Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24065
Title: การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูวิทยาศาสตร์ ครูวัดผล และผู้บริหาร เกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการประเมินผลการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: A comparison of opinions of science teachers, evaluation teachers and administrators concerning problems and giudelines in solving science instructional evaluation problems in upper secondary schools
Authors: สรยุทธ สืบแสงอินทร์
Advisors: จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การวัดผลทางการศึกษา
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูวิทยาศาสตร์ ครูวัดผล และผู้บริหาร เกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการประเมินผลการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ใน 3 ด้านคือ การปฏิบัติตามระเบียบการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ด้านการสร้างข้อสอบ และด้านวิธีดำเนินการวัดผลในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 180 คน ครูวัดผล จำนวน 99 คน และผู้บริหาร จำนวน 76 คน ซึ่งสุ่มแบบแบ่งชั้นจากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวอย่างประชากรครูวิทยาศาสตร์ ครูวัดผล และผู้บริหาร มีความคิดเห็นโดยเฉลี่ยสอดคล้องกันว่า ปัญหาการประเมินผลการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ในแต่ละด้าน มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาในด้านการปฏิบัติตามระเบียบการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ที่ตัวอย่างประชากรทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นว่าเป็นปัญหาในระดับมาก มี 5 ปัญหา จากจำนวน 16 ปัญหา คือ 1) การประเมินผลก่อนเรียน เพื่อศึกษาความรู้เดิมของนักเรียน ยังได้รับการปฏิบัติค่อยข้างน้อย 2) มีความยุ่งยากในการสอนซ่อมเสริม สำหรับนักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนการประเมินผลระหว่างภาคเรียน เพื่อการสอบแก้ตัว 3) การที่ไม่ได้กำหนดจำนวนครั้งให้นักเรียนสอบแก้ตัวหลังการประเมินผลปลายภาคเรียน ทำให้นักเรียนขาดความสนใจและความรับผิดชอบ ในการสอบแก้ตัว 4) นักเรียนที่ได้ผลการเรียน “0” “ร” “มส” มากกว่า 1 รายวิชา ในรายวิชาที่ต่อเนื่องกัน แล้วจะเรียนรายวิชาต่อไปไม่ได้ 5) มีปัญหาในการโอนผลการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพ สำหรับนักเรียนที่ย้ายสถานศึกษา เนื่องจากโรงเรียนจัดลำดับเรื่องในการสอนไม่ตรงกัน สำหรับปัญหาในด้านการสร้างข้อสอบ ที่ตัวอย่างประชากรทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นว่า เป็นปัญหาในระดับมาก มี 2 ปัญหา จากจำนวน 9 ปัญหา คือ 1) ครูส่วนใหญ่ไม่ได้ทำการสร้างตารางวิเคราะห์เนื้อหาและพฤติกรรมในการออกข้อสอบแต่ละครั้ง 2) ข้อสอบที่วัดพฤติกรรมด้านความเข้าใจ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนนั้น สร้างยาก สำหรับปัญหาในด้านวิธีดำเนินการวัดผล ที่ตัวอย่างประชากรทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นว่า เป็นปัญหาในระดับมาก มี 2 ปัญหา จากจำนวน 5 ปัญหา คือ 1) นักเรียนขาดความสนใจมาสอบซ่อมในจุดประสงค์ที่ไม่ผ่าน ตามกำหนดเวลาที่นัดหมาย 2) การวัดผลจากการสังเกต ทำได้ยากและไม่ทั่วถึง เพราะนักเรียนในแต่ละห้องมีจำนวนมากเกินไป 2. ตัวอย่างประชากรครูวิทยาศาสตร์ ครูวัดผล และผู้บริหาร มีความคิดเห็นโดยเฉลี่ยสอดคล้องกันคือ เห็นด้วย กับแนวทางการแก้ปัญหาที่เสนอไว้ในแต่ละด้าน โดยตัวอย่างประชากรทั้ง 3 กลุ่ม เห็นด้วยกับแนวทางการแก้ปัญหาที่เสนอไว้ในด้านการปฏิบัติตามระเบียบการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 21 แนวทาง จากจำนวน 37 แนวทาง ในด้านการสร้างข้อสอบ 13 แนวทาง จากจำนวน 16 แนวทาง และในด้านวิธีดำเนินการวัดผล 7 แนวทาง จากจำนวน 11 แนวทาง 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของตัวอย่างประชากรครูวิทยาศาสตร์ ครูวัดผล และผู้บริหาร เกี่ยวกับปัญหาการประเมินผลการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในแต่ละด้านคือ ด้านการปฏิบัติตามระเบียบการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ด้านการสร้างข้อสอบ และด้านวิธีดำเนินการวัดผล โดยเฉลี่ย พบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้ง 3 ด้าน สำหรับผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของตัวอย่างประชากรทั้ง 3 กลุ่ม เกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาการประเมินผลการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ในด้านต่าง ๆ ทั้ง 3 ด้าน ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น พบว่า 1) ในด้านการปฏิบัติตามระเบียบการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ตัวอย่างประชากรครูวิทยาศาสตร์กับครูวัดผล มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และตัวอย่างประชากรครูวิทยาศาสตร์กับผู้บริหาร มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนครูวัดผลและผู้บริหาร มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ในด้านการสร้างข้อสอบ ตัวอย่างประชากรครูวิทยาศาสตร์และครูวัดผล มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ความคิดเห็นของตัวอย่างประชากรกลุ่มอื่น ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ในด้านวิธีดำเนินการวัดผล ตัวอย่างประชากรทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: The purposes of this research were to study and compare the opinions of science teachers, evaluation teachers and administrators concerning problems and guidelines in solving science instructional evaluation problems in three aspects: following the evaluation regulation of B.E.2524 upper secondary education curriculum, test construction and measurement administration in upper secondary schools. The samples of this study were 180 science teachers, 99 evaluation teachers and 76 administrators which were stratified randomly sampled from the upper secondary schools under the General Education Department of Ministry of Education in Bangkok Metropolis. The research instrument was questionnaire which was constructed by the researcher. The data were analyzed by means of percentage, arithemetic mean, standard deviation, one-way analysis of variance and Scheffe test. The research finding were concluded as follows: 1.Science teachers, evaluation teachers and administrators agreed that the science instructional evaluation problems in each aspect was at the moderate level. In the aspect of following the evaluation regulation of B.E.2524 upper secondary education curriculum, there were 5 out of 16 problems which all groups of samples agreed that they were problems at the high level. These problems were as follows: 1) The preassessment to study the students’ foundation knowledge was seldom practiced. 2) There was difficulty in arranging remedial teaching for the students who had scored lower than a half of formative evaluation’s score to retake the examination. 3) The unlimited number of time for the students to retake the final examination made students uninterested and irresponsible in retaking the examination. 4) Student having the results of learning “0” (=Fail), “I” (=Incomplete) and “UE” (=Unqualified for the final examination (less than 80% attendance)) more than one connection subjects, could not register the higher level subject. 5) There were problems in transferring the results of learning the Physical-Biological Science from one school to another because each school arranged the sequence of content differently. In the aspect of test construction, there were 2 out of 9 problems which all groups of samples agreed that they were problems at the high level. These problems were as follows: 1) Most of the teachers did not construct the table of content and behavior specification when they constructed the test items. 2) The tests which measure comprehension, science process skills and knowledge application behaviors of the students were difficult to construct. In the aspect of measurement administration, there were 2 out of 5 problems which all groups of samples agreed that they were problems at the high level. These problems were as follows: 1) Students were not interested in retaking the examination on the learning objectives which they failed at the appointment time. 2) The measurement by observation was difficult and not throughout because there were son many students in each classroom. 2. Science teachers, evaluation teachers and administrators agreed with guidelines in solving problems which were presented in each aspect. They agreed with 21 out of 37 guidelines in solving problems in the aspect of following the evaluation regulation of B.E.2524 upper secondary education curriculum, 13 out of 16 guidelines in the aspect of test construction and 7 out of 11 guidelines in the aspect of measurement administration. 3. The opinions of science teachers, evaluation teachers and administrators concerning science instructional evaluation problems in the aspect of following the evaluation regulation of B.E.2524 upper secondary education curriculum, test construction and measurement administration, were not significantly different at the 0.05 level. In comparing the opinions of samples concerning guidelines i9n solving science instructional evaluation problems, it was founded: 1) In the aspect of following the evaluation regulation of B.E.2524 upper secondary education curriculum, the opinions of science teachers and evaluation teachers were significantly different at the 0.01 level, and the opinions of science teachers and administrators were also significantly different at the 0.01 level, but the opinions of evaluation teachers and administrators were not significantly different at the 0.05 level. 2) In the aspect of test construction, the opinions of science teachers and evaluation teachers were significantly different at the 0.05 level, but the opinions of other groups of samples were not significantly different at the 0.05 level. 3) The opinions of science teachers, evaluation teachers and administrators concerning the measurement administration were not significantly different at the 0.05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24065
ISBN: 9745671282
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sorayuth_su_front.pdf8.18 MBAdobe PDFView/Open
Sorayuth_su_ch1.pdf5.17 MBAdobe PDFView/Open
Sorayuth_su_ch2.pdf24.86 MBAdobe PDFView/Open
Sorayuth_su_ch3.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open
Sorayuth_su_ch4.pdf30.25 MBAdobe PDFView/Open
Sorayuth_su_ch5.pdf16.25 MBAdobe PDFView/Open
Sorayuth_su_back.pdf12.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.