Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2300
Title: การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้วิชาปฏิบัติการออกแบบเบื้องต้น : จากองค์ประกอบพื้นฐานถึงที่ว่างทางสถาปัตยกรรม
Other Titles: The use of computer for the basic design studio : from basic elements to architectural space
Authors: มาร์ค อิศรางกูร ณ อยุธยา, 2519-
Advisors: เลอสม สถาปิตานนท์
บัณฑิต จุลาสัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: cbundit@yahoo.com
lersom.s@chula.ac.th
Subjects: ที่ว่าง (สถาปัตยกรรม)
การออกแบบสถาปัตยกรรม
คอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบ
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการเรียนการสอนสถาปัตยกรรมที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิชามูลฐานการออกแบบนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้ศาสตร์แห่งสถาปัตยกรรม การเรียนการสอนรายวิชานี้มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในภาคปฏิบัตินั้นใช้วิธีการทำแบบฝึกหัดตามทฤษฎีหลักการออกแบบเบื้องต้น โดยทั่วไปจะใช้อุปกรณ์ทางกายภาพจำพวกกระดาษและดินสอเป็นเครื่องมือในการทำแบบฝึกหัดเสมอมา ในเวลาปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้มีบทบาทต่อการเรียนการสอนสถาปัตยกรรมเพิ่มขึ้นกว่าเดิม นิสิตมีความสนใจในการทำความคุ้นเคยและเข้าถึงการใช้คอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนภาคปฏิบัติ โดยการรวบรวมสาระที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีและแบบฝึกหัด ความสามารถของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภท CAD (Computer Aided Design)ใช้โปรแกรม Form-Zเป็นเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการทำแบบฝึกหัด นำไปทดลองทำด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ผลการทดลองที่ได้จะนำมาวิเคราะห์เพื่อศึกษาความเหมาะสมและปัญหาของการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรายวิชาดังกล่าว สาระในเรื่องของทฤษฎีการออกแบบประกอบไปด้วยเรื่องของ องค์ประกอบพื้นฐานในการออกแบบ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ หลักการจัดองค์ประกอบ สีและสามมิติ พบว่าโจทย์แบบฝึกหัดการออกแบบที่เกี่ยวข้องมีทั้งหมดจำนวน 24 ชิ้น การศึกษาความสามารถของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็นความสามารถในการสร้างวัตถุในเชิงสองมิติและสามมิติ(Two-Dimensional and Three-Dimensional Media)โดยแยกเป็นความสามารถในการสร้างวัตถุ(Create) ความสามารถในการเลือกวัตถุและเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของวัตถุ(Select and Transform) การกำหนดมุมมองต่อวัตถุ(View) รวมถึงการสร้างภาพเคลื่อนไหว(Animate) จากการทดลองพบว่า สามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำแบบฝึกหัดได้จำนวน 9 ชิ้น ไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำแบบฝึกหัดได้จำนวน 2 ชิ้น และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำแบบฝึกหัดได้แต่ไม่สมบูรณ์จำนวน 13 ชิ้น จากแบบฝึกหัดที่สามารถทำได้ด้วยคอมพิวเตอร์พบว่า คอมพิวเตอร์นั้นมีความเหมาะสมในแง่ของ 1. การสร้างงานออกแบบที่มีจำนวนและความหลากหลายมากขึ้นเมื่อเทียบกับการทำด้วยอุปกรณ์แบบเดิม ความสามารถพื้นฐานในการสร้างและเปลี่ยนแปลงวัตถุของคอมพิวเตอร์ทำให้สร้างงานออกแบบได้อย่างรวดเร็ว มากมาย และหลากหลาย สามารถกระทำได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลากับการสร้างองค์ประกอบใหม่ด้วยกระดาษซ้ำแล้วซ้ำอีก 2. การสร้างความต่อเนื่องจากงานออกแบบหนึ่งไปสู่อีกงานออกแบบหนึ่ง ในโจทย์ที่ต้องการสร้างความต่อเนื่อง การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำแบบฝึกหัดนั้นสามารถสร้างความต่อเนื่องจากงานหนึ่งไปสู่อีกงานหนึ่งได้อย่างแท้จริง ความสามารถในการสร้างและเปลี่ยนแปลงวัตถุของคอมพิวเตอร์ทำให้ใช้องค์ประกอบที่มีอยู่ในโจทย์เดิมมาทำงานออกแบบในโจทย์ใหม่โดยไม่ต้องสร้างขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และยังคงคุณสมบัติดั้งเดิมไว้ได้ รวมทั้งสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง 3. ความสามารถในการแสดงผลในสิ่งที่ผู้ทำนั้นไม่สามารถมองเห็นได้จากการทำด้วยวิธีการเดิมคำสั่งในการแสดงผลบางอย่างของคอมพิวเตอร์เช่น การแสดงภาพเคลื่อนไหว(animation) สามารถแสดงมุมมองบางอย่างของการแบบที่ไม่สามารถมองเห็นได้หากทำด้วยการใช้เครื่องมือเเบบเดิม จากแบบฝึกหัดที่ไม่สามารถทำได้ด้วยคอมพิวเตอร์ หรือทำได้ไม่สมบูรณ์ พบว่าข้อจำกัดของการใช้คือ 1.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ความสามารถมีจำกัด โปรแกรมเพียงโปรแกรมเดียวไม่สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ของโจทย์และกระบวนการทำได้หรือหากตอบสนองได้ก็ไม่สมบูรณ์ 2. บางโจทย์ต้องการปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับวัสดุจริง หรือการทดสอบคุณสมบัติบางอย่างของวัสดุ คอมพิวเตอร์นั้นแสดงได้เพียงแค่ภาพเสมือน ไม่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ 3.การมองเห็นวัตถุจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเทียบเท่ากับการเห็นจากของจริงที่ดำรงอยู่ในที่ว่างได้ เนื่องจากการแสดงภาพด้วยคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะเป็นสองมิติ แบบฝึกหัดการออกแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการใช้คอมพิวเตอร์นั้นคือแบบฝึกหัดในเรื่องขององค์ประกอบพื้นฐานซึ่งอยู่ในเชิงสองมิติ ในส่วนของหลักการจัดองค์ประกอบและสามมิตินั้นจำเป็นที่จะต้องศึกษาในเรื่องของการดำรงอยู่จริงของวัตถุในที่ว่างด้วยเช่นกัน ดังนั้นการใช้คอมพิวเตอร์สมควรจะเป็นในส่วนของการช่วยส่งเสริมการทำแบบฝึกหัด ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นพื้นฐานในการศึกษาและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนรายวิชาปฏิบัติการออกแบบเบื้องต้น รวมทั้งในเรื่องของการเรียนด้วยรูปแบบการศึกษาทางไกลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในอนาคต
Other Abstract: Design Fundamental is regarded as one of the most important subjects for architectural education at the Faculty of Architecture, Chulalongkorn University. Its significance lies in providing strong basis to which students can further progress into the discipline of architectural design. This subject consists of theoretical part and practical part. In the latter part, students are required to carry out design exercises, based on the theoretical knowledge they acquire from lectures, with the use of physical tools, namely, pencils, papers, and glues. These tools, which have always been used, present their own limitations and drawbacks. In recent times, computer increasingly plays a major part in architectural education. Students can easily gain access to the technology, resulting in the development of greater interests in the subject matter. Consequently, this research aims at studying the possibilities of computer as a tool for carrying out design exercises. The methodology includes gathering documents on design fundamentals and the design problems, general capabilities of computer-aided design program. Examples of design solution will be carried out using a computer program, i.e. Form-Z program. Results will be used to analyze the merits and demerits of using digital tools for the subject. Documentation suggests that theoretical knowledge on design fundamentals consists of 4 main parts: basic design elements, relationships of elements, principles of composition, and three-dimensional elements. There are 24 exercises for students to practice designing based on this theoretical knowledge. In the study of computer capabilities, it shows that Computer-Aided Design programs generally possess the capabilities of two-dimensional and three-dimensional manipulations, consisting of Creating, Selecting and Transforming, Viewing, and Animating. When designs are done using digital tools, it can be found that 9 exercises can be completely done with computer, 2 exercises cannot be done, and 13 can be done but incompletely. From the exercises that can be completely done with computers, the merits of the digital tools are that: 1. Design solutions can be created with greater amount and greater diversity when compared with the conventional physical tools. Computer{174}s capabilities of Selecting and Transforming enable designs to be done quickly without having to re-create elements again and again, 2. Digital tools can achieve genuine continuity in exercises that need such property. Its capabilities in Selecting and Transforming enable elements to be manipulated directly, but still maintain the precise existing characteristics that are usually lost when continuity is done with physical tools, 3. Designs can be perceived from views that can never be seen using physical tools. Some features of the digital tools, i.e. Animation, enable designs to be studied from different, yet interesting, views and perspective. It can potentially enhance better understanding to the design problems. From the exercises that cannot be done or can be incompletely done with computers, the demerits of the digital tools are that: 1. Computer program has its own limitations. A single program does not have all the features to encompass the vast requirements of design fundamental exercises, 2. Computer images are only virtual. It will fail in exercises that need interaction with body, study of material properties, or experimentation with structural load, 3. Seeing virtual objects from computer screen is not as revealing as seeing tangible objects that really occupy space. Since representation of object by computer is essentially two-dimensional, it seems that the most appropriate exercises to be done with digital tools are those of two-dimensional elements. In case of three-dimensional elements, it should serve as a supplementary tool for design inquiry and investigating into other design dimensions. It is hopeful that these results will serve as a point of departure for further inquiry into the question of computer for design and for distant learning using electronic and internet technology.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2300
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.302
ISBN: 9741700369
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.302
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mark.pdf12.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.