Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21129
Title: สภาพการอยู่อาศัยของพนักงานประจำรถโดยสารที่รับส่งผู้โดยสารที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
Other Titles: Living conditions of bus executors for North Bangkok bus station (Jatujak)
Authors: บวรศักดิ์ อัศวดิตถ์
Advisors: มานพ พงศทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Manop.B@Chula.ac.th
Subjects: พนักงานบริษัท -- ที่อยู่อาศัย
สวัสดิการลูกจ้าง
รูปแบบการดำเนินชีวิต
Dwellings
Lifestyles
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผู้ประกอบอาชีพที่ไม่ต้องอยู่ประจำที่ (Footloose Professionals) คือ ผู้ที่ประกอบอาชีพที่มีลักษณะการทำงานโดยธรรมชาติของอาชีพนั้นไม่อยู่เป็นที่ มีการเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา ซึ่งด้วยลักษณะการทำงานที่ไม่ต้องอยู่ประจำที่ ผู้วิจัยจึงเกิดความสนใจสภาพการอยู่อาศัยของผู้ประกอบอาชีพในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ผู้วิจัยจึงเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อทำการศึกษา คือ พนักงานประจำรถโดยสาร เฉพาะรถรับส่งสายยาว ที่รับส่งผู้โดยสารที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต2 ประกอบด้วย พนักงานขับรถ พนักงานบริการ(เด็กรถ) และพนักงานต้อนรับ ผลการวิจัยพบว่า พนักงานประจำรถโดยสารมีรายได้ครัวเรือนไม่อยู่ในเกณฑ์ของผู้ที่จะได้รับความช่วย เหลือในเรื่องที่อยู่อาศัยจากภาครัฐ แต่ในสภาพความเป็นจริงพนักงานประจำรถโดยสารควรได้รับความช่วยเหลือ แต่ละคนมีที่อยู่ 2 ประเภท ได้แก่ ที่อยู่ประจำ และที่อยู่ชั่วคราวในช่วงระหว่างทำงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ช่องเก็บสัมภาระภายในรถโดยสาร บ้านพักสวัสดิการ และบ้านเช่าส่วนตัว โดยที่อยู่ประจำส่วนใหญ่เป็นที่อยู่ตามภูมิลำเนาเดิม กรรมสิทธิ์เป็นของตนเอง หรือบิดา มารดา ญาติพี่น้อง ปัจจุบันไม่มีภาระค่าใช้จ่ายที่อยู่ประจำ อยู่ร่วมกัน 6 คน ได้แก่ บิดา มารดา ญาติพี่น้อง คู่สมรส และบุตร แต่ในส่วนของที่อยู่ชั่วคราวนั้น แต่ละคนมีการเลือกแตกต่างกัน โดยภาพรวมขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีความแตกต่างกันในเรื่องของ อายุ เพศ รายได้ และลักษณะการปฏิบัติงาน ได้แก่ พนักงานขับรถ เลือกที่อยู่ชั่วคราวต้นทาง คือ ช่องเก็บสัมภาระภายในรถโดยสาร ส่วนปลายทาง คือ กลับมาพักที่อยู่ประจำทุกครั้งที่กลับมายังสถานีขนส่งผู้โดยสารปลายทาง พนักงานบริการ(เด็กรถ) เลือกที่อยู่ชั่วคราวต้นทางและปลายทาง คือ ช่องเก็บสัมภาระภายในรถโดยสาร ส่วนใหญ่กลับที่อยู่ประจำ 1 ครั้ง/เดือน และพนักงานต้อนรับเลือกที่อยู่ชั่วคราวต้นทาง คือ บ้านเช่าส่วนตัว ส่วนปลายทาง คือ บ้านพักสวัสดิการ ส่วนใหญ่กลับที่อยู่ประจำ 1 ครั้ง/เดือน ซึ่งที่อยู่ชั่วคราวส่วนใหญ่ไม่มีความเหมาะสมสำหรับการพักอาศัย แต่พนักงานประจำรถโดยสารส่วนใหญ่มีความพอใจ ทั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า องค์กรที่สังกัดแต่ละองค์กรควรให้ความสำคัญและจัดสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยชั่วคราวที่เหมาะสมสำหรับพนักงานประจำรถโดยสาร จากผลการวิจัยสามารถนำมาสู่ข้อค้นพบว่า ผู้ประกอบอาชีพที่ไม่ต้องอยู่ประจำที่ (Footloose Professionals) ในกรณีของพนักงานประจำรถโดยสาร ยังคงให้ความสำคัญกับที่อยู่อาศัยต้องใกล้แหล่งงาน ซึ่งหากแหล่งงานตั้งอยู่ไกลจากที่อยู่อาศัย หรือแหล่งงานมีการเคลื่อนที่ มักจะย้ายที่อยู่อาศัยจากที่อยู่ประจำ มาอยู่ในแหล่งงานหรือบริเวณใกล้เคียงในลักษณะที่อยู่ชั่วคราว ซึ่งการเลือกที่อยู่ชั่วคราวของแต่ละคนนั้น มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ รายได้ และลักษณะการปฏิบัติงาน
Other Abstract: Footloose professionals are professionals whose jobs require them to move around. Because of the nature of their jobs, the researcher is interested in the living conditions of these professionals. The subjects of this research are bus executors whose buses run a long distance. Their terminal is North Bangkok Station (Jatujak) or Mor Chit 2. The subjects comprise drivers, bus boys and receptionists. It is found that the total income of the family of the bus executors does not meet the criteria of the subsidized public housing target group. However, the bus executors should receive some help in housing under such living conditions. Each bus executor has two types of housing which are permanent housing and temporary housing while still working. The temporary housing can be divided into three types: luggage compartment in the bus, housing provided by the bus company and rented housing. Most of their permanent housing is situated in the provinces. Such housing belongs to them, their father, mother, brother, sister or relatives. At present, they do not have to pay for this housing. On average, six people – the father, mother, relatives, spouse and children – live there. As for temporary housing, each has different choices. As a whole, it depends on their positions which differ in terms of age, gender, income and job responsibilities. The drivers choose to stay in the luggage compartment when they leave the station and stay in their permanent housing when they reach their destinations. The bus boys stay in the luggage compartment when they leave the station and reach their destinations. Most of them go to their permanent housing once a month. The receptionists choose to stay in rented housing when they leave the station and stay in housing provided by the bus company when they reach their destinations. Most of them go to their permanent housing once a month. However, their temporary housing is not suitable for living but most bus executors are satisfied with it. It is suggested that each organization for which these executors work should provide suitable housing for its executors. It is also found that these footloose professionals would like to have housing which is near their workplace. If their workplace is far from their permanent housing or they have to move around, they prefer to live in temporary housing which is near their workplace. In addition, their choices of temporary housing are different depending on age, gender, income and job responsibilities.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21129
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.199
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.199
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
bovonsak_as.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.