Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23499
Title: การเตรียมเฟอร์ริกออกไซด์แกมมาที่มีผลึกเป็นรูปเข็ม จากสารละลายเฟอร์รัสซัลเฟต
Other Titles: Preration of acicular gamma - ferric oxide from ferrous sulphate solution
Authors: วิโรจน์ กมลเดชเดชา
Advisors: ฉัตรชัย สมศิริ
ชาคร จารุพิสิฐธร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมอนุภาคแมกฮีไมต์(γ -Fe₂O₃) ซึ่งเป็นอนุภาคแม่เหล็กที่สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสื่อบันทึกเสียง ขั้นตอนการเตรียมที่สำคัญที่สุด คือ การเตรียมอนุภาคเกอไทต์ (α-FeOOH) ที่มีรูปร่างเป็นเข็ม และมีขนาดอนุภาคเล็กว่า 1 ไมครอน (µm) ก่อนที่จะนำไปผ่านกรรมวิธีทางความร้อน เพื่อที่จะเปลี่ยนอนุภาคเกอไทต์ให้เป็นอนุภาคแมกฮีไมต์ การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์(NaOH) ทำปฏิกิริยากับสารละลาย เฟอร์รัสซัลเฟต (FeSO₄) และอากาศ ในการเตรียมอนุภาคเกอไทต์ที่มีผลึกเป็นรูปเข็ม โดยทำการศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต่างๆ ได้แก่อัตราส่วนโดยโมลระหว่างสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์กับสารละลายเฟอร์รัสซัลเฟต อุณหภูมิในการทำออกซิเดชั่น และ อัตราการพ่นอากาศต่อชนิด และขนาดของอนุภาคที่ได้ โดยพบว่าจะเกิดอนุภาคเกอไทต์ที่มีผลึกเป็นรูปเข็ม อัตราส่วนโดยโมลระหว่างสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์กับสารละลายเฟอร์รัสซัลเฟตมากกว่า 2 และจะมีรูปร่างเป็นเข็มมากขึ้น ถ้าอัตราส่วนโดยโมลดังกล่าวมีค่าสูงขึ้นในขณะที่การใช้อุณหภูมิในการทำออกซิเดชั่นสูงขึ้น มีผลให้ขนาดอนุภาคเกอไทต์ ใหญ่ขึ้น รวมทั้งมีโอกาสเกิดอนุภาคแมกนีไทต์ (Fe₃O₄) ซึ่งมีรูปร่างที่ไม่เป็นเข็มเพิ่มมากขึ้นด้วย สำหรับอัตราการพ่นอากาศนั้นไม่มีผลต่อชนิด และขนาดของอนุภาคที่ได้ โดยจะมีผลต่อเวลาที่ใช้ทำออกซิเดชั่นเท่านั้น กล่าวคือ เวลาที่ใช้ในการทำออกซิเดชั่นลดลงเมื่ออัตราการพ่นอากาศเพิ่มขึ้น ในขั้นตอนการกำจัดน้ำจากอนุภาคเกอไทต์ หากใช้อุณหภูมิต่ำกว่า 350 องศาเซลเซียส ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นไม่สมบูรณ์ กล่าวคือกำจัดน้ำออกจากอนุภาคเกอไทต์ไม่หมดและมีอนุภาคเกอไทต์หลงเหลืออยู่ในขั้นตอนการทำรีดักชั่นภายใต้บรรยากาศของไฮโดรเจนเพื่อให้ได้อนุภาคแมกนีไทต์ จากการทดลองพบว่าหากใช้อุณหภูมิสูงกว่า 350 องศาเซลเซียส จะได้สารอื่นที่ไม่ต้องการคือ วูฟส์ไทต์(FeO) กับ เหล็ก (Fe) เกิดขึ้น และในขั้นตอนสุดท้ายคือ ขั้นตอนการทำออกซิเดชั่น เพื่อเปลี่ยนแมกนีไทต์ เป็น γ-Fe₂O₃ นั้น หากใช้อุณหภูมิต่ำกว่า 250 องศาเซลเซียส ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะไม่สมบูรณ์ กล่าวคือ มีอนุภาคแมกนีไทต์เหลือ อนุภาคแมกฮีไมต์ที่สังเคราะห์ขึ้นจากการทดลองนี้ มีลักษณะ และ คุณสมบัติต่างๆ ใกล้เคียงกับ อนุภาคแมกฮีไมต์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ
Other Abstract: The objective of this research is to study optimum conditions for preparation acicular maghemite (γ-Fe₂O₃) which could be used as recording medium. An important step of preparation is the particles must be prepared from acicular goethite and the particle size must be smaller than 1 micron (µm). The particles have to gothrough in many steps of heat treatment in order to change them from goethite (α-FeOOH) to their final form, maghemite (γ-Fe₂O₃). In this experiment, NaOH-FeSO₄ solution was used to synthesize acicular goethite particles. Studies of the influences of various factors such as molar ratio of NaOH/ FeSO₄ oxidation temperature and oxidation temperature and oxidation rate on the particle phase and size were made. It was found that the acicular goethite particles would be prepared when the molar ratio of NaOH/ FeSO₄ were greater than 2 and the better acicular shape would be obtained by increasing the molar ratio of NaOH/ FeSO₄. Higher oxidation temperature would yield larger acicular goethite particles as well as increase a chance of precipitation of magnetite (Fe₃O₄) particles which is undesirable. The oxidation rate was found not to effect the particle phase and size but it influences the reaction time only. Effects of temperature on the particle phase in the heat treatment process were studied. It was found that the reaction of dehydration did not completed: there are some residue of acicular goethite particles: if the temperature was below 350 °C. During reduction, if the temperature above 350 °C. It may be occur other reaction which make we get some impurities (FeO and Fe). The final step of oxidation was carried out below 250 °C. The reaction may not have been completed in this step since there were some residue of magnetite Fe₃O₄ particles. However, it was found that the characteristics of maghemite (γ-Fe₂O₃) particles which were synthesized with suitable conditions in this experiment are equal to those of commercial grades.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโลหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23499
ISBN: 9746331434
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wirote_ka_front.pdf5.89 MBAdobe PDFView/Open
Wirote_ka_ch1.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Wirote_ka_ch2.pdf5.93 MBAdobe PDFView/Open
Wirote_ka_ch3.pdf2 MBAdobe PDFView/Open
Wirote_ka_ch4.pdf15.12 MBAdobe PDFView/Open
Wirote_ka_ch5.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open
Wirote_ka_ch6.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Wirote_ka_back.pdf7.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.