Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23301
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิพนธ์ ไทยพานิช
dc.contributor.authorประเสริฐ กิติรัตน์ตระการ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-07T09:01:15Z
dc.date.available2012-11-07T09:01:15Z
dc.date.issued2527
dc.identifier.isbn9745632651
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23301
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาหลักสูตรวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ในส่วนที่เป็นแบบเรียนและเนื้อหาเพิ่มเติมในคู่มือครูของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลเมืองดีอย่างไร และปรากฏอยู่ในเนื้อหาประเภทใด มากน้อยเพียงใด วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1. การศึกษาลักษณะความเป็นพลเมืองดีในสังคมไทย มีวิธีการคือ ศึกษาและรวบรวมลักษณะความเป็นพลเมืองดีจากเอกสาร วารสาร งานวิจัย ตำราและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศที่กล่าวถึงลักษณะความเป็นพลเมืองดี นำผลที่ได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านสังคมศาสตร์ คณะอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อพิจารณาลักษณะความเป็นพลเมืองดีที่จะใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ 2. การวิเคราะห์เนื้อหาหลักสูตรวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ผู้ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะความเป็นพลเมืองดี พฤติกรรม และประเภทเนื้อหาของลักษณะความเป็นพลเมืองดีในแหล่งข้อมูลด้วยตนเองภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์หลักสูตร 3. การสรุปผลการวิเคราะห์เนื้อหาหลักสูตร สรุปผลที่ได้จากการวิเคราะห์ลักษณะความเป็นพลเมืองดีในเนื้อหาหลักสูตรว่า มีลักษณะความเป็นพลเมืองดีและพฤติกรรมของลักษณะความเป็นพลเมืองดีอย่างไร ปรากฏว่าอยู่ในเนื้อหาประเภทใด และมากน้อยเพียงใด ผลการวิจัย 1. มีลักษณะความเป็นพลเมืองดีปรากฏอยู่ในแหล่งข้อมูลทุกรายการรวม 830 ครั้ง โดยปรากฏอยู่ในแหล่งข้อมูลชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 3 คิดเป็นจำนวน 349, 203 และ 278 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 42.04, 24.45 และ 33.49 ตามลำดับ 2. ในแหล่งข้อมูลรวมทุกรายการมีลักษณะความเป็นพลเมืองดีเรียงลำดับจากมากไปน้อย 10 ลำดับแรกดังนี้คือ มีความรับผิดชอบ มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย ตระหนัก สนใจและมีส่วนร่วมทางการเมือง รักษาระเบียบวินัย รู้จักใช้และสงวนรักษาสาธารณสมบัติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความเสียสละและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มีสติ-สัมปชัญญะ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ใฝ่หาความรู้และความจริง จาก 10 ลักษณะนี้ มีจำนวนถึง 6 ลักษณะ ได้แก่ มีความรับผิดชอบ มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย ตระหนัก สนใจและมีส่วนร่วมทางการเมือง รักษาระเบียบวินัยมีความเสียสละและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งต่างก็อยู่ใน 10 ลำดับแรกของแหล่งข้อมูลชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 3 ด้วย 3. มีลักษณะการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ปรากฏในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพียง 1 ครั้ง ลักษณะมีมนุษยสัมพันธ์ปรากฏในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพียง 1 ครั้ง ส่วนลักษณะมีน้ำใจเป็นนักกีฬานั้น ไม่ปรากฏในแหล่งข้อมูลทุกรายการ 4. ลักษณะพฤติกรรมของลักษณะความเป็นพลเมืองดีในแหล่งข้อมูลทั้งหมดมีลักษณะพฤติกรรมต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 23.01, 24.81 และ 52.16 ตามลำดับ 5. ประเภทของเนื้อหาของลักษณะความเป็นพลเมืองดีในแหล่งข้อมูลทั้งหมดปรากฏดังนี้ เนื้อหาประเภทข้อเท็จจริงหรือความรู้ธรรมดาคิดเป็นร้อยละ 57.71 หลักการคิดเป็นร้อยละ 26.02 ความคิดรวบยอดคิดเป็นร้อยละ 12.28 ความคิดสร้างสรรค์คิดเป็นร้อยละ 0.48 การคิดแก้ปัญหาคิดเป็นร้อยละ 2.89 ความสามารถหรือทักษะทางกายคิดเป็นร้อยละ 0.36 เจตคติหรือค่านิยมคิดเป็นร้อยละ 0.24
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the study The main purpose of this study is to analyze the content of the lower secondary social studies education curriculum B.E. 2521. Using texts and teacher handbooks as the data resources the researcher tends to answer the four following questions which citizenship characteristics and how citizenship beheviors appear in the texts and the teacher handbooks; how many times and in what kinds of content they appear. The study procedures 1. The researcher studies citizenship characteristics in Thai society from texts, journals, thesises, researches and other publications, and has the study results considered by some social scienctist experts. 2. The researcher analyzes the social studies texts and teacher handbooks to find out the citizenship characteristics appearance under the given curriculum experts. 3. The researcher concludes the analysis results to findout the answers of the four main questions. The research results 1. The citizenship characteristics appear in all of the data resources for 830 times, as in Mathayomsuksa 1, 2 and 3 for 349, 203 and 278 times, or for 42.04, 24.45, and 33.49 in orderly percentage. 2. The first ten citizenship characteristics from the most to the last that appear in the data resources are having: responsibility; loyalty to the nation, religion and the King a democratic mind; realization and interest in political participation; and disciplinary practice; wisely use and reserve the public properties, resources and environments; sacrifice and keeping common good; constant self-consciousness; pround of being Thai; and searching for truth and knowledge. As being seen, the six from ten characteristics appear again in the first ten of each class as following : having responsibility; loyalty to the nation, religion and the King a democratic mind; realization and interest in political participation; orderly and disciplinary practice; sacrifice and keeping common good. 3. The time utilization characteristic appears only once in Mathayomsuksa 3, and also the good human relationship does in Mathayomsuksa 1. The spirit mind does not appear in any data resources. 4. The citizenship behaviros appears as for oneself, other people and the environments for 23.01, 24.81 and 52.16 in percentage. 5. The kinds of content which in the citizenship characteristics appear are as following: fact and ordinary knowledge for 57.71%, principles 26.02%, concepts 12.28%, creative thinking 0.48%, problem-solving thinking 2.89%, physical skills .36%, and attitudes and values for 0.24%.
dc.format.extent587799 bytes
dc.format.extent776262 bytes
dc.format.extent1419903 bytes
dc.format.extent459109 bytes
dc.format.extent1401781 bytes
dc.format.extent496352 bytes
dc.format.extent1795565 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการวิเคราะห์เนื้อหาหลักสูตรวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 เกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลเมืองดีen
dc.title.alternativeA content analysis of citizenship characteristics in the lower secondary social studies education curriculum B.E. 2521en
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasert_Ki_front.pdf574.02 kBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ki_ch1.pdf758.07 kBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ki_ch2.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ki_ch3.pdf448.35 kBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ki_ch4.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ki_ch5.pdf484.72 kBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ki_back.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.