with templates and discussion page as tools. The participation in content and website management causes users has been accepted as administrators. The article management allowed users can vote article to be “Featured Article” or “Good Article”. Moreover, the survey and interview show that the Thai Wikipedia website can easily adopted in reading and using content by users but only a small number of users knowing function and participating in content editing. The reliability of Thai Wikipedia is high, caused by medium reliability of content, medium reliability of web administrators and high reliability of its system and organization. The article rating and the selected articles as featured or good articles caused high reliability in article.en
dc.format.extent3216103 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.358-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเว็บไซต์ -- สารานุกรม-
dc.subjectความเชื่อถือได้-
dc.titleความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์สารานุกรมวิกิพีเดียไทยen
dc.title.alternativeThe Credibility of th.wikipedia.orgen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวารสารสนเทศes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNarong.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.358-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nitikarn_ro.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.