Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23619
Title: ทัศนคติของนักศึกษามหาวิทยาลัยต่อสถานภาพสตรีในสังคมเมือง
Other Titles: University students' attitude towards urban women's status
Authors: ประสิทธิ์ ปุษยไพบูลย์
Advisors: อารง สุทธาศาสน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: นักศึกษา -- ทัศนคติ
สตรี -- ไทย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นการศึกษาถึงสถานภาพของสตรีในสังคมเมือง โดยศึกษาวิเคราะห์จากทัศนคติของนิสิตนักศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นทัศนคติต่อสถานภาพสตรีในสังคมเมืองปัจจุบัน โดยเน้นถึงสิทธิหน้าที่และสิทธิเสมอภาคระหว่างบุรุษและสตรีในสังคมเมือง ความมุ่งหมายในการศึกษาครั้งนี้ก็เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติของนิสิตนักศึกษาจากทั้งสองเพศว่ามีแนวโน้มการยอมรับในสถานภาพสตรีแตกต่างกันอย่างไร รวมทั้งเพื่อต้องการศึกษาวิเคราะห์ว่าพื้นฐานของครอบครัวของนิสิตนักศึกษาที่แตกต่างกัน ตลอดจนความแตกต่างในสาขาวิชาที่เรียนว่า จะมีผลต่อทัศนคติของนิสิตนักศึกษาต่อสิทธิสตรีแตกต่างกันหรือไม่ และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงแนวโน้มในอนาคตของสิทธิสตรี หรือสถานภาพและบทบาทหน้าที่ของสตรีในสังคมเมือง ว่าจะมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเช่นไร โดยใช้ทัศนคติของนิสิตนักศึกษาในปัจจุบันเป็นตัวบ่งชี้แนวโน้มในอนาคต จากผลการศึกษาวิเคราะห์ สรุปได้ว่า (1) นิสิตนักศึกษาชายให้ความสำคัญต่อสถานภาพสตรีน้อยกว่านิสิตนักศึกษา เพศหญิง คือ ร้อยละ 52.9 และ 73.7 ตามลำดับ (2) นิสิตนักศึกษาด้านสังคมศาสตร์ให้การยอมรับว่า ในปัจจุบันสถานภาพและบทบาทของสตรีมีเท่าเทียมกับบุรุษมากกว่านิสิตนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คือร้อยละ 19.8 และร้อยละ 12.1 ตามลำดับ ซึ่งนับเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย เพราะนิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่คิดว่าสตรียังด้อยกว่าบุรุษในหลาย ๆ ด้าน (3) นิสิตนักศึกษาที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อสิทธิเสมอภาคเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรีในลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งในระดับครอบครัวและระดับสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเป็นไปในลักษณะผกผัน คือ ยิ่งมีรายได้/รายจ่ายสูงขึ้น ก็จะยิ่งมีระดับความเชื่อว่า สตรีมีสิทธิเสมอภาคเท่าเทียมกับบุรุษลดน้อยลงเป็นลำดับ ๆ (4) นิสิตนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาเดิมมาจากต่างจังหวัดมีแนวโน้มทัศนคติต่อสถานภาพและบทบาทหน้าที่ของสตรีเป็นไปในทางลบ มากกว่านิสิตนักศึกษาที่เป็นคนอยู่ในกรุงเทพมหานคร ทัศนคติในทางลบดังกล่าวก็คือ การที่นิสิตนักศึกษามองเห็นว่าในปัจจุบันสตรีในสังคมเมืองยังคงมีสถานภาพและบทบาทหน้าที่ที่ยังด้อยกว่าบุรุษอยู่มาก ซึ่งได้แก่ การที่สตรีถูกห้ามไม่ให้ประพฤติปฏิบัติในบางสิ่งบางอย่าง การที่สตรีได้รับสิทธิเสมอภาคแต่เพียงเพราะด้านกฎหมายเท่านั้น และสตรีด้อยกว่าบุรุษในทุก ๆ ด้าน (5) นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมเช่นไร ต่างก็ต้องการสตรีในอุดมคติที่เป็นผู้ร่วมให้คำปรึกษาหารือและช่วยเหลือแก้ไขในปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับบุรุษ ทั้งในระดับครอบครัวและสังคม ซึ่งกล่าวโดยสรุปรวบยอดแล้ว ในปัจจุบันสตรีในสังคมเมืองยังคงได้รับสถานภาพและความเสมอภาคในลักษณะที่ด้อยกว่าบุรุษอยู่มาก แม้ทางกฎหมายจะระบุไว้อย่างชัดเจนว่า สตรีมีสิทธิเสมอภาคเท่าเทียมกับบุรุษในทุก ๆ ด้าน แต่โดยความเป็นจริงแล้วสังคมยังไม่เปิดโอกาสให้สตรีได้ใช้สิทธิเสมอภาคเท่าเทียมกับบุรุษอย่างแท้จริง สังคมยังคงกำหนดกรอบของพฤติกรรมและการปฏิบัติให้สตรีทำหรือไม่ให้ทำในบางสิ่งบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการคบชู้สู่ชาย หรือการมีสามีหลายคน หรือการแสดงพฤติกรรมส่อไปในลักษณะที่บ่งชี้ถึงการแสดงว่าได้มีความสัมพันธ์ทางเพศกับบุรุษอื่นที่มิใช่สามีของตน ในขณะที่สิ่งเหล่านี้บุรุษสามารถปฏิบัติได้โดยสังคมไม่คิดว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงนัก
Other Abstract: This study is on the women’s status in urban societies based on the attitudes or perceptions of students from Chulalongkorn University and Ramkamhaeng University on the status of women, their responsibilities and equality between men and women in urban societies. The aim of the study is to make a comparison between the attitudes of male and female students towards women’s status and the differences in attitudes due to family background and the fields of study of the respondents. The objective is to study the changes in the role of women and the trends in the development of the roles of women in the future societies, i.e., their status and responsibilities by using the attitudes of the University students as the basic indicator of those changes. Results of the study are as follows : (1) The male students attach less importance to women’s status than the female students, i.e., 52.9% of the male respondents do so as opposed to the 73.7% of the female respondents. (2) A greater number of social sciences students accept the equality of the role of men and women than the sciences students. That is 19.8% of the social sciences students as opposed to 12.1 of the sciences students. Noticeably however, the percentage share of the students of both fields who do accept women’s equality are still proportionally small and the majority of the students still think that the women are still in a more disadvantaged position than men in many ways. (3) Students from different social and economic backgrounds do have a difference in opinion in the role of women both in the family level and in the societal level. The belief that women have equal rights to men seem to diminish in relation to the level of income and expenditure, i.e., the higher the income the less the belief in women’s equality. (4) The respondents who come from provinces other than Bangkok appear to have a more negative attitudes towards the women’s role in society. That is these respondents believe that the status of women as well as the role they play in society are still much inferior to men. Women are not allowed to do a number of things and equality between men and women are only in legal terms and not in practice. (5) All the respondents irrespective of their social and economic backgrounds want to see the ideal women as women should be able to participate as actively as men in decision making both at the family level and at the broader societal level. In summary, the role and the status of women in society today are still much inferior to men. Despite the fact that the laws of the country clearly states that women have equal rights to men but in practice, society has not sufficiently opened up to allow women to enjoy such rights. In some aspects of life, social norms still determine what women could and could not do particularly, the issues of women’s relationship with men, as seen in the negative sanctions that society impose on women who are believed to have relationship with men before marriage Such conducts are however, quite accepted on men’s part.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23619
ISSN: 9745669806
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasit_Pu_front.pdf633.7 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Pu_ch1.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Prasit_Pu_ch2.pdf782.02 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Pu_ch3.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Prasit_Pu_ch4.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open
Prasit_Pu_ch5.pdf764.06 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Pu_back.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.