Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22425
Title: การสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบสอบกับการเปลี่ยนแปลงทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่สี่
Other Titles: Teaching science by inquiry method and changes of scientific attitude of mathayom suksa 4 students
Authors: สุภาเพ็ญ จริยะเศรษฐ์
Advisors: ธีระชัย ปูรณโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่สี่ ซึ่งได้รับการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบสอบ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบไม่เลือกซ้ำ จำนวน 140 คน เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 70 คน และเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 70 คน ผู้วิจัยได้นำแบบวัดทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองตอบ นำคะแนนทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเมื่อเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม มาหา มัชฌิมเลขคณิตและทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที ปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งสองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 จากนั้นกลุ่มทดลองได้รับการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบสอบ และกลุ่มควบคุมได้รับการสอนวิทยาศาสตร์แบบบรรยายเป็นเวลาประมาณ 5 เดือน นำแบบวัดทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ชุดเดิมของผู้วิจัยไปให้นักเรียนทั้งสองกลุ่มตอบอีกครั้งหนึ่ง หามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ แล้วทดสอบผลต่างของมัชฌิมเลขคณิตของคะแนนทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ด้วยค่าที ผลวิจัยพบว่า (1) หลังจากกลุ่มทดลองได้รับการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบสอบ และกลุ่มควบคุมได้รับการสอนวิทยาศาสตร์แบบบรรยายแล้ว กลุ่มทดลองมีทัศนคติทางวิทยาศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีทัศนคติทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเมื่อยังไม่ได้รับการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบสอบอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (3) นักเรียนกลุ่มควบคุมมีทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกับเมื่อยังไม่ได้รับการสอนวิทยาศาสตร์แบบบรรยายอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this experimental research was to find out the change of Mathayom Suksa 4 students’ scientific attitude who were taught science by inquiry method. The 140 students were randomly sampling without replacements both experimental and controlled groups consisted of 70 students. The writer had proved that each group having scientific achievement at Mathayom Suksa 3 and scientific attitude equally by using t-test at .01 level of significance. The experimental group was taught science by inquiry method and the controlled group was taught science by lecturing method. About five months later, these two groups of students were measured their scientific attitude with the same scientific attitude test. The arithmetic means of students’ scientific attitude were found and test the mean difference by using t-test. The results were the following ; (1) after the experiment, the scientific attitude in the experimental group was higher than students in the controlled group at. .01 level of significance ; (2) the scientific attitude of the experimental group was higher than before being taught by inquiry method at .05 level of significance ; (3) the scientific attitude of the controlled group was not different from before being taught by lecturing method at .01 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22425
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supapen_Ch_front.pdf408.51 kBAdobe PDFView/Open
Supapen_Ch_ch1.pdf427.92 kBAdobe PDFView/Open
Supapen_Ch_ch2.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Supapen_Ch_ch3.pdf410.47 kBAdobe PDFView/Open
Supapen_Ch_ch4.pdf447.76 kBAdobe PDFView/Open
Supapen_Ch_ch5.pdf430.85 kBAdobe PDFView/Open
Supapen_Ch_back.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.