Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2359
Title: | แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุมชนตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี |
Other Titles: | Conservation and development guidelines for Talad Samchuk Community, Suphan Buri province |
Authors: | รุจ รัตนพาหุ, 2517- |
Advisors: | ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | kpinraj@chula.ac.th |
Subjects: | การพัฒนาชุมชน--ไทย--สามชุก (สุพรรณบุรี) สถาปัตยกรรมชุมชน--ไทย--สามชุก (สุพรรณบุรี) ตลาดสามชุก สามชุก (สุพรรณบุรี) |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ทราบถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์พื้นที่ วิวัฒนาการการตั้งถ่นฐาน รวมถึงลักษณะทางกายภาพของชุมชนย่านตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อศึกษาถึงคุณค่าความสำคัญของพื้นที่ ในการเสนอแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุมชนตลาดสามชุก เพื่อให้เกิดความสอดคล้องในการจัดการพื้นที่ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในอนาคต การศึกษาครั้งนี้ใช้กระบวนการศึกษาพื้นที่ด้วยการสังเกต สำรวจลักษณะทางกายภาพของกลุ่มอาคาร และสภาพแวดล้อมโดยรอบของพื้นที่ย่านตลาดสามชุก รวมถึงการสัมภาษณ์กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่ในย่านตลาดสามชุก เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาและวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า ย่านชุมชนตลาดสามชุกเป็นย่านการค้าเก่า ที่มีอายุการตั้งถิ่นฐานมาเป็นเวลากว่าหนึ่งร้อยปี ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ประกอบไปด้วยโครงสร้างชุมชนที่สำคัญสองส่วน ได้แก่ โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม อันได้แก่กลุ่มอาคารเรือนค้าขายพื้นถิ่น ที่เป็นอาคารก่อสร้างด้วยวัสดุประเภทไม้เป็นหลัก มีการเกาะกลุ่มรวมตัวเป็นย่านการค้าริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรีอย่างหนาแน่น อีกทั้งในปัจจุบันยังมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดมา นอกจากนี้โครงสร้างชุมชนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งได้แก่ คนในย่านชุมชนที่มีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบสังคมครอบครัวและสังคมการค้า ที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างมีลำดับและสามารถสืบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในย่าน ด้วยการบอกเล่าเรื่องรวมได้ชัดเจน จากสองสิ่งนี้ทำให้ชุมชนย่านตลาดสามชุก เป็นชุมชนการค้าที่มีเอกลักษณ์ทั้งในมิติทางสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ที่มีคุณค่า เหมาะสม ต่อการศึกษาเพื่อวางแนวทางในการจัดการทรัพยากรที่สำคัญในเกิดความสมดุล ต่อรูปแบบการพัฒนาของพื้นที่ในด้านกายภาพอื่นๆ ต่อไป ดังนั้นข้อเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุมชนตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการกำหนดแนวทางการส่งเสริมเอกลักษณ์ของพื้นที่ในด้านสังคมวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม รวมถึงการกำหนดมาตรการและความร่วมมือจากคนในท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐคือเทศบาลตำบลสามชุก สำหรับการวางกรอบการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ที่เหมาะสม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโอกาสต่อไป |
Other Abstract: | To study the history, evolution and all major physical characteristics of the Talad Samchuk commuity, Suphan buri province. The objective is to find the issues, or identities, of this site to propose a guidelines to conserve and develop the area of Talad Samchuk community as well as manage it in the future. In the study, the methodology of research is to observe and survey on architecture and surrounding in the area of Talad Samchuk. And interview the person who lives in this area to keep the importance data for study and analysis in next time. Analysis shows that Talad Samchuk community, Suphan buri province is set in the old town and it has evolved for more than one hundred years. Characteristics of the area can be divided into two importance factors. First, the surrounding architecture is composed of a group of old, traditional shop-houses. All are built of wood. Many are set on the banks of the Tachine River and have been in use continuously. The second important factor is the people in this community.They have lifestyles that blend both home and commerce. Both of these factors give Talad Samchuk community area are identity that combines social life, culture and many traditional values. Talad Samchuk community is these suitable to study and develop guideline to manage resources and a balance for the development of this area. These conservation and development guidelines for Talad Samchuk, Suphan buri province are necessary to support social and cultural identities of the area, as well as architecture and physical surroundings of the community area. The guidelines include management criteria for public participation and local administration. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2359 |
ISBN: | 9745316024 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.