Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22275
Title: การศึกษาคุณค่าทางการศึกษาของภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น ที่ฉายทางโทรทัศน์
Other Titles: A study of the educational values in Japanese cartoons on television
Authors: สมคิด ปลอดโปร่ง
Advisors: สำลี ทองธิว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ภาพยนตร์การ์ตูน
การ์ตูนกับเด็ก
โทรทัศน์กับเด็ก
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาคุณค่าทางการศึกษาของภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นที่ฉายทางโทรทัศน์ที่มีต่อเด็กในระดับประถมศึกษา ตามความคิดเห็นของครู นักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์สำหรับเด็ก และ (2) เพื่อประเมินคุณค่าทางการศึกษาของภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นตามความคิดเห็นของครู นักการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์สำหรับเด็ก วิธีดำเนินการวิจัย 1. รวบรวมรายชื่อภาพยนตร์การ์ตูนที่แพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ทั้ง 4 สถานีในเขตกรุงเทพมหานครระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2527 ถึง เดือนพฤษภาคม 2528 เลือกเฉพาะภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นที่มีความยาวไม่ต่ำกว่า 20 ตอนหรือแพร่ภาพอยู่นานไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ได้ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นทั้งสิ้น 15 เรื่อง 2. นำรายชื่อภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นทั้ง 15 เรื่องมาสร้างแบบสอบถามสำหรับเด็กที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ของโรบงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เด็กเลือกรายชื่อภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องที่ตนชอบ 3. จากจำนวนแบบสอบถามที่ให้นักเรียนตอบ 202 ชุดผู้วิจัยเลือกรายชื่อภาพยนตร์การ์ตูนที่นักเรียนร้อยละ 60 ขึ้นไปมีความเห็นตรงกันว่าชอบเพื่อนำมาศึกษาได้ภาพยนตร์การ์ตูนที่เด็กชอบ 8 เรื่องคือ 1. โดเรมอน 2. นินจาฮาโตริ 3. จีจี้สาวน้อยกายสิทธิ์ 4. หนูน้อยแซนนิเบล 5. ลูแปง 6. มูเตคิง 7. ดร.สลัมป์ 8. เณรน้อยเจ้าปัญญา 4. สุ่มตอนของภาพยนตร์ทั้ง 8 เรื่องบันทึกเทปโทรทัศน์สำหรับให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์สำหรับเด็กชมก่อนตอบแบบสอบถาม 5. สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณค่าทางการศึกษาของภาพยนตร์การ์ตูนทั้ง 8 เรื่อง โดยศึกษาจากเกณฑ์การประเมินคุณค่าวรรณกรรมสำหรับเด็ก 6. ส่งแบบสอบถามไปให้ครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 230 ชุด และนักการศึกษาซึ่งได้แก่อาจารย์ผู้สอนในภาควิชาหลักสูตรและการสอนของวิทยาลัยครูในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้ง 6 แห่ง จำนวน 65 ชุด 7. ส่งแบบสอบถามพร้อมเทปโทรทัศน์ภาพยนตร์การ์ตูนทั้ง 8 เรื่อง ไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์สำหรับเด็กจำนวน 5 ท่านเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่านชมเทปโทรทัศน์แล้วตอบแบบสอบถาม 8. ข้อมูลจากครู นักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์สำหรับเด็กผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์โดยวิธีการหาค่าร้อยละ แล้วประเมินคุณค่าทางการศึกษาของภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นทั้ง 8 เรื่อง จากความคิดเห็นของครู นักการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์สำหรับเด็ก ผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นที่ฉายทางโทรทัศน์ส่วนใหญ่มีเนื้อหาเป็นไปในแนวตื่นเต้นอภินิหารเด็กจึงได้รับประโยชน์จากการชมภาพยนตร์การ์ตูนเฉพาะในด้านความบันเทิงเท่านั้น ทางสถานีโทรทัศน์ควรปรับปรุงรายการภาพยนตร์การ์ตูนโดยการเลือกสรรภาพยนตร์การ์ตูนที่มีเนื้อหาสาระสอดแทรกด้วยอติธรรมคำสอนแก่เด็กมาเสนอต่อผู้ชม สำหรับคุณค่าภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นทั้ง 8 เรื่องที่นำมาศึกษาครูและนักการศึกษามีความเห็นตรงกันว่า ภาพยนตร์เรื่องเณรน้อยเจ้าปัญญา ให้คุณค่าทางการศึกษาแก่เด็กปานกลาง ภาพยนตร์เรื่องโดเรมอน นินจาฮาโตริ หนูน้อยแซนนิเบล และจีจี้สาวน้อยกายสิทธิ์ ให้คุณค่าทางการศึกษาแก่เด็กน้อย ส่วนภาพยนตร์ เรื่องลูแปง มูเตคิง และดร.สลัมป์ ให้คุณค่าทางการศึกษาแก่เด็กน้อยมากและไม่สมควรจัดเป็นภาพยนตร์การ์ตุนสำหรับเด็กต่อไป ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์สำหรับเด็กทั้ง 5 ท่านมีความเห็นว่าภาพยนตร์เรื่อง เณรน้อยเจ้าปัญญาให้คุณค่าทางการศึกษาแก่เด็กดีมาก ภาพยนตร์เรื่องนินจาฮาโตริ โดเรมอน และหนูน้อยแซนนิเบลให้คุณค่าทางการศึกษาแก่เด็กปานกลาง ภาพยนตร์เรื่องจีจี้สาวน้อยกายสิทธิ์ และมูเตคิง ให้คุณค่าทางการศึกษาแก่เด็กน้อย ส่วนภาพยนตร์เรื่องดร.สลัมป์ และลูแปง ให้คุณค่าทางการศึกษาแก่เด็กน้อยมาก ไม่สมควรจัดเป็นภาพยนตร์การ์ตูนสำหรับเด็กต่อไป
Other Abstract: The purposes of this research were : To study and evaluate the education values in Japanese cartoons on television as perceived by teachers, educators and Children program producers. Research Procedures 1. Title names of the Japanese cartoons broadcasted on television during November 1984 and May 1985 were collected. These Japanese cartoons must consist of at least 20 series or were broad casted for a minimum period of one month. There were 15 title names of the selected Japanese cartoons. 2. Two hundred and two sets of questionnaires constructed from the data obtained from the previous procedure were distributed to 210 Prathom Suksa 3-6 Children in Bangkok Elementary schools. They were asked to identify their favorite cartoon series. 3. According to 202 completed questionnaires returned, eight cartoon series, Doraemon, Ninja-Hatori, Ji-Jee Sannibell, Lupang, Muteking Dr. Slump and Ikkue-sang were selected by the Prothom Suksa 3-6 children. These eight cartoon series were selected as their favorite by at least 60% of the sample. 4. The selected series of each story were video – taped to be previewed by 5 children-program producers. 5. A set of questionnaires was constructed. Items in the questionnaires were developed upon recognized evaluation criteria for children literature. 6. The questionnaires were then distributed to be filled by 230 Prathom-Suksa 6 teachers under the Juristiction of the Bangkok Metropolitan Administration, and by 65 educators in 6 Departments of curriculum Instruction. 7. The questionnaires, together with video-tapes recorded the 8 selected cartoon series were sent to 5 children-program producers. 8. The returned data from the teachers, educators and the television producers were analyzed by means of percentage and presented in descriptive manner. The educational values of the 8 stories were also judged upon the set criteria. Research Findings Most Japanese cartoons broadcasted on television stressed too much fantasies. Children, as the audience got pleasure from viewing them. However, the data showed the least educational values in these cartoons. Thus it is recommended for the television broadcast stations to pay more attention in selecting higher educational quality cartoons, these with more explicit moral values for children. Among the 8 selected stories the teachers, educators agreed upon Ikkue-Sang as presenting more educational values than the rest. Doraemon, Ninja-Hatori, Sammibell and Ji-Jee presented less educational values. And Lupang Muteking,Dr. Slump presented the least educational values, and shouldn’t be regarded as children-entertainment any more. The 5 television producers agreed among themselves that Ikkue-Sang presented the most educational values to children. Ninja-Hatori, Doraemon and Sannibell presented lesser educational value in comparing to Ikkue-Sang. Ji-Jee and Muteking presented less educational values. And Dr. Slump and Lupang presented the least educational values, and should be removed from the television programs.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22275
ISBN: 9745649864
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somkid_Pl_front.pdf539.43 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Pl_ch1.pdf445.5 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Pl_ch2.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open
Somkid_Pl_ch3.pdf457.04 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Pl_ch4.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Somkid_Pl_ch5.pdf991.19 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Pl_back.pdf831.96 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.