Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22140
Title: | การศึกษาเชิงวิเคราะห์คำประพันธ์ประเภทฉันท์สมัยอยุธยา |
Other Titles: | An analytical study of chanda in Ayudhya |
Authors: | มารศรี ศุภวิไล |
Advisors: | ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ฉันท์ วรรณคดีไทย -- สมัยอยุธยา การแต่งคำประพันธ์ Thai literature Poetics |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาวิเคราะห์คำประพันธ์ประเภทฉันท์สมัยอยุธยา ในด้านที่มาลักษณะและพัฒนาการของคำประพันธ์ที่ปรากฏในวรรณคดีคำฉันท์สมัยอยุธยา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า คำประพันธ์ประเภทฉันท์เป็นคำประพันธ์ร้อยกรองของอินเดียที่มีมาแต่โบราณราว 4,000 ปีมาแล้ว และได้รับการยกย่องจากชาวอินเดียว่าเป็นแบบแผนคำประพันธ์ที่ศักดิ์สิทธิ์และสูงส่ง ใช้แต่งคัมภีร์ศาสนาแต่ดั้งเดิม ชาวไทยอาจจะรู้จักฉันท์จากชาวอินเดียมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว เพราะอิทธิพลทางการติดต่อค้าขาย ทำให้มีการถ่ายเททางวัฒนธรรมด้านอื่นๆ เช่นทางศาสนา ศิลปกรรม ภาษา และวรรณคดี ในทางวรรณคดีได้อาศัยคำฉันท์เป็นองค์ประกอบสำคัญ กวีไทยได้ศึกษาและทดลองแต่งฉันท์กันมาเป็นเวลานาน โดยพยายามเพิ่มเติม ดัดแปลง ให้คำฉันท์ของอินเดียมีลักษณะเป็นร้อยกรองแบบไทย โดยเฉพาะการเพิ่มสัมผัสลงไปในบัญญัติของฉันท์ เพื่อให้ฉันท์มีเสียงคล้องจองตามแบบคำประพันธ์ไทย ทำให้มีจังหวะและมีความไพเราะ ผลสำเร็จของการดัดแปลงคำฉันท์ของอินเดียให้เป็นฉันท์แบบไทยนั้น ปรากฏเป็นหลักฐานเท่าที่มีตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเรื่องแรก คือมหาชาติคำหลวง กัณฑ์มหาพน ซึ่งเป็นวรรณคดีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้น จากนั้นก็ปรากฏว่ากวีไทยสมัยอยุธยานิยมแต่งฉันท์กันมาเรื่อยๆ ปรากฏเป็นวรรณคดีคำฉันท์ขึ้นเป็นประเภทหนึ่งต่างหากจากวรรณคดีประเภทอื่นๆ แสดงให้เห็นความนิยมของกวีไทยสมัยอยุธยาในการใช้ฉันท์มากขึ้น และได้เห็นลักษณะของคำฉันท์ไทยที่มีพัฒนาการทางรูปแบบบัญญัติอย่างเป็นขั้นตอนเรื่อยมาตลอดอยุธยา รวมทั้งลักษณะที่สำคัญอื่นๆของคำประพันธ์ประเภทฉันท์ที่มีแตกต่างจากร้อยกรองประเภทอื่นๆเช่นการกำหนดคำครุ-ลหุ ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของฉันท์กับเนื้อหา เป็นต้น ตำราฉันท์ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าของกวีไทยในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับฉันท์ ตำราฉันท์ที่ปรากฏในสมัยอยุธยา คือหนังสือจินดามณี การศึกษาตำราฉันท์ควบคู่ไปกับวรรณคดีคำฉันท์ ทำให้เห็นรูปแบบของคำฉันท์ชนิดต่างๆ ในสมัยอยุธยาได้ชัดเจนขึ้นอีก นอกจากนี้การศึกษาวิเคราะห์คำประพันธ์ประเภทฉันท์ในสมัยอยุธยา ยังทำให้เห็นความเป็นไปได้ที่จะศึกษาวิเคราะห์คำประพันธ์ฉันท์ในสมัยต่อๆมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ความรู้ทางวรรณคดีไทยเกี่ยวกับฉันท์เป็นที่กระจ่างชัดขึ้นอีก ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการวิจัยเรื่องนี้คือ ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบและลักษณะกลวิธีต่างๆของการแต่งฉันท์ในสมัยรัตโกสินทร์ ซึ่งมีวิวัฒนาการก้าวไปไกลกว่าสมัยอยุธยาเป็นอันมาก |
Other Abstract: | This Thesis is an analytical study of Chanda in Ayudhya with respect to its source, styles of composition and development revealed in Chanda literatures in Ayudhya. From this thesis, Chanda is an ancient India poetry which appeared 4,000 years ago. It is accepted among the Indians as a sacred poetic style used to compose the religious books in previous time. Thai people known about Chanda since Sukhothai because of the business relationship that also caused the transliteration of other cultures such as religious, arts, language and literature which chanda was a significant part. Thai poets studied and tried to compose chanda for a very long time to make it Thai style especially to make it rhyme as the other kinds of Thai poetries. The first piece of Thai chanda appeared in Ayudhya literature, Mahachartkamloung Khandmahapon. Since then, the Ayudhya poets used chanda to compose the chanda literature separated from the other kinds of Thai literature. The development in forms of chanda can be seen in steps along Ayudhya period and also with the other aspects of chanda that are different from the other kinds of Thai poetries such as Garu and Lahu (heavy and light syllables) and the relationship between the kind of chanda and the subject used. Ohindamanee, the text book of chanda in Ayudhya, is also an important took which indicates the advance of the Thai poets in studying about chanda in that period. The studying of the text book of chanda together with chanda literatures makes it clearer about the forms of various kinds of chanda in Ayudhya and gives the possible way to do more research on chanda in the following time to extend the knowledge of chanda in Thai literature. It is advisable to do more research about the forms, aspects and styles of composition of chanda in Ratanakosin which have far more development than in Ayudhya. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22140 |
ISBN: | 9745640352 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
marasri_su_front.pdf | 485.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
marasri_su_ch1.pdf | 436.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
marasri_su_ch2.pdf | 3.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
marasri_su_ch3.pdf | 4.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
marasri_su_ch4.pdf | 436.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
marasri_su_back.pdf | 365.53 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.