Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21611
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อัจฉรา จันทร์ฉาย | - |
dc.contributor.author | ศรีบูรพา ทฤษณาวดี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-08-20T04:15:13Z | - |
dc.date.available | 2012-08-20T04:15:13Z | - |
dc.date.issued | 2529 | - |
dc.identifier.isbn | 9745664642 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21611 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | การดำเนินงานของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องหนังในประเทศไทย จัดได้ว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะนอกจากจะเป็นอุตสาหกรรมที่สนองความต้องการภายในประเทศแล้วยังเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่นำรายได้มาสู่ประเทศปีละจำนวนมากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงลักษณะโครงสร้างโดยทั่วๆ ไปของอุตสาหกรรมดังกล่าว การดำเนินงานในด้านการผลิต ผลผลิตของอุตสาหกรรม แนวโน้มของความต้องการภายในประเทศที่มีต่อผลิตภัณฑ์เครื่องหนังไทย และแนวโน้มของปริมาณการส่งออก ตลอดจนปัญหาในการดำเนินงานของอุตสาหกรรม เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม จากการศึกษาพบว่าอุตสาหกรรมนี้ส่วนใหญ่มีการดำเนินงานในลักษณะครอบครัวและมีเงินทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท วัตถุดิบที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบภายในประเทศและมีปริมาณการผลิตในปี 2527 เฉลี่ยประมาณร้อยละ 73 ของกำลังการผลิตทางด้านผลผลิตปรากฏว่าตั้งแต่ พ.ศ. 2523-2527 มีแนวโน้มลดลงตลอดเนื่องจากมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการใช้ปัจจัยทางด้านวัตถุดิบ (หนังฟอก) และค่าแรงและยังพบว่าปัจจัยทางด้านวัตถุดิบ (หนังฟอก) มีผลกระทบต่อการเพิ่มผลผลิตมากกว่าปัจจัยทางด้านแรงงานสำหรับความต้องการภายในประเทศและปริมาณการส่งออกของผลิตภัณฑ์เครื่องหนังไทยนั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในด้านการดำเนินงานของอุตสาหกรรมปรากฏว่าประสบปัญหาทางด้านการขายตัดราคากันเองระหว่างผู้ผลิตในประเทศ การขาดแคลนหนังฟอกที่มีคุณภาพดีภายในประเทศ การขาดแคลนแรงงานที่มีความชำนาญงานการขาดแคลนเครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยการถูกจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน รวมทั้งความไม่เหมาะสมของระเบียบและวิธีปฏิบัติในการส่งเสริมการส่งออกโดยทางภาษีอากรของทางราชการ แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวสามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้ในภาคเอกชนผู้ผลิตและสถาบันที่เกี่ยวข้องจะต้องหาทางยุติการแข่งขันกันด้วยวิธีการขายตัดราคา และหันไปเน้นการแข่งขันในด้านคุณภาพแทน สำหรับการส่งออกควรมีการรวมตัวกันเพื่อประโยชน์ในการค้ากับต่างประเทศ ทางด้านหนังฟอกเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ควรรักษาหนังสัตว์ให้อยู่ในสภาพดี เพื่อจะได้นำไปผลิตเป็นหนังฟอกที่มีคุณภาพดีต่อไปในภาครัฐบาล รัฐบาลควรที่จะให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมนี้โดยการสนับสนุนให้ผู้ผลิตที่ส่งออกขจัดปัญหาการขายตัดราคากันเอง และหันมารวมตัวกันเพื่อกำหนดมาตรการในการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของผลติภัณฑ์ที่ส่งออก ทางด้านหนังฟอกรัฐบาลควรยกเว้นภาษีการนำเข้าสำหรับหนังฟอกที่ยังไม่มีการผลิตภายในประเทศ และลดอัตราภาษีการนำเข้าหนังฟอกที่ผลิตได้ภายในประเทศแต่ยังมีคุณภาพไม่ดีพอ หรือมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ รวมทั้งห้ามมิให้มีการส่งออกหนังดิบจนกว่าปัญหาการขาดแคลนหนังฟอกที่มีคุณภาพดีภายในประเทศจะหมดไป นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้มีการทำปศุสัตว์อย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้หนังดิบที่มีคุณภาพดีทางด้านแรงงานหน่วยงานของทางราชการที่รับผิดชอบในการพัฒนาแรงงาน ควรเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาแรงงานประเภทนี้ ด้านเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการคิดค้นและประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตในการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน รัฐบาลควรนำวิธีการจัดเก็บภาษีการขายในขั้นตอนการขายปลีกมาใช้สำหรับระเบียบและวิธีปฏิบัติของทางราชการในการส่งเสริมการส่งออกโดยทางภาษีอากรก็ควรมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมและเกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้นจำเป็นต้องอาศัยการร่วมมือกันอย่างจริงจังทั้งในภาคเอกชนและรัฐบาลเพื่อให้การดำเนินงานของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องหนังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมอย่างแท้จริง | - |
dc.description.abstractalternative | The operations of the leather products industry in Thailand play an important role in the national economy because this industry not only meets the local demand but also yields high export earnings. The objectives of this thesis are to study the nature of the structure of this industry, the operational production, the productivity of the industry, the trend of local demand for Thai leather products and export volume, the operational problems within the industry and proposals for solving these problems. According to the study, it was found that in this industry there is a high proportion of family business and that the registered capital is not usually more than 5 million baths. Furthermore, most of the raw materials are locally produced. The average production volume in 1984 was about 73% of the total capacity. Concerning the productivity trend has declined because the total sale value was increased at a lower rate than the value of using raw material (leather) and labour. Moreover, it was found that the raw material factor had an more of impact on the productivity improvement than the labour factor. As for the local demand for Thai leather products and export volume, it was found that both of them tended to increase. With regard to the operations of industry, it appears that the related operational problems are : the price cutting among local manufacturers ; lack of good quality leather in the country, skilled – labour, modern machinery ; double taxation and unwarrantable governmental legislation and procedures with regard to export promotion by tax. The guidelines for the problem solution can be identified as follows : in the private sector, the manufacturers and institutions concerned must stop the price cutting competition and stress quality competition instead ; with regard to exportation, the manufacturers should set up a group in order to increase the benefits in foreign trade ; in case of leather, the farmers should take good care of animal hide so as to produce good quality leather. In the government sector, the government should assist this industry by encouraging the manufacturers to eliminate the price cutting and set up a group in order to establish the measures to control the qualities and standards of the exports; regarding imported leather, the government should exempt the import duty on the leather already domestically produced of unsatisfactory quality or insufficient quantity to meet the local demand until there is no more lack of good quality leather. This should include a raw hide export prohibition; furthermore, the government should support livestock development so as to obtain good raw hide. In the matter of labour, the government agency responsible for labour development should take appropriate steps to develop this type of skilled-labour. In respect of machinery, the government should promote the innovation of modern machinery in order to increase the production efficiency. To solve the problem of double taxation, a retail sales tax should be applied. The government legislation and procedure involving exportation should be revised and simplified. As noted before, the problems will be solved successfully, if there is full cooperation between the private sector and government sector, so that there will be effectiveness in the operations of this industry. Then there will be real economic benefits for society as a whole. | - |
dc.format.extent | 666182 bytes | - |
dc.format.extent | 629402 bytes | - |
dc.format.extent | 815974 bytes | - |
dc.format.extent | 1467670 bytes | - |
dc.format.extent | 2560165 bytes | - |
dc.format.extent | 778725 bytes | - |
dc.format.extent | 707023 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมเครื่องหนัง | - |
dc.subject | เครื่องหนัง | - |
dc.title | การศึกษาการดำเนินงานของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องหนังในประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | A study on the operations of leather products industry in Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พาณิชยศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sriburapa_Tr_front.pdf | 650.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sriburapa_Tr_ch1.pdf | 614.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sriburapa_Tr_ch2.pdf | 796.85 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sriburapa_Tr_ch3.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sriburapa_Tr_ch4.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sriburapa_Tr_ch5.pdf | 760.47 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sriburapa_Tr_back.pdf | 690.45 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.