Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23704
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอมรชัย ตันติเมธ-
dc.contributor.authorมนูญ เอี่ยมวิลัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-10T09:22:02Z-
dc.date.available2012-11-10T09:22:02Z-
dc.date.issued2519-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23704-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษาในเขตการศึกษา 6 2. เพื่อศึกษาระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษาในเขตการศึกษา 6 3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษาในเขตการศึกษา 6 ระหว่างสังกัด อายุราชการและวุฒิทางครู สมมุติฐานในการวิจัย 1. ขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษาในเขตการศึกษา 6 แปรผันไปตามความรู้สึกของครูที่มีต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขวัญในการปฏิบัติงาน 2. ระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 6 อยู่ในระดับปานกลาง 3. ครูโรงเรียนประถมศึกษาในเขตการศึกษา 6 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด สังกัดกรมสามัญศึกษา และสังกัดเทศบาล มีความรู้สึกต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขวัญในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน 4. ครูโรงเรียนประถมศึกษาในเขตการศึกษา 6 ที่มีอายุราชการต่ำกว่า 5 1ปี อายุราชการ 5-10 ปี และอายุราชการมากกว่า 10 ปี มีความรู้สึกต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขวัญในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน 5. ครูโรงเรียนประถมศึกษาในเขตการศึกษา 6 ที่มีวุฒิปกส.หรือเทียบเท่า หรือต่ำกว่า ป.กศ.หรือไม่มีวุฒิทางครู วุฒิ ป.กศ.สูง หรือ พ.ม. หรือเทียบเท่า และวุฒิปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี มีความรู้สึกต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขวัญในการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย 1. กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครูโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 6 ในปีการศึกษา 2518 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 356 คน สังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน 178 คน และสังกัดเทศบาล จำนวน 175 คน รวมทั้งสิ้น 711 คน 2. การรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบถามที่ได้สร้างขึ้นไปสอบถามครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้รับสอบถามคืนและคัดเลือกแบบสอบถามที่สมบูรณ์มาใช้ในการวิเคราะห์ จำนวน 600 ชุด คิดเป็น 84.39% 3. การวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ให้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติ หาค่าคะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม โดยใช้ t-test สรุปผลการวิจัย 1. ครูโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 6 มีความรู้สึกต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขวัญในการปฏิบัติงานของครูอยู่ระดับสูง ได้แก่ ปัจจัยในเรื่องความรู้สึกภูมิใจและเห็นความสำคัญของงาน การระบุตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา และสถานภาพและการยอมรับนับถือ ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขวัญในการปฏิบัติงานที่ครูมีความรู้สึกอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ปัจจัยในเรื่องสวัสดิการในหน่วยงาน ความเพียงพอของรายได้จากการปฏิบัติงาน และสถานภาพการปฏิบัติงาน 2. ระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 6 อยู่ในระดับปานกลาง 3. สังกัดโรงเรียนครูโรงเรียนประถมศึกษาในเขตการศึกษา 6 มีผลทำให้ความรู้สึกของครูต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขวัญในการปฏิบัติงาน ในเรื่องนโยบายและการบริหาร การติดต่อสื่อข่าวสารอย่างเพียงพอ ความสามารถของผู้ร่วมงาน การระบุตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน ความมั่นคงในการทำงาน และความพึงพอใจในหน่วยงาน แตกต่างกัน 4. อายุราชการของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 6 โดยส่วนรวมไม่มีผลทำให้ความรู้สึกของครูต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขวัญในการปฏิบัติงาน ในเรื่องความเพียงพอของรายได้จากการปฏิบัติงาน ความเป็นมิตร และความร่วมมือของผู้ปฏิบัติงาน ความสามารถของผู้ร่วมงาน โอกาสก้าวหน้าและสวัสดิการในหน่วยงาน แตกต่างกัน 5. วุฒิของครูโรงเรียนประถมศึกษาในเขตการศึกษา 6 โดยส่วนรวม มีผลทำให้ความรู้สึกของครูต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขวัญในการปฏิบัติงาน ในปัจจัยเรื่องความความเป็นมิตรและความร่วมมือของผู้ปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา โอกาสก้าวหน้า การระบุตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานและความรู้สึกภูมิใจและเห็นความสำคัญของงานแตกต่างกัน-
dc.description.abstractalternativeTo 1. study factors influencing morale of elementary school teachers in Educational Region 6. 2. study morale level of elementary school teachers in Educational Region 6. 3. compare morale of elementary school teachers between organizations, years of teaching experience, and teaching professional qualifications. Hypotheses 1. The morale of elementary school teachers in Educational Region 6 vary with the feeling of teachers toward factors influencing morale. 2. The morale level of elementary school teachers in Educational Region 6 is average. 3. The elementary school teachers in Educational Region 6 who teach in Changwat Administrative Organization schools, Department of General Education schools, and municipal schools feel differently toward factors influencing morale. 4. The elementary school teachers in Educational Region 6 who have below 5 years, 5-10 years, and above 10 years of teaching experience feel differently toward factors influencing morale. 5. The elementary school teachers in Educational Region 6 who have different teaching professional qualifications feel differently toward factors influencing morale. Procedures The sample of this study was composed of seven hundred and eleven elementary school teachers in Educational Region 6 in the academic year of 1975. A questionnaire was sent to a sample of elementary school teachers and 84.39% of questionnaires were completed and returned. The analysis and reporting of data were conducted by using arithmetic mean, standard deviation, and t-test. Conclusions: 1. The feeling of elementary school teachers in Educational Region 6 toward factors influencing morale such as a feeling of pride and importance in the job, identification with the organization, super- visory-employee relations, status and recognition were rather high. Factors influencing teachers’ morale such as employee benefits, pay, and working conditions were rather low. 2. The morale level of the elementary school teachers in Educa¬tional Region 6 was average 4 3. The schools under the auspices of the Department of General Education, Changwat Administrative Organization, and Municipality caused the elementary school teachers' feeling to be different toward factors influencing morale such as policy and administration, adequacy of communication, competence of colleagues, identification with the organization, security of job, and organization satisfaction. 4. The amount of years in teaching experience did not cause the elementary school teachers' feeling to be different toward factors influencing morale such as pay, friendliness and cooperation of employees, competence of colleagues, chances for growth and advancement, and employee benefits. 5. The teaching professional qualifications caused the elementary school teachers' feeling to differ in factors influencing morale such as friendliness and cooperation of employees, supervisory-employee relations, chances for growth and advancement, identification with organization, and a feeling or pride and importance in the job.-
dc.format.extent573803 bytes-
dc.format.extent601330 bytes-
dc.format.extent1582646 bytes-
dc.format.extent640452 bytes-
dc.format.extent2285980 bytes-
dc.format.extent754940 bytes-
dc.format.extent968845 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectขวัญในการทำงาน-
dc.subjectครูประถมศึกษา-
dc.subjectEmployee morale-
dc.subjectElementary school teachers-
dc.titleขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 6en
dc.title.alternativeMorale of elementary school teachers in educational region 6en
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Manoon_Ia_front.pdf560.35 kBAdobe PDFView/Open
Manoon_Ia_ch1.pdf587.24 kBAdobe PDFView/Open
Manoon_Ia_ch2.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Manoon_Ia_ch3.pdf625.44 kBAdobe PDFView/Open
Manoon_Ia_ch4.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open
Manoon_Ia_ch5.pdf737.25 kBAdobe PDFView/Open
Manoon_Ia_back.pdf946.14 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.