Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22278
Title: ระบบบริหารการศึกษาของโรงเรียนพยาบาลในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The administrative system of nursing schools in Bangkok
Authors: สมคิด รักษาสัตย์
Advisors: วิเชียร ทวีลาภ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: พยาบาล -- การศึกษาและการสอน
การบริหารการศึกษา
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาปรัชญาและความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาพยาบาลระดับพื้นฐานของโรงเรียนพยาบาลที่เป็นของรัฐและตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาการจัดระบบบริหารการศึกษาของโรงเรียนพยาบาลในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตรโครงสร้างระบบบริหารการควบคุมการปฏิบัติงาน การบริหารงานบุคคลและเงินสนับสนุนการศึกษา 3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระบบบริหารการศึกษาของโรงเรียนพยาบาลในแต่ละสังกัดว่ามีความแตกต่างกันหรือคล้ายคลึงกันในเรื่องใด วิธีดำเนินการวิจัย วิจัยเอกสารและวิธีวิจัยสนามประกอบกัน สำหรับการวิจัยสนามใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยมีการกำหนดคำถามไว้เป็นแนว ผู้ให้สัมภาษณ์คือ ผู้บริหารและรอง จำนวน 21 คน และใช้แบบสอบถามสำหรับอาจารย์ รวมทั้งหมด 321 คน จากโรงเรียนพยาบาลทั้งหมด 9 โรงเรียนแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามก่อนนำไปใช้ได้ผ่านการทดสอบ (pretest) และทำการแก้ไขแล้วโรงพยาบาลที่นำมาวิจัยนี้เป็นโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ 2 โรงเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม 3 โรงเรียน กระทรวงสาธารณสุข 1 โรงเรียน และกระทรวงมหาดไทย 3 โรงเรียน สรุปผลการวิจัย 1. ปรัชญาหรือเป้าหมายและวัตถุประสงค์ซึ่งทั้ง 9 โรงเรียนได้กำหนดไว้เป็นแนวทางสำหรับการจัดการศึกษานั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ มุ่งผลิตพยาบาลที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางวิชาชีพเป็นเป้าหมายหลัก เมื่อทดสอบความคิดเห็นของกลุ่มผู้บริหารและของกลุ่มอาจารย์ที่มีต่อปรัชญาหรือเป้าหมายของโรงเรียนที่ต้นสังกัดอยู่ พบว่ามีความเห็นคล้อยตามกันดังนี้ คือผลิตพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นคุณลักษณะที่มุ่งหวังเป็นอันดับแรก ความมุ่งหวังอันดับต่อมาคือให้เป็นพลเมืองดีของประเทศ และให้สามารถพัฒนาตนเองให้เจริญงอกงามได้ 2. โครงสร้างหลักสูตรของโรงเรียนพยาบาลวิเคราะห์ได้ดังนี้ 2.1 การจัดระบบการศึกษามี 2 ระบบคือ ทวิภาคและไตรภาค การจัดหลักสูตรใช้ระบบหน่วยกิตเป็นเกณฑ์ ยกเว้นการศึกษาภาคปฏิบัติของบางโรงเรียนซึ่งกำหนดเป็นรายชั่วโมง 2.2 ทุกโรงเรียนให้ความสำคัญต่อหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป แม้ว่าจะไม่ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดหมวดวิชานี้ไว้เด่นชัด การจัดกลุ่มวิชาในหมวดวิชานี้มีความแตกต่างกันแต่ประมวลได้ว่า หมวดวิชานี้ประกอบด้วยกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ เมื่อรวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตรในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปที่โรงเรียนกำหนดไว้ มีตั้งแต่ 31.09 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นจำนวนต่ำสุด และสูงสุดคือ 43.53 เปอร์เซ็นต์ ส่วนหน่วยกิตในหมวดวิชาชีพมีตั้งแต่ 56.47 เปอร์เซ็นต์ ถึง 68.91 เปอร์เซ็นต์ 2.3 การจัดสัดส่วนระหว่างหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป กับหมวดวิชาชีพ พบว่าการเรียนในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปของปีการศึกษาทั่วไปของปีการศึกษาแรกของหลักสูตรทุกประเภทมีจำนวนหน่วยกิตสูงเมื่อเทียบหน่วยกิตในหมวดวิชาชีพและจะลดจำนวนลงในปีการศึกษาต่อมาในขณะที่หน่วยกิตของหมวดวิชาชีพจะเพิ่มสูงขึ้น 2.4 ในด้านการประเมินผลหลักสูตร ผู้บริหารใช้วิธีต่างๆ ดังนี้ตามลำดับดังนี้ คือ ตั้งคณะกรรมการรวบรวมข้อมูลเสนอคณาจารย์โรงเรียน ผู้บริหารและหัวหน้าหมวดวิชาประเมินร่วมกัน และให้คณาจารย์ออกความคิดเห็นเมื่อมีการประชุมเกี่ยวกับหลักสูตร สำหรับผู้เรียนโดยทั่วๆ ไปยังไม่มีส่วนทำการประเมินผลหลักสูตรอย่างจริงจัง 3. โครงสร้างระบบบริหารโรงเรียนพยาบาลไม่ยุ่งยากซับซ้อน จัดแบ่งหน่วยงานตามลักษณะเฉพาะของงานและกิจกรรมหลักที่ต้องปฏิบัติมีหน่วยงานดังนี้ คือ งานบริหารทั่วไป งานฝ่ายวิชาการ งานฝ่ายบริหาร และฝ่ายกิจการและสวัสดิการนักเรียน แต่ละหน่วยมีผู้รับผิดชอบ มีสายการบังคับบัญชาเป็นลำดับขั้น โครงสร้างและการจัดแบ่งหน่วยงานแสดงไว้ให้ทราบโดยทางแผนภูมิ การประชุมปฐมนิเทศ และหนังสือคู่มือตามลำดับ ทั้ง 9 โรงเรียน ไม่มีหน่วยงานที่ปรึกษาแสดงไว้ในแผนภูมิ แต่โดยทางปฏิบัติจะแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาเฉพาะเรื่องเป็นคราวๆไป จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร งานที่ตั้งกรรมการที่ปรึกษาคือ งานด้านหลักสูตร ด้านสรรหา คัดเลือกและพัฒนาบุคลากร งานการบริการชุมชน 4. การควบคุมการปฏิบัติงานในโรงเรียน ปรากฏดังนี้ 4.1 การควบคุมดารดำเนินงานโดยทั่วๆ ไป เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมาย ใช้วิธีการจัดแบ่งหน่วยงานให้รับผิดชอบ กำหนดระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน วางแผนระยะสั้นระยะยาว และจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานชุดต่างๆ ตามลำดับ 4.2 การควบคุมการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยกำหนดตัวบุคคลให้เหมาะสมกับงานเป็นอันดับแรก กระจายอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ กำหนดลักษณะและขอบเขตความรับผิดชอบและจัดคู่มือการปฏิบัติเป็นวิธีปฏิบัติอันดับรองลงมา ส่วนงานด้านการสอนได้กำหนดลักษณะวิชาไว้เป็นแนว 4.3 การตรวจสอบการปฏิบัติงานที่ผู้บริหารซึ่งเป็นฝ่ายผู้ตรวจสอบใช้เปรียบเทียบกับประสบการณ์ของกลุ่มอาจารย์ซึ่งเป็นฝ่ายผู้ถูกตรวจสอบ จากผลการวิจัย พบว่า กลุ่มผู้บริหารและกลุ่มอาจารย์ให้คำตอบที่คล้ายคลึงกันคือ ใช้วิธีประชุมปรึกษาระหว่างผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงานเป็นอันดับแรก และวิธีการประชุมระหว่างผู้บริหารกับคณะครูเป็นระยะๆ เป็นอันดับรองลงมาส่วนการนิเทศงานและการให้บุคลากรเสนอผลงานเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นวิธีที่ผู้บริหารใช้น้อยที่สุด 5. การบริหารบุคลากรโรงเรียน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาเพื่อมอบหมายงานด้านการสอนของครู ผู้บริหารยึดคุณวุฒิทางการศึกษาเป็นเกณฑ์สำคัญที่สุด ส่วนประสบการณ์ด้านการสอน ความถนัดและความสนใจของครูเป็นเกณฑ์อันดับรอง สำหรับความต้องการของครูมีผู้บริหารถึง 9 คน ให้คำตอบว่าไม่ได้คำนึงถึง ในด้านการปฏิบัติต่อครูใหม่ กลุ่มอาจารย์ร้อยละ 43.09 ให้คำตอบว่าได้จัดให้รับการปฐมนิเทศร้อยละ 24.39 ให้เป็นครูผู้ช่วยในสาขาวิชาเฉพาะอยู่ชั่วระยะหนึ่งอีกร้อยละ 19.52 ให้สังเกตการณ์สอนของครูเก่าก่อนที่จะได้รับมอบหมายให้ทำการสอน สำหรับการพิจารณาความดีความชอบ อาจารย์ร้อยละ 10.98 ตอบว่าไม่มีโอกาสทราบเลยว่าผู้บริหารมีวิธีการปฏิบัติเช่นใด ร้อยละ 44.72 ตอบว่า หัวหน้าหน่วยงานของตนเป็นผู้เสนอความเห็นต่อผู้บริหารสูงสุด อีกร้อยละ 34.95 ผู้บริหารสูงสุดและหัวหน้าหน่วยงานแต่ละหน่วยร่วมกันพิจารณา 6. เกี่ยวกับเงินสนับสนุนโรงเรียน ทั้งหมดได้รับจากงบประมาณแผ่นดิน มีเพียง 3 โรงเรียนที่มีการจัดทำงบประมาณแยกจากหน่วยงานอื่นในสังกัดเดียวกันโดยสมบูรณ์ ในกรณีดังกล่าว การควบคุมการใช้จ่ายที่ปฏิบัติอยู่จึงครอบคลุมงานตั้งแต่วิธีการจัดซื้อ การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการทำบัญชีงบรายรับรายจ่าย สำหรับโรงเรียนที่มีงบประมาณรวมกับหน่วยงานอื่นประสบปัญหาสำคัญคือ ไม่สามารถกำหนดแผนงานของโรงเรียนได้แน่นอนและขาดความคล่องตัวในการบริหารงาน
Other Abstract: Purpose of the Study 1. To study philosophy and purposes concerning the administration of the basic nursing education of 9 nursing schools operated under the government, and located in Bangkok. 2. To study the schools’ administrative system in connection with curricula structure, organization structure, internal organization control, personnel management and schools’ financial support. 3. To compare the administrative system of those nursing schools selected for this research. Methods and Procedure Documentary and field research were used accordingly. The latter composed of the structure interview and questionnaire. The pretesting of prepared forms of structure interview and questionnaire was carried out and revised before distributing to administrators and teaching staff of 9 nursing schools ; two of these schools are under The Office of State Universities, three under the Ministry of Defense, three under the Ministry of Interior, and one Major Findings 1. The philosophy, purposes and objectives of all basic nursing schools are similar interms of the prime target, that is to prepare nurses with high professional characters. Statistical testing was done to find out impressions of administrators and faculty members toward the stated philosophy and objectives of their own schools, it reveals that their ideas had agreed that the preparation of able and effective professional nurses is the most outstanding goal ; the expectation of being a good citizen and being able to develop themselves are rated as secondary. 2. In connection with the school curricula structure, the study shows that : 2.1 the semester and trimester system are practiced, credit system is being used in all schools. 2.2 every school exbibits a strong interest in general education as part of the professional nursing curriculum despite of definite statement of its role. The subject matter in general education composed of the following areas—the natural sciences, the social sciences, and the humanities. The minimum percentage in the area of general education is 31.09%, the maximum is 43.53%, compaing to subject matter in professional nursing which range from 56.47 to 68.91% 2.3 every school curriculum has required more credits in the area of general education in the first academic year, therefore credits in professional nursing is inevitable lessen, however the credit in such area is being increased in later years of schooling. 2.4 in connection with an evaluation of the school curriculum, the administrators have applied the following methods as forming committee to study and collect data, conducting an evaluation by administrator themselves and head departments of sections, and encouraging faculty members to share their opinion. Generally, students do not yet have opportunity to participate actively in such evaluation. 3. The school organization structure generally composed of the following departments or offices as the office of general administration, nursing education, nursing service, and student services and welfare. Definite line of authority within the organization is illustrated. The faculty member learns it organization structure through organization chart, orientation program and school handbook. 4. Dealing with the school internal control, in general, schools have had definite division of working unite, have set up certain working methods, have designed short and long range plan, and also have formed special committee if necessary. Concerning the school personnel control, administrators and faculty members had stated that the first method used is by putting the right person on the right job, and the supported means are decentralizing responsibility and authority to subordinates, making out job desoription, and distributing guidebook to personnel to enable them to perform their work. The methods to account the assignment, most administrators mainly used is conferences held among faculty members of all levels. Direct supervision and working record propose by individual are seldom applied. 5. In the area of personnel management, particularly on teaching assignment, administrators’ judgement depends mainly on individual educational background. For treatment of new faculty members, 43.09% had learned their teaching assignment through orientation program, 24.39% were assigned to work as an assistant teacher for a period of time, and 19.52% were assigned to observe actual teaching performed by old faculty members before performing real teaching themselves. 6. All schools received financial support totally from the government. The problem about budget planning and organizing, the expenditure control, and others are experienced among those schools that have no full authority in the school budgeting.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22278
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somkit_Ra_front.pdf677.22 kBAdobe PDFView/Open
Somkit_Ra_ch1.pdf830.24 kBAdobe PDFView/Open
Somkit_Ra_ch2.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Somkit_Ra_ch3.pdf488.39 kBAdobe PDFView/Open
Somkit_Ra_ch4.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
Somkit_Ra_ch5.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Somkit_Ra_back.pdf953.68 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.