Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24087
Title: การนำเสนอเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตการศึกษา 9
Other Titles: A proposed performance evaluation criteria for teachers of the secondary school in education region nine
Authors: ประเสริฐ บัณฑิศักดิ์
Advisors: ณัฐนิภา คุปรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อนำเสนอเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตการศึกษา 9 วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรคือ ข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตการศึกษา 9 จำแนกได้ 3 ฝ่ายคือ ข้าราชการครูฝ่ายบริหาร ข้าราชการครูฝ่ายปฏิบัติการสอน และข้าราชการครูฝ่ายสนับสนุนการสอน กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ใช้สัมภาษณ์ในขั้นศึกษาสภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตการศึกษา 9 มีจำนวน 75 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีหลายขั้นตอน จำแนกเป็นข้าราชการครูฝ่ายบริหาร 13 คน ข้าราชการครูฝ่ายปฏิบัติการสอน 42 คน และข้าราชการครูฝ่ายสนับสนุนการสอน 20 คน กลุ่มที่ 2 ใช้ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับรายการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดา มีจำนวนทั้งหมด 865 คน จำแนกเป็นข้าราชการครูฝ่ายบริหาร 226 คน ข้าราชการครูฝ่ายปฏิบัติการสอน 361 คน และข้าราชการครูฝ่ายสนับสนุนการสอน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบสัมภาษณ์ ใช้สำหรับกลุ่มตัวอย่างประชากรกลุ่มที่ 1 2. แบบสอบถามความคิดเห็น ใช้สำหรับกลุ่มตัวอย่างประชากรกลุ่มที่ 2 โดยแบ่งเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นข้าราชการครูฝ่ายบริหาร แบบสอบถามความคิดเห็นข้าราชการครูฝ่ายปฏิบัติการสอน และแบบสอบถามความคิดเห็นข้าราชการครูฝ่ายสนับสนุนการสอน แบบสอบถามข้าราชการครูแต่ละฝ่ายแบ่งเป็น สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นต่อรายการประเมินผลการปฏิบัติงาน ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตการศึกษา 9 ผู้วิจัยศึกษาหนาที่และความรับผิดชอบของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาแต่ละฝ่ายจากพรรณนางาน แล้วสร้างแบบสัมภาษณ์และศึกษาลำดับความสำคัญของหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ข้าราชการครูได้ปฏิบัติจริง ภารกิจนอกเหนือจากพรรณนางาน ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน คุณลักษณะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และความคิดเห็นเกี่ยวกับรายการที่ควรนำมาประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครู ขั้นที่ 2 สร้างรายการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ทั้ง 3 ฝ่าย โดยแบ่งเป็น ก. รายการประเมินผลการปฏิบัติงานในหน้าที่และความรับผิดชอบ ข. รายการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและการสนองนโยบายรัฐบาล ค. รายการประเมินคุณลักษณะของข้าราชการครู ขั้นที่ 3 สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรายการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า ขั้นที่ 4 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยทางไปรษณีย์ ขั้นที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลจากการสัมภาษณ์วิเคราะห์โดยการจัดหมวดหมู่ตามลำดับความสำคัญ ข้อมูลจากแบบสอบถามวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical package for the Social Sciences) หาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สัมประสิทธิแห่งการกระจาย (C.V.) และสัมประสิทธิ์แห่งความเชื่อมั่น (∝) สรุปผลการวิจัย ข้าราชการครูในกลุ่มตัวอย่างประชากรมีความคิดเห็นในระดับที่เห็นด้วยมากและเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะให้นำรายการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทุกรายการประเมินไปใช้ประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้วิจัยรวบรวมรายการประเมินดังกล่าวเสนอเป็นเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูฝ่ายบริหาร เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูฝ่ายปฏิบัติการสอน และเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูฝ่ายสนับสนุนการสอน โดยที่เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูแต่ละฝ่ายแบ่งเป็น เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงานในหน้าที่และความรับผิดชอบ เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและการสนองนโยบายรัฐบาล เกณฑ์ประเมินคุณลักษณะของข้าราชการครู เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูทั้ง 3 ฝ่ายที่ผู้วิจัยนำเสนอมีค่าสัมประสิทธิ์แห่งความเชื่อมั่น (∝) มากกว่า 0.80 หรือมีความเชื่อมั่นในระดับสูงมาก ในการใช้เกณฑ์ดังกล่าวประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ผู้วิจัยได้กำหนดน้ำหนักคะแนนของเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงานในหน้าที่และความรับผิดชอบ 50 คะแนน เกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและการสนองนโยบายรัฐบาล 30 คะแนน เกณฑ์ประเมินคุณลักษณะของข้าราชการครู 20 คะแนน และเสนอแนะให้ทำการประเมินปีละ 2 ครั้ง โดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าหมวดวิชา หัวหน้างาน
Other Abstract: Purpose: To propose a performance evaluation criteria for teachers of the secondary school in Education Region Nine. Research Methodology: The population using in this study consisted of administrative personnel, teaching personnel, and supporting personnel of the secondary schools in Educational Region Nine. The samples of the study consisted of 2 groups as follows: 1. The first group used for the stage of studying the performance situation of teachers in the secondary schools, included 75 persons: 13 administrative personnel, 42 teaching personnel, and 20 supporting personnel, selected by mulit-stage sampling method. 2. The second group was used for the stage of studying the opinions of the secondary school teachers on the performance evaluation items constructed by the researcher, and on actual performance evaluation. This group included 226 administrative personnel, 361 teaching personnel and 278 supporting personnel, selected by simple random sampling. 1. To study and analyze of job performance. 2. To construct performance evaluation items. 3. To construct the questionnaires for studying the opinions of the samples toward performance evaluation items. 4. To collect the data. 5. To analyze the data by computing means (X̅), standard deviations (S.D.), coefficient of variance (C.V.), percentages (%) and coefficients of realiability (∝) using the Statistical Package for the Social Science (SPSS). Findings: 1. The study indicates that the teachers of the secondary schools in the samples agreed to use all the evaluation item constructed by the researcher for the three performance evaluation criteria forms: the performance evaluation criteria of administrative personnel, the performance evaluation criteria of the teaching personnel and the performance evaluation criteria of supporting personnel. Each form consists of three sections: Section one covers the performance evaluation criteria for duties and responsibilities. Section two covers the performance evaluation criteria on work concerning the community and work according to government policies. Section three covers the personal characteristics evaluation criteria. The reliability (∝) of each form is higher than 0.80. Emphasis in performance evaluation should be 50 points on job performance, 30 points on community services and government policies, and 20 points on teacher personal characteristics. Suggestion by researcher to evaluate job performance twice a year by the evaluation team comprising school administrator, deputy school administrator, department chairperson, and service devision chairperson.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24087
ISSN: 9745639451
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasert_Ba_front.pdf750.82 kBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ba_ch1.pdf668.11 kBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ba_ch2.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ba_ch3.pdf639.09 kBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ba_ch4.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ba_ch5.pdf561.01 kBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ba_ch6.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ba_back.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.