Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23738
Title: การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับจรรยามารยาไทยบางประการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มาจากครอบครัวที่มีวิถีชีวิตแตกต่างกัน
Other Titles: A comparison of opinions concerning some aspects of Thai etiquette of upper secondary school students from families with different ways of life
Authors: เยาวรัช บุญชัย
Advisors: วลัย อารุณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับจรรยามารยาทไทยบางประการของนัก เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มาจากครอบครัวที่มีวิถีชีวิตแตกต่างกันในเขตการศึกษา 1 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับจรรยามารยาทไทยบางประการของนัก เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มาจากครอบครัวที่มีวิถีชีวิตแตกต่างกันในเขตการศึกษา 1 วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนรัฐบาล 20 แห่ง ในเขตการศึกษา 1 จำนวน 361 คน ที่คัดเลือกตามลักษณะวิถีชีวิตครอบครัวจากนัก เรียน 800 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้น (Multi-stage Random Sampling) ซึ่งผู้วิจัยใช้เทคนิคการทำให้เกิดความแปรปรวนอย่างเป็นระบบสูงสุด (Maximized Systematic Variance) ในการคัดเลือกและแบ่งกลุ่มนัก เรียนออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ นักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีวิถีชีวิตแบบอนุรักษ์นิยมจำนวน 197 คน และนัก เรียนที่มาจากครอบครัวที่มีวิถีชีวิตแบบสมัยใหม่จำนวน 164 คน ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามความคิด เห็นเกี่ยวกับจรรยามารยาทไทย เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่าจำนวน 40 ข้อที่ครอบคลุมจรรยามารยาททางกาย 7 ด้าน และจรรยามารยาททางวาจา 7 ด้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t-test) แล้วนำเสนอในรูปตารางและความ เรียง สรุปผลการวิจัย 1. นัก เรียนที่มาจากครอบครัวที่มีวิถีชีวิตแบบอนุรักษ์นิยม และนัก เรียนที่มาจากครอบครัวที่มีวิถีชีวิตแบบสมัยใหม่ เห็นด้วยกับจรรยามารยาทไทยทางกายทั้ง 7 ด้าน คือการเข้าพบผู้ใหญ่ การเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท การยืน การเดิน การแสดงความเคารพ การนั่ง และการส่งและรับของจากผู้ใหญ่ 2. นัก เรียนที่มาจากครอบครัวที่มีวิถีชีวิตแบบอนุรักษ์นิยม และนัก เรียนที่มาจากครอบครัวที่มีวิถีชีวิตแบบสมัยใหม่ ไม่แน่ใจกับจรรยามารยาทไทยทางวาจา 1 ด้าน คือ การไม่กล่าววาจาเท็จและเห็นด้วยกับจรรยามารยาทไทยทางวาจา 6 ด้าน คือ การไม่กล่าวคำหยาบคายหรือไม่สุภาพ การแสคงความคิด เห็น การ เป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดี การกล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ และลงท้ายคาดว่าครับ ค่ะ การสำรวมวาจา การไม่ใช้วาจายุยง 3. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับจรรยามารยาททางกายระหว่างนักเรียน ที่มาจากครอบครัวที่มีวิถีชีวิตแบบอนุรักษ์นิยม และนัก เรียนที่มาจากครอบครัวที่มีวิถีชีวิตแบบสมัยใหม่ ปรากฏว่านักเรียนทั้งสองกลุ่มมีความคิด เห็นแตกด่างกันในด้านจรรยามารยาทไทยทางกายทั้ง 7 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับจรรยามารยาททางวาจาระหว่างนักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีวิถีชีวิตแบบอบุรักษ์นิยม และนัก เรียนที่มาจากครอบครัวที่มีวิถีชีวิตแบบสมัยใหม่ ปรากฏว่านักเรียนทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกันในด้านจรรยามารยาทไทยทางวาจาทั้ง 7 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: Purposes: 1. To study the opinions concerning some aspects of Thai etiquette of upper secondary school students from families with different ways of life in educational region one. 2. To compare the opinions concerning some aspects of Thai etiquette of upper secondary school students from families with different ways of life in educational region one. Procedures: The samples of this study were 361 out of 800 Muthayom suksa six students formerly selected by multi-stage random sampling from 20 government secondary schools which were identified and categorized by Maximized Systematic Variance Technique into 2 groups of different family ways of life: 197 students from families conservative way of life and 164 students from families with modern way of life. The rating scale opinionnaire comprising forty items on seven Thai lion-verbal etiquettes and seven Thai verbal etiquettes was conducted by the researcher, and sent to the two selected sample groups. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation t-test, and presented in tables with description. Conclusions : The results of the study were as follows: 1. The students from families with conservative way of life and the students from families with modern way of life agreed with seven aspects of Thai non-verbal etiquettes namely: paying courtesy to elderly people, paying royal courtesy call, standing, walking, paying respect, sitting, handling things to and receiving things from adults. 2. The students from families-with modern way of life expressed uncertain opinions on Thai verbal etiquettes in the aspect of not telling lies and agreed with aspects of Thai verbal etiquettes namely not speaking impolite word, expressing opinions, being good speakers and good listeners, saying thanks, apology and ending the expression with Khrub, Kah, speaking with propriety and not speaking to encite someone bad. 3.On comparing the opinions of the students from families with conservative way of life and the students from families with modern way of-life concerning seven aspects of Thai non-verbal etiquette, it appeared to be different at the .05 level of significance. 4. On comparing the opinions of the students from families with conservative way of life and the students from families with modern way of life concerning seven aspects of Thai verbal etiquette, it appeared to be different at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23738
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yavarat_Bo_front.pdf436.5 kBAdobe PDFView/Open
Yavarat_Bo_ch1.pdf494.4 kBAdobe PDFView/Open
Yavarat_Bo_ch2.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Yavarat_Bo_ch3.pdf341.5 kBAdobe PDFView/Open
Yavarat_Bo_ch4.pdf522.01 kBAdobe PDFView/Open
Yavarat_Bo_ch5.pdf793.92 kBAdobe PDFView/Open
Yavarat_Bo_back.pdf780.34 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.