Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23601
Title: | การศึกษาการใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตการศึกษา 1 |
Other Titles: | A study of utilization of science laboratories of secondary schools in educational region one |
Authors: | ทักษิณ ภูวสรรเพ็ชญ์ |
Advisors: | สุนทร ช่วงสุวนิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ห้องปฏิบัติการ วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ (1) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดต่างๆ สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 1 (2) เพื่อหาเกณฑ์ปกติของการใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 1 ค่าการใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ค่า คือ อัตราการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และอัตราการใช้พื้นที่ต่อนักเรียน ผู้วิจัยใช้ค่าการใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมตามเกณฑ์ของยูเนสโก คือ ร้อยละ 75 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสำรวจการใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยดัดแปลงจากแบบสำรวจการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของชุมศรี บุญสิทธิ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 1 จำนวนทั้งสิ้น 82 โรง ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. การใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 1 มีอัตราการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เท่ากับร้อยละ 75.09, 76.83 และ 63.29 ตามลำดับ และมีอัตราการใช้พื้นที่ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ต่อนักเรียน เท่ากับร้อยละ 118.61, 121.25 และ 87.40 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าการใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมของยูเนสโก เท่ากับร้อยละ 75 ปรากฏว่าโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ และขนาดกลาง มีอัตราการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สูงกว่าค่าการใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมของยูเนสโก ส่วนโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก มีอัตราการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ต่ำกว่าค่าการใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมของยูเนสโก สำหรับอัตราการใช้พื้นที่ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ต่อนักเรียน ปรากฏว่าโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด มีอัตราดังกล่าวสูงกว่าค่าการใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมของยูเนสโก 2.เกณฑ์ปกติของอัตราการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 1 มีค่าเท่ากับร้อยละ 71.33 ส่วนเกณฑ์ปกติของอัตราการใช้พื้นที่ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ต่อนักเรียน มีค่าเท่ากับร้อยละ 108.19 เมื่อเปรียบเทียบกับค่าการใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมของยูเนสโก เท่ากับร้อยละ 75 ปรากฏว่าเกณฑ์ปกติของอัตราการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 1 ต่ำกว่าค่าการใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมของยูเนสโก ส่วนเกณฑ์ปกติของอัตราการใช้พื้นที่ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ต่อนักเรียนสูงกว่าค่าการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมของยูเนสโก |
Other Abstract: | The purposes of this study were (1) to study the utilization of science laboratories of secondary schools with different enrolments of General Education Department in educational region one, (2) to find the normal expectancy of the utilization of science laboratories of secondary schools in educational region one. The utilization value of the laboratories were room utilization and space utilization, UNESCO standard criteria was 75 percent. In collecting data, the researcher used the Science Laboratory Survey Form which was modified from Choomsri Boonsit. The data gathered from eighty two -secondary schools in educational region one. The findings were as follows: 1. In educational region one, there were the percentage utilization rate of large, medium and small science laboratories was 75.09, 76.83 and 63.29 respectively. The percentage rate of apace utilization per student was 118.61, 121.25 and 87.40 respectively. When compared with the utilization value of science laboratories of UNESCO standard criteria was 75 percent, the percentage utilization rate of large and medium secondary schools was higher than UNESCO standard criteria. The percentage utilization rate of small secondary schools was lower than UNESCO standard criteria. The percentage rate of space utilization of science laboratories per student of secondary schools of all size was higher than UNESQO standard criteria. 2. The normal expectancy of science laboratories of secondary schools in educational region one was 71.33. The normal of space utilization per student was 108.19. The normal expectancy of the utilization of science laboratories was lower than UNESCO standard criteria. The normal expectancy of the percentage rate of space utilization of science laboratories per student was higher than UNESCO standard criteria. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23601 |
ISBN: | 9745665037 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thaksin_Ph_front.pdf | 546.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thaksin_Ph_ch1.pdf | 459.81 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thaksin_Ph_ch2.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thaksin_Ph_ch3.pdf | 315.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thaksin_Ph_ch4.pdf | 837.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thaksin_Ph_ch5.pdf | 563.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Thaksin_Ph_back.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.