Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22662
Title: การศึกษาความชุกของการตรวจพบไทรอยด์ออโตแอนติบอดี้ในญาติลำดับที่หนึ่งของผู้ป่วยโรคออโตอิมมูนไทรอยด์
Other Titles: The study of prevalence of thyroid autoantibodies among first-degree relatives of patients with autoimmune thyroid disease
Authors: ภัทรพร เกียรติปานอภิกุล
Advisors: ธิติ สนับบุญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Thiti.S@Chula.ac.th
Subjects: ระบบภูมิคุ้มกัน
ต่อมธัยรอยด์ -- โรค
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา : โรคออโตอิมมูนไทรอยด์เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยประมาณ 0.2-2 เปอร์เซ็นต์ในประชากรทั่วไป ซึ่งพบบ่อยมากขึ้นในเพศหญิง และภายในสมาชิกครอบครัวเดียวกัน การตรวจพบไทรอยด์ออโตแอนติบอดี้นั้น จะสัมพันธ์กับการเกิดโรคออโตอิมมูนไทรอยด์ได้ ประชากรและวิธีการ : ญาติลำดับที่หนึ่งของผู้ป่วยโรคออโตอิมมูนไทรอยด์ที่ไม่เคยได้รับการตรวจและรักษาโรคออโตอิมมูนไทรอยด์มาก่อน จะได้รับเชิญให้กรอกแบบสอบถาม และตรวจร่างกาย ร่วมกับเจาะเลือด เพื่อนำมาตรวจหาไทรอดย์ออโตแอนติบอดี้ ได้แก่ TPO-Ab และ Tg-Ab รวมทั้งตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ ผลการวิจัย : จากการศึกษาวิเคราะห์ตัวอย่าง 1 กลุ่ม ณ.จุดเวลาใดเวลาหนึ่งของผู้เข้าร่วมการวิจัยทั้งหมด 155 คน เป็นเพศหญิง 103 คน และเพศชาย 52 คน พบว่าญาติลำดับที่หนึ่งของผู้ป่วยโรคออโตอิมมูนไทรอยด์ตรวจพบไทรอยด์ออโตแอนติบอดี้ 45.8 เปอร์เซ็นต์ ตรวจพบไทรอยด์เป็นพิษแบบมีอาการ 0.65 เปอร์เซ็นต์ (1/155 คน) และตรวจพบภาวะไทรอยด์เป็นพิษแบบไม่มีอาการ และ ภาวะไทรอยด์ต่ำแบบไม่มีอาการ 0.65 และ 5.81 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย : การศึกษานี้แสดงในเห็นว่า ความชุกของไทรอยด์ออโตแอนติบอดี้ในกลุ่มญาติลำดับที่หนึ่งของผู้ป่วยโรคออโตอิมมูนไทรอยด์สูงมากกว่าประชากรทั่วไป ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการช่วยคัดกรอง เพื่อที่จะลดความเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติของต่อมไทรอยด์โดยไม่ได้รับการวินิจฉัย และรักษาในทันท่วงที
Other Abstract: Background Autoimmune thyroid disease (AITD) is the common disorder that affects around 0.2-2% of the adult populations. It occurs more frequently in women and in the family members. The presence of thyroid autoantibody has been found in associated with AITD. Methods Healthy first-degree relatives of the patients with documented AITD were analyzed for thyroid autoantibody including TPO-Ab, Tg-Ab and thyroid function test. All subjects were assessed by questionnaires and physical examination. Results 155 subjects, 103 females and 52 males, were recruited into this analytic cross-sectional study. About a half (45.8%) of first-degree relatives of the patients with documented AITD carried thyroid autoantibody. Overt hyperthyroid were documented 0.65% (1/155) with 0.65% and 5.81% (9/155) were found to have subclinical hyperthyroidism and subclinical hypothyroidism, respectively. Conclusions This study shows the high prevalence of the thyroid autoantibody among family members of AITD patients, which points out an important of screening to minimize the risk of undiagnosed thyroid dysfunction.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22662
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phatharaporn_kl.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.