Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23132
Title: การวิเคราะห์การใช้ภาพพจน์ในวรรณคดีที่ปรากฏในหนังสือเรียนภาษาไทย วิชาบังคับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: An analysis of figure of speech in literature appeared in Thai text-books for required courses at the upper secondary education level
Authors: ภัทราภรณ์ ทนันชัย
Advisors: สุจริต เพียรชอบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: วรรณคดีไทย -- ประวัติและวิจารณ์
ภาษาไทย -- แบบเรียน
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ คือ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้ภาพพจน์ในวรรณคดีที่ปรากฏในหนังสือเรียนภาษาไทย วิชาบังคับ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งเป็นวรรณคดีร้อยกรอง จำนวน 6 เรื่อง วิธีดำเนินการวิจัย คือ 1) ผู้วิจัยศึกษาวรรณคดีร้อยกรองที่ปรากฏในหนังสือเรียนภาษาไทย วิชาบังคับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาพพจน์จากหนังสือ วารสารและงานวิจัยต่างๆ เพื่อนำมาสร้างประเด็นในการวิเคราะห์วรรณคดีที่เลือกไว้ แล้วนำประเด็นดังกล่าวไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ตรวจแก้ไข แล้วนำประเด็นในการวิเคราะห์มาปรับปรุงแก้ไขตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำ 2) ผู้วิจัยใช้ประเด็นที่ตรวจแก้ไขแล้ววิเคราะห์การใช้ภาพพจน์ในวรรณคดีที่กำหนดไว้ เสนอผลการวิเคราะห์ในรูปการบรรยาย พร้อมทั้งคำนวณหาค่าความถี่ของการใช้ภาพพจน์แต่ละลักษณะเป็นร้อยละ แล้วนำผลเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัยสรุปว่า 1) ภาพพจน์ที่ใช้มากที่สุดในเรื่องอิเหนา ตอนกองทัพห้าวกะหมังกุหนิงตีเมืองด่านดาหา คือ การใช้คำที่มีรสความ คิดเป็นร้อยละ 53.34 และที่ใช้น้อยที่สุด คือ การเลียนเสียง คิดเป็นร้อยละ 6.67 2) ภาพพจน์ที่ใช้มากที่สุดในนิราศพระบาท คือ การใช้คำที่มีรสความ คิดเป็นร้อยละ 28.03 ที่ใช้น้อยที่สุด คือ การใช้อุปลักษณ์ คิดเป็นร้อยละเพียง 1.52 เท่านั้น 3) ภาพพจน์ที่ใช้มากที่สุดในมหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร คือ การใช้อุปมาคิดเป็นร้อยละ 29.03 ที่ใช้น้อยที่สุด คือ การกล่าวเย้ยกล่าวประชด คิดเป็นร้อยละ 1.08 เท่านั้น 4) ภาพพจน์ที่ใช้มากที่สุดในกาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบ-ศร คือ การใช้คำที่มีรสความ คิดเป็นร้อยละ 44.90 ที่ใช้น้อยที่สุด ได้แก่ การใช้อุปลักษณ์ การใช้สัญลักษณ์ การกล่าวถึงความขัดแย้งคู่ขนานกัน การใช้คำถาม และการเล่นเสียง คิดเป็นร้อยละ 1.02 เท่านั้น 5) ภาพพจน์ที่ใช้มากที่สุดในมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มหาราช คือ การใช้อุปมา คิดเป็นร้อยละ 48.57 ที่ใช้น้อยที่สุด ได้แก่ การใช้อุปลักษณ์ การกล่าวเย้ย กล่าวประชด และการเลียนเสียง คิดเป็นร้อยละเพียง 2.86 6) ภาพพจน์ที่ใช้มากที่สุดในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนลุแก่โทษ คือ การใช้คำที่มีรสความ คิดเป็นร้อยละ 36.66 และที่ใช้น้อยที่สุด ได้แก่ การใช้อุปลักษณ์ การใช้บุคลาอธิษฐาน การกล่าวถึงความขัดแย้งคู่ขนานกัน การกล่าวเกินจริง การใช้อุทาหรณ์ และการใช้คำซ้ำ คิดเป็นร้อยละเพียง 3.33 7) ภาพพจน์ที่ใช้มากที่สุดในวรรณคดีที่นำมาวิเคราะห์ทั้ง 6 เรื่อง คือ การใช้คำที่มีรสความ คิดเป็นร้อยละ 27.54 และที่ใช้น้อยที่สุด ได้แก่ การกล่าวถึงความขัดแย้งคู่ขนานกัน และการกล่าวเย้ยกล่าวประชด คิดเป็นร้อยละเพียง 0.5 เท่านั้น
Other Abstract: The main purpose of this study was to analyze figure of speech in six literatures appeared in Thai text-books for required courses at the upper secondary education level. Research Procedures: 1.The researcher studied the poetical-literatures appeared in Thai text-books for required courses at the upper secondary education level, and then studied the figure of speech from hooks, magazines and some research in order to construct and analytical items for analyzing selected literatures. The items were then considered by 5 juries of expert for validating and giving some ideas. The items were then reconstructed. 2. The researcher used the analytical items reconstructed for analyzing figure of speech in selected literatures. The results were presented in description and the frequency of figure of speech appeared in the text-books were analyzed by means of percentage and presented in tables and description. Result ;1. The most highly used figured of speech in Inao "Khamang khuning's army fought with Daha's bordered-town,( was understatement (53.34%) ,and the least was onomatopoeia. (6.67 %) 2. The most highly used figured of speech in Nirat Prabat was understatement (28.03%), and the least was metaphor. (1.52%) 3. The most highly used figured of speech in Mahavessandara chadok "Kumara” was simile (29.03%), and the least was irony, only 1. 08 %. 4. The most highly used figure of speech in Kab He Rua of Prince Thammathibet was understatement (44.90 %), and the least were metaphor, symbol, paradox, rhetoric question and alliteration. (1.02%) 5. The most highly, used figured of speech in Mahavessandara Chadok "Maharaj" was simile (48.57 %), and the least were metaphor, irony and onomatopoeia. (2.86 %) 6. The most highly used figured of speech in Sepa Khun Chang Khun phaen '’Khun Phaen accepted his mistake" was understatement (36.66 %), and the least were metaphor, personification, paradox, hyperbole, analogy and reduplication. (3.33 %) 7. The most highly used figured of speech in six selected literatures was understatement (27.54 %), and the least were paradox and irony, only 0.5 %.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23132
ISBN: 9745660493
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patraporn_Th_front.pdf510 kBAdobe PDFView/Open
Patraporn_Th_ch1.pdf428.86 kBAdobe PDFView/Open
Patraporn_Th_ch2.pdf2 MBAdobe PDFView/Open
Patraporn_Th_ch3.pdf287.02 kBAdobe PDFView/Open
Patraporn_Th_ch4.pdf5.47 MBAdobe PDFView/Open
Patraporn_Th_ch5.pdf498.3 kBAdobe PDFView/Open
Patraporn_Th_back.pdf520.18 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.