Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21840
Title: ผลการฝึกความไวในการรับรู้ที่มีต่อลักษณะบุคลิกภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการอยู่ในสังคม และการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม โดยใช้แบบสำรวจ ซี พี ไอ
Other Titles: Effects of sensitivity training on personality characteristics related to social living and social interaction as measured by the CPI
Authors: เมธาวี เวียงเกตุ
Advisors: โสรีซ์ โพธิแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การรับรู้ -- การฝึก
บุคลิกภาพ
การพัฒนาบุคลิกภาพ
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
Perception -- Training
Personality
Personality development
Social interaction
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลของการฝึกความไวในการรับรู้ที่มีต่อลักษณะบุคลิกภาพ ในด้านที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่ในสังคมและการปฏิสัมพันธ์สังคม โดยใช้แบบสำรวจซีพีไอ สมมุติฐานของการวิจัยคือ กลุ่มนิสิตที่เป็นอาสาสมัครได้รับการ ฝึกความไวในการรับรู้ จะมีคะแนนจากแบบสำรวจซีพีไอเพิ่มสูงขึ้นกว่ากลุ่มนิสิตอาสาสมัคร ที่ไม่ได้รับการฝึก กลุ่มตัวอย่าง เป็นนิสิตอาสาสมัครเข้ารับการฝึกความไวในการรับรู้จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 28 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละเท่าๆกันโดยการสุ่ม การฝึกครั้งแรกเป็นการทคลองเกี่ยวกับการใช้กิจกรรม ระยะเวลา ฯลฯ เกี่ยว กับการฝึกส่วนครั้งที่สองเป็นการวิจัยเพื่อทดสอบสมมุติฐาน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสำรวจ ซีพีไอซึ่งเป็นแบบสำรวจเกี่ยวกับบุคลิกภาพของคนปกติด้านการอยู่ในสังคมและการปฏิสัมพันธ์ ทางสังคม และแบบสอบถามปลายเปิด สำรวจความคิดเห็นและทัศนคติที่มีต่อการฝึกความไว ในการรับรู้เช่นในลักษณะของกิจกรรม ผู้นำกลุ่ม ระยะเวลา สถานที่ ประโยชน์ที่ได้รับ และแบบสำรวจเกี่ยวกับการนำกิจกรรม การฝึกไปใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งวัดหลังจากการฝึกไปแล้ว 6 สัปดาห์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบค่าทีของคะแนนที่เพิ่มขึ้นระหว่างกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการฝึก ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเพิ่มสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ใน 10 มาตราจากจำนวนทั้งหมด 18 มาตราได้แก่ ความชอบเข้าสังคม การปรากฏตัวทางสังคม การยอมรับตนเอง การรู้สึกมีความสุข การควบคุมตนเอง ความอดทนและใจกว้าง ความสานารถในการสร้างความประทับใจ การปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกัน ความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับจิตใจ ความยืดหยุ่น นอกจากการวิเคราะห์จากแบบสำรวจซีพีไอแล้วพบว่าผู้เข้าร่วมฝึกความไวในการรับรู้ส่วนมากมีทัศนคติ ความรู้ศึกในทางที่ดีเป็นส่วนมากสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของคะแนน จากแบบสำรวจซีพีไอ ส่วนการแสดงความคิดเห็นหลังจากการฝึก 6 สัปดาห์ในด้านการนำเอาประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พบว่า ผู้ที่ได้รับการฝึกได้นำเอาประสบการณ์ไปใช้ในชีวิต ใช้กับบุคคลใกล้ตัว จากการเปลี่ยนแปลงของคะแนนจากแบนสำรวจซีพีไอประกอบกับรายงาน การประเมินผลการฝึกรวมทั้งการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันแสดงให้เห็นถึงความพัฒนาการของ บุคคลอันเป็นวัตถุประสงค์ของการฝึกความไวในการรับรู้จึงอาจกล่าวได้ว่า การฝึกความไวใน การรับรู้มีผลต่อบุคลิกภาพของบุคคลในด้านการปรับตัวและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจากการเปลี่ยนแปลงของคะแนนจากแบบสำรวจซีพีไอในบางด้าน รวมทั้งมีผลต่อทัศนคติ การรับรู้ การนำไป ประยุกต์ใช้
Other Abstract: The purpose of this research was to investigate effects of "Sensitivity Training" on California Psychological Inventory Scores Changing. The hypothesis tested was that the volunteer undergraduate students who participated in "Sensitivity Training" would increase their personality characteristics," Important for Social living and Social interaction more than the volunteer undergraduate students who did not participate in Sensitivity Training. The sample comprised of 28 volunteer undergraduate students from Chulalongkorn University, Subjects were randomly assigned to an experimental Group and Control Group, 14 subjects each. The experimental group attend a 35 hours Sensitivity Training experience from Thursday morning to Sunday afternoon. The group leaders was the researcher and the coleader was a graduate student. The instruments used were 1) The California Psychological Inventory 2) The open-end questionnaire about the experience in the Group 3) The open-end questionnaire about the use of the Sensitivity Training tested after the expedience 6 weeks Pretest-Posttest control group design was assigned as research design and statistical Method for data analysis was the t-test. The result indicated that the hypothesis was supported at the .05 level of significance. It can be further conclude that the Sensitivity Training was effective in increasing personality characteristics, Important for Social living and Social interaction.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21840
ISBN: 9745620939
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
maytawee_vi_front.pdf505.86 kBAdobe PDFView/Open
maytawee_vi_ch1.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
maytawee_vi_ch2.pdf386.94 kBAdobe PDFView/Open
maytawee_vi_ch3.pdf811.35 kBAdobe PDFView/Open
maytawee_vi_ch4.pdf603.29 kBAdobe PDFView/Open
maytawee_vi_ch5.pdf318.48 kBAdobe PDFView/Open
maytawee_vi_back.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.