Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22157
Title: | การประเมินประสิทธิภาพสายโซ่อุปทานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย |
Other Titles: | Supply chain evaluation of automotive part industry in Thailand |
Authors: | สุรสา บุญทา |
Advisors: | กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Kamonchanok.S@Chula.ac.th |
Subjects: | การบริหารงานโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ สมรรถนะ -- การวัด Business logistics Automobile supplies industry Performance -- Measurement |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการประเมินผลการดำเนินงานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของสายโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย และเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงสายโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย ภายใต้ความสัมพันธ์ในระดับ Cooperation coordination และ Collaboration ภายใต้แนวคิด Balance scorecard ใช้วิธีการสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และข้อมูลงบการเงินที่แสดงต่อกระทรวงพาณิชย์ โดยแบบสอบถามมีทั้งสิ้น 2 ชุด สำหรับ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และผู้ประกอบยานยนต์ แบบสอบถามชุดผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์นั้น แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนที่ 1 เพื่อให้ทราบข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 เพื่อประเมินผลมุมมองด้านกระบวนการภายใน ส่วนที่ 3 เพื่อประเมินผลมุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา และส่วนที่ 4 เพื่อให้ทราบความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ แบบสอบถามชุดผู้ประกอบยานยนต์นั้น แบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนที่ 1 เพื่อให้ทราบข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 เพื่อประเมินผลการดำเนินงานมุมมองด้านลูกค้า และส่วนที่ 3 เพื่อให้ทราบความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ สำหรับงบการเงินนั้น นำมาประเมินผลมุมมองด้านการเงิน ในมุมมองด้านการเงิน ผลประกอบการของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และผู้ประกอบยานยนต์อยู่ในเกณฑ์ดี และมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆ มุมมองด้านลูกค้าพบว่า ผู้ประกอบยานยนต์มีความพึงพอใจมากในการดำเนินงานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งบรรลุระดับความสำคัญที่ผู้ประกอบยานยนต์กำหนดไว้ สำหรับมุมมองด้านกระบวนการภายในผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มองว่าผลการดำเนินงานของตนอยู่ในระดับดี และสุดท้าย มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ประเมินผลการดำเนินงานของตนเองว่าอยู่ในระดับดีเช่นเดียวกัน |
Other Abstract: | This research is the performance evaluation of automotive part entrepreneur. The objectives of this research; to evaluate and improve performance of entrepreneur in automotive industry in Thailand by implementing Balance Scorecard This research have been succeeded by questionnaires and financial reports. There are 2 sets of questionnaires. The questionnaire of automotive part entrepreneur, there are 4 sections. Section 1 for all the fundamental information. Section 2 for internal process perspective evaluation. Section 3 for learning and developing perspective evaluation. And Section 4 for other comment. For the questionnaire of car maker, there are 3 sections. Section 1 for all the fundamental information. Section 2 for customer perspective evaluation. And section 3 for other comment. Financial reports for financial perspective. The results from the study indicate that; in term of financial perspective, automotive part makers and car makers have good turnover. The result of customer perspective study indicates that car makers satisfy the automotive part maker’s performance in good level. The result of internal process perspective study indicates that automotive part makers evaluate their performance in good level. Lastly, the result of learn and growth perspective study indicate that automotive part makers evaluate their performance in term of employee in good level also. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22157 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.821 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.821 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
surasa_bo.pdf | 11.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.