Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22671
Title: ผลของกลุ่มพุทธจิตนิเวศรักษาต่อความเป็นเนื้อเดียวกันกับธรรมชาติและปัญญาในภาวะความสัมพันธ์เชื่อมโยงของนิสิตนักศึกษา
Other Titles: The effect of buddhist-ecotherapy group on connectedness to nature and panna in interconnectedness of university students
Authors: พิณมาศ ชัยชาญทิพยุทธ
Advisors: อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Arunya.T@Chula.ac.th
Subjects: จิตวิทยาศาสนา
พุทธศาสนา -- จิตวิทยา
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มพุทธจิตนิเวศรักษาต่อความเป็นเนื้อเดียวกันกับธรรมชาติและปัญญาในภาวะความสัมพันธ์เชื่อมโยงของนิสิตนักศึกษา ด้วยการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี จำนวน 24 คน เป็นเพศชาย 8 คน และเพศหญิง 16 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม คือกลุ่มพุทธจิตนิเวศรักษา (กลุ่มทดลองที่ 1) และกลุ่มจิตนิเวศรักษา (กลุ่มทดลองที่ 2) และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน ระยะเวลาดำเนินกลุ่ม 20 ชั่วโมง ในเวลา 3 วัน 2 คืน ติดต่อกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความเป็นเนื้อเดียวกันกับธรรมชาติและแบบวัดปัญญาในภาวะความสัมพันธ์เชื่อมโยง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง คะแนนความเป็นเนื้อเดียวกันกับธรรมชาติของกลุ่มทดลองที่ 1 สูงกว่าคะแนนของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) แต่คะแนนของกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่แตกต่างกับคะแนนของกลุ่มทดลองที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. หลังการทดลอง คะแนนความเป็นเนื้อเดียวกันกับธรรมชาติของกลุ่มทดลองที่ 2 สูงกว่าคะแนนของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) 3. หลังการทดลอง คะแนนปัญญาในภาวะความสัมพันธ์เชื่อมโยงของกลุ่มทดลองที่ 1 สูงกว่าคะแนนของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) แต่คะแนนของกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่แตกต่างกับคะแนนของกลุ่มทดลองที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. หลังการทดลอง คะแนนปัญญาในภาวะความสัมพันธ์เชื่อมโยงของกลุ่มทดลองที่ 2 ไม่แตกต่างกับคะแนนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)
Other Abstract: This study aimed to examine the effect of Buddhist-ecotherapy group on connectedness to nature and PAÑÑĀ in interconnectedness of university students through the quasi-experimental with pretest-posttest control group design. Twenty four university students consisting of eight males and sixteen females were assigned to two experimental groups and one control group (N = 8 per group). The students in experimental groups participated in the group for 20 hours in 3 consecutive days. Instruments were Connectedness to Nature Scale and PAÑÑĀ in Interconnectedness Scale. A one-way analysis of variance with repeated measures was used for data analysis. Findings reveal: 1. The posttest scores on connectedness to nature of the Buddhist-ecotherapy group were significantly higher than the scores of the control group (p<.01). No significant difference was found between the scores of the Buddhist-ecotherapy group and the Ecotherapy group. 2. The posttest scores on connectedness to nature of the Ecotherapy group were significantly higher than the scores of the control group (p<.01). 3. The posttest scores on PAÑÑĀ in interconnectedness of the Buddhist-ecotherapy group were significantly higher than the scores of the control group (p<.01). No significant difference was found between the score of the Buddhist-ecotherapy group and the Ecotherapy group. 4. No significant difference was found between the posttest scores on PAÑÑĀ in interconnectedness of the Ecotherapy group and the control group (p<.01)
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการปรึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22671
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.911
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.911
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pinmas_ch.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.