Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21040
Title: อิทธิพลของบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง และความไม่สอดคล้องระหว่าง การเห็นคุณค่าแห่งตนโดยนัยและการเห็นคุณค่าแห่งตนที่รับรู้ ต่อสุขภาวะทางจิต : การวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรกำกับและตัวแปรส่งผ่าน
Other Titles: Effects of narcissistic personality and the discrepancies between implicit and explicit self-esteem on psychological well-being : analyses of moderating and mediating effects
Authors: หยกฟ้า อิศรานนท์
Advisors: คัดนางค์ มณีศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Kakanang.M@Chula.ac.th
Subjects: ความนับถือตนเอง
การหลงตนเอง
ความสุข
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงอิทธิพลกำกับของตัวแปรการเห็นคุณค่าแห่งตนที่รับรู้ ต่อบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง ในการทำนายการเห็นคุณค่าแห่งตนโดยนัย และอิทธิพลของบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง ในการทำนายสุขภาวะทางจิต โดยมีความไม่สอดคล้องของการเห็นคุณค่าแห่งตนเป็นตัวแปรส่งผ่าน ผู้ร่วมการวิจัยจำนวน 272 คน แบ่งเป็นเพศชาย 98 คน และเพศหญิง 174 คน ทำมาตรวัดการเห็นคุณค่าแห่งตน แบบทดสอบความชื่นชอบตัวอักษร แบบทดสอบความชื่นชอบชื่อ มาตรวัดบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง มาตรวัดสุขภาวะทางจิต และทดสอบการเชื่อมโยงโดยนัย โดยสลับลำดับประเภทของการวัดด้วยวิธีการสุ่ม ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง พบว่า บุคลิกภาพแบบหลงตนเองไม่สามารถทำนายการเห็นคุณค่าแห่งตนโดยนัยได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีการเห็นคุณค่าแห่งตนที่รับรู้เป็นตัวแปรกำกับ แต่บุคลิกภาพแบบหลงตนเองสามารถทำนายสุขภาวะทางจิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อย่างไรก็ตาม บุคลิกภาพแบบหลงตนเองไม่สามารถทำนายสุขภาวะทางจิต โดยมีความไม่สอดคล้องของการเห็นคุณค่าแห่งตนเป็นตัวแปรส่งผ่าน ทั้งนี้ ผู้ที่มีการเห็นคุณค่าแห่งตนโดยนัยต่ำและการเห็นคุณค่าแห่งตนที่รับรู้สูง มีระดับสุขภาวะทางจิตสูงกว่าผู้ที่มีการเห็นคุณค่าแห่งตนโดยนัยสูง และการเห็นคุณค่าแห่งตนที่รับรู้ต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
Other Abstract: To examine the moderating effect of explicit self-esteem on the association between narcissistic personality and implicit self-esteem and the mediating effect of the discrepancies between implicit and explicit self-esteem on the association between narcissistic personality and psychological well-being. Two hundred and seventy-two undergraduate students, 98 males and 174 females completed measures of self-report self-esteem, implicit self-esteem including name letter test, name-liking, and implicit association test, narcissistic personality, and psychological well-being in random orders. Structural Equation Models (SEM) show that explicit self-esteem has no moderating effect on the association between narcissistic personality and implicit self-esteem. Narcissistic personality can predict psychological well-being (p <.01). However, the discrepancies between implicit and explicit self-esteem have no mediating effect on the association between narcissistic personality and psychological well-being. Individuals with low implicit and high explicit self-esteem display higher level of psychological well-being than those with high implicit and low explicit self-esteem (p < .001).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21040
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2055
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.2055
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yokfah_is.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.