Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22479
Title: ความต้องการบริการด้านการออกกำลังกาย ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Needs for exercising services of secondary school teachers in Bangkok metropolis
Authors: แสงเพชร คูหาเรืองรอง
Advisors: ชัชชัย โกมารทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการบริการด้านการออกกำลังกาย ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 50 โรงเรียน โดยใช้แบบสอบถามส่งไปยังกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เป็นครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา 1,000 ชุด ได้รับแบบสอบถามคืน 930 ชุด คิดเป็นร้อยละ 93.00 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ โดยการหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ค่า ที ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูมีความต้องการบริการด้านการออกกำลังกายในระดับมาก 2. ครูมีความต้องการบริการด้านการออกกำลังกายในแต่ละด้านในระดับมากคือ ความต้องการด้านรูปแบบของการจัดกิจกรรม ความต้องการด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ความต้องการด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก ความต้องการด้านการทดสอบสมรรถภาพ ความต้องการด้านวิชาการ ความต้องการด้านกิจกรรมการออกกำลังกาย ความต้องการด้านช่วงเวลาในการออกกำลังกาย 3. ครูมีความต้องการบริการด้านการออกกำลังกายเป็นรายข้อ ในแต่ละด้านดังต่อไปนี้ 3.1 ความต้องการด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ให้มีอุปกรณ์กีฬาที่ใช้สำหรับการออกกำลังกายสำหรับครูอย่างเพียงพอและได้มาตรฐาน ให้มีห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวและทำความสะอาดร่างกายสำหรับครู ให้มีตู้เก็บของสำหรับครูที่ออกกำลังกาย 3.2 ความต้องการด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ได้แก่ ให้มีบุคลากรที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ให้มีผู้สอนที่มีจิตวิทยา ในการสอนบุคคลในวัยต่าง ๆ ให้มีผู้สอนที่สามารถให้คำแนะนำหรือใช้วิธีสอนหรือฝึกหัดที่เข้าใจง่าย 3.3 ความต้องกาด้านช่วงเวลาในการออกกำลังกาย ได้แก่ ให้โรงเรียนจัดบริการด้านการออกกำลังกายในเวลาราชการที่ว่างจากการสอนและต้องการออกำลังกายให้โรงเรียนจัดบริการด้านการออกกำลังกายในช่วงเวลา 16.00 – 18.00 น. 3.4 ความต้องการด้านรูปแบบของการจัดกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่จัดควรเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก แต่มีประโยชน์ทางด้านสุขภาพ กิจกรรมที่จัดควรเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้เวลามาก แต่มีประโยชน์ทางด้านสุขภาพ กิจกรรมที่จัดควรเป็นกิจกรรมที่ครูสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่ต้องใช้ทักษะมาก 3.5 ความต้องการด้านกิจกรรมการออกกำลังกาย ได้แก่ แบดมินตัน กายบริหาร ว่ายน้ำ 3.6 ความต้องการด้านการทดสอบสมรรถภาพ ได้แก่ ให้มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบสมรรถภาพทางกายของครูได้มาตราฐานเท่าที่จะหาได้ ให้มีเกณฑ์มาตราฐานการทดสอบสมรรถภาพทางกายรายการต่าง ๆ ไว้เปรียบเทียบ เพื่อจะได้ประเมินผลตนเอง ให้มีบัตรบันทึกการทดสอบสมรรถภาพทางกายเป็นรายบุคคล 3.7 ความต้องการด้านวิชาการ ได้แก่ ให้โรงเรียนบริการด้านความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ให้โรงเรียนจัดหาภาพยนตร์หรือเทปโทรทัศน์เกี่ยวกับการศึกษาและการออกกำลังกายแบบต่าง ๆ มาฉายให้ชม ให้โรงเรียนบริการด้านความรู้เกี่ยวกับวิธีการออกกำลังกายสำหรับบุคคลในวัยต่าง ๆ 4. ความต้องการบริการด้านการออกกำลังกายระหว่างครูชายกับครูหญิงแตกต่างกันที่ระดับ .05 5. ความต้องการการบริการด้านการออกกำลังกายระหว่างครูที่เป็นโสดกับครูที่สมรส ไม่แตกต่างกันที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the needs for exercising services of secondary school teachers in Bangkok Metropolis. The samples were secondary school teachers of 50 schools. Questionnaires were sent to 1,000 secondary school teachers. Nine hundred and thirty of questionnaires accounted for ninety-three percent were returned. The data were, then, statistically analyzed in terms of percentages, means and standard deviations. The t-test was also employed to analyze the significant difference. It was found that the exercising services needs of secondary school teachers were : 1. The needs for exercising services were high. 2. The needs for exercising services were exercising activities, service personnel, places, equipment and facilities, physical fitness testing, theoretical knowledge, types of activities and preferred schedules for exercising. 3. The needs for exercising services in individual aspects were as follows: 3.1 The quantity of equipments were proportional to the number of users, adequate and hygienic facilities for dressing, shower, and also lockers. 3.2 The needs of service personnel were the staffs with human relation, good psychology , good knowledge of methods of instruction and understand how to organize, select, and conduct appropriate physical education activities. 3.3 The needs of preferred days for exercising were on week days. The preferred time was during 4.00-6.0 p.m. and free time. 3.4 The needs for types of activities were activities with low expense and minimal time, but useful for health. Teachers can participate the activities without skill. 3.5 The needs for exercising activities were badminton, calisthenics, and swimming. 3.6 The needs for physical fitness testing were adequate quantity of physical fitness testing equipments. 3.7 The needs of theoretical knowledge were the staffs who had knowledge in exercising for health, providing sport movies and video tape and providing instruction of how to exercise to members of different ages. 4. There was significant difference at the .05 level between the opinions of male and female teachers. 5. There was no significant difference at the .05 level between married and unmarried teachers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22479
ISBN: 9745642304
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sangpech_Cu_front.pdf413.13 kBAdobe PDFView/Open
Sangpech_Cu_ch1.pdf474.49 kBAdobe PDFView/Open
Sangpech_Cu_ch2.pdf714.79 kBAdobe PDFView/Open
Sangpech_Cu_ch3.pdf291.96 kBAdobe PDFView/Open
Sangpech_Cu_ch4.pdf896.44 kBAdobe PDFView/Open
Sangpech_Cu_ch5.pdf545.7 kBAdobe PDFView/Open
Sangpech_Cu_back.pdf696.69 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.