Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23734
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศักดิ์สิทธิ์ นิยมวิทย์
dc.contributor.advisorบุญยง ทิพยโส
dc.contributor.authorเยาวพา ศิริโชติ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-10T16:18:25Z
dc.date.available2012-11-10T16:18:25Z
dc.date.issued2525
dc.identifier.isbn9745610127
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23734
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractในปัจจุบันทางหลวงหมายเลข 4083 (สงขลา–นครศรีธรรมราช) ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ประชาชนจึงนิยมใช้เส้นทางสายนี้มากขึ้นทุกปีเพราะย่นระยะทางระหว่าง สงขลา–นครศรีธรรมราชได้ประมาณ 65 กิโลเมตร และมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้เส้นทางสายเก่า แต่การใช้ทางหลวง หมายเลข 4083 จำเป็น ต้องใช้แพขนานยนต์ของกรมทางหลวงในการข้ามทะเลสาบสงขลา ซึ่งปริมาณของแพขนานยนต์ไม่เพียงพอกับความต้องการ ผู้ใช้ยานพาหนะจะต้องรอคอยเป็นเวลานานจึงทำให้เกิดการคับคั่งบริเวณแพขนานยนต์ กรมทางหลวงเห็นว่าการเพิ่มแพขนานยนต์ให้มากขึ้นนั้นเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและไม่คุ้มค่าในการลงทุน เนื่องจากค่าลงทุนสำหรับแพขนานยนต์และค่าใช้จ่ายประจำสูงมาก การบริการไม่สามารถทำได้ตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง และยังไม่มีความปลอดภัยเพียงพอแก่ผู้โดยสารอีกด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นแก้ปัญหาระยะยาว กรมทางหลวงจึงพิจารณาโครงการสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารพัฒนาเอเชียให้กู้เงินสำหรับค่าก่อสร้างบางส่วน โครงการนี้จะเสริมรับกับโครงการท่าเรือน้ำลึกสงขลาที่จะก่อสร้างเร็วๆ นี้ เพื่อขนถ่ายสินค้าเข้าออกระหว่างประเทศ จึงทำให้ปริมาณยานพาหนะที่ต้องการข้ามทะเลาสาบเพิ่มมากขึ้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการลงทุนโครงการสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบว่าโครงการนี้เหมาะสมแก่การลงทุนเพียงใด เมื่อพิจารณาในด้านรัฐบาลและด้านเอกชน ทางด้านรัฐบาลได้วิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจต่อจากที่ กรมทางหลวงได้วิเคราะห์ไว้แล้ว ซึ่งจะใช้ตัวเลขต้นทุนและผลประโยชน์ที่กรมทางหลวงได้ประเมินไว้ โดยเพิ่มต้นทุนการก่อสร้างบางรายการซึ่งมิได้รวมอยู่ในรายการต้นทุนที่วิเคราะห์โดยกรมทางหลวง ทั้งนี้เพื่อให้การวิเคราะห์มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และได้วิเคราะห์ทางด้านการเงินเพิ่มเติม โดยสมมุติให้กรมทางหลวงเรียกเก็บค่าธรรมเนียมผ่านสะพานด้วย เพื่อศึกษาว่าควรจะกำหนดเป็นอัตราเท่าใดสำหรับยานพาหนะแต่ละประเภท จึงจะทำให้โครงการมีรายได้ชดเชยกับรายจ่ายที่เกิดขึ้น โดยแยกพิจารณาเป็น 3 กรณีคือ กรณีที่หนึ่งให้เรียกเก็บค่าผ่านสะพานเป็นอัตราเดียวกับที่แพขนานยนต์เรียกเก็บในปัจจุบัน กรณีที่สองให้เก็บค่าผ่านสะพานในอัตราที่ทำให้โครงการมีรายได้เพียงพอกับรายจ่ายที่เกิดขึ้น ยกเว้นค่าลงทุนส่วนที่เกินจากเงินกู้ซึ่งรัฐบาลจะต้องช่วยเหลือ และกรณีที่สามให้เก็บค่าผ่านสะพานในอัตราที่ทำให้โครงการมีรายได้เพียงพอกับรายจ่ายทั้งหมด โดยสามารถจ่ายคืนค่าลงทุนส่วนที่เกินจากเงินกู้ซึ่งรัฐบาลออกให้ก่อน และในแต่ละกรณีนั้นได้ศึกษาถึงการแสดงผลการดำเนินงานตลอดอายุของโครงการ ความต้องการเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลและระยะเวลาคืนทุนของโครงการ ส่วนทางด้านเอกชนเช่นนั้นได้วิเคราะห์ทางด้านการเงินเพียงอย่างเดียว ซึ่งสมมุติให้เก็บค่าผ่านสะพานในอัตราที่ทำให้โครงการมีกำไรจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ่นอย่างต่ำที่สุด เท่ากับค่าเสียโอกาสของเงินทุนที่ควรจะได้รับเมื่อนำเงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล และได้ศึกษาถึงผลการดำเนินงาน ระยะเวลาคืนทุน และอัตราผลตอบแทนของโครงการ ผลสรุป ปรากฏว่าการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจรัฐบาลสมควรที่จะลงทุน เนื่องจากผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่สังคมส่วนรวมจะมีมากกว่าต้นทุนที่สังคมส่วนรวมสูญเสียไป ส่วนการวิเคราะห์ทางด้านการเงินนั้น ทั้งรัฐบาลและเอกชนไม่เหมาะสมที่จะลงทุน ( เมื่อพิจารณาตามอัตราค่าธรรมเนียมผ่านสะพานที่ผู้เขียนได้คำนวณไว้) ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่ของระยะเวลาคืนทุนหรืออัตราผลตอบแทนก็ตาม ทั้งนี้เพราะการวิเคราะห์ทางด้านการเงินนั้นมิได้รายงานผลประโยชน์ที่ยากแก่การตีค่าในรูปของตัวเงิน เช่น มูลค่าประหยัดเวลาของผู้โดยสาร มูลค่าประหยัดเวลาของยานพาหนะ ฯลฯ ที่จะเกิดขึ้นภายหลังก่อนสร้างโครงการรวมเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ ซึ่งการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจนั้นได้คำนึงถึงรายการดังกล่าวนี้ด้วย
dc.description.abstractalternativeAt present the highway construction route number 4083 (Songkhla-Nakomsrithammarat) has been completed. The number of people using this route has been increasing yearly because it shortens the distance between Songkhla and Nakornsrithammarat by sixty five kilometers and it is safer than the other route. Unfortunately in taking the route number 4083 one has to cross Songkhla Lake by ferries of the Department of Highways whose number is quite limited thus there is quite a long wait for the ferry service which results in traffic congestion in that area. The Department of Highways has taken this point into consideration and come to the conclusion that increasing the number of ferries is only a short term solution and it is not worth-while since the ferry cost of investment and operating cost are so high while the service can not be given throughout 24 hours and it is also not safe for the vehicles and the passengers. In Order to solve the problems in the long run the Songkhla Bridge project has been considered by the Department of Highways. This project will be financed partly by the Asian Development Bank and it will complement the facility of the deep sea port which will be under construction soon for import and export promotion. After the completion of the deep sea port greater number of vehicles crossing Songkhla lake can be expected. The objective of this thesis is to study the basis for consideration of investment in the Songkhla Bridge project firstly as a governmental and secondly as a private project. As a governmental project, economic analysis o has been made further than that which has been analyzed by the Department of Highways. The cost and benefit data evaluated by the Department of Highways are used in this analysis, what has been added to the already available data is some items in construction cost which have not been included in the cost of construction by the Department of Highways, this was done in order to make the whole picture complete. A financial analysis was also made with an assumption that the Department of Highways collect fees from people using the bridge crossing Songkhla Lake. The aim of the thesis is to find out at which rates the fees should be collected by the Department of Highways for various kinds of vehicles in order to break even. The study was made on three cases, namely : firstly collecting fees at the present ferry rate, secondly collecting fees in order to break even and the government will pay subsidy for the investment cost which exceeds the loan by the Asian Development Bank, and thirdly collecting fees in order to break even and the government will not pay any subsidy. In each case the result of the operation throughout the life of the project, needs for a subsidy from the government and the payback period of the project are studied. As a private project the analysis was made only on the financial aspect with an assumption that this business will collect fees at the rate which would enable the business to pay dividend at least equal to the rate of the government bond. An emphasis was made on the income statement, payback period and internal rate of return of the project. It can be concluded from the study that the government should invest in the project, considering from the economic analysis since the benefits are greater than the costs to the society. As for financial analysis both the government and private sector should not invest in this project because it is not feasible (when considering at the determined rate) whether considering on payback period or on internal rate of return. This is due to the fact that in financial analysis we do not include those items which are difficult to quantify in money term such as time-saving of the passengers, time-saving of the vehicles while these items will be included in economic analysis.
dc.format.extent540806 bytes
dc.format.extent411361 bytes
dc.format.extent714427 bytes
dc.format.extent547101 bytes
dc.format.extent608669 bytes
dc.format.extent840451 bytes
dc.format.extent1992095 bytes
dc.format.extent412585 bytes
dc.format.extent1487374 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการลงทุนโครงการสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาen
dc.title.alternativeBasic for consideration of investment in Songkhla bridge projecten
dc.typeThesises
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบัญชีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yaowapa_Si_front.pdf528.13 kBAdobe PDFView/Open
Yaowapa_Si_ch1.pdf401.72 kBAdobe PDFView/Open
Yaowapa_Si_ch2.pdf697.68 kBAdobe PDFView/Open
Yaowapa_Si_ch3.pdf534.28 kBAdobe PDFView/Open
Yaowapa_Si_ch4.pdf594.4 kBAdobe PDFView/Open
Yaowapa_Si_ch5.pdf820.75 kBAdobe PDFView/Open
Yaowapa_Si_ch6.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
Yaowapa_Si_ch7.pdf402.92 kBAdobe PDFView/Open
Yaowapa_Si_back.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.