Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24151
Title: กรดแลคติคในเลือดกับการเหน็ดเหนื่อยของกล้ามเนื้อ
Other Titles: Blood lactate and muscular exhaustion
Authors: เกรียงศักดิ์ นกกระจิบ
Advisors: อนันต์ อัตชู
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากรดแลคติคในเลือดที่มีผลต่อการเหน็ดเหนื่อยของกล้ามเนื้อ โดยให้ผู้เข้ารับการทดลองทำงานด้วยการถีบจักรยานวัดงานที่ระดับความหนัก 70%, 90%, 110% และ 130% ของความสามารถสูงสุดในการจับออกซิเจน โดยให้ผู้เข้ารับการทดลองแต่ละคนทำงานติดต่อกันไปจนไม่สามารถทำต่อไปได้ไหว ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนิสิตชาย ภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 15 คน ทุกคนมีสมรรถภาพทางกายสมบูรณ์ มีอายุเฉลี่ย 21.53 ปี น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ย 57.73 กิโลกรัม และมีส่วนสูงเฉลี่ย 166.73 เซนติเมตร ในการวิจัยทำการเก็บตัวอย่างเลือดผู้เข้ารับการทดลองทุกคน ๆ ละ 5 ครั้ง คือ ขณะพักผ่อน และหลังจากการทำงานที่ระดับความหนัก 70%, 90%, 110% และ 130% ของความสามารถสูงสุดในการจับออกซิเจน แล้วนำไปวิเคราะห์หากรดแลคติคในเลือด หลังจากนั้นนำเอาผลที่ได้จากการวิเคราะห์กรดแลคติคในเลือดมาหาค่าทางสถิติ โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’) ผลการวิจัยพบว่าความเข้มข้นของกรดแลคติคในเลือดขณะพัก และในการทำงานที่ระดับความหนักของงานแตกต่างกันทั้ง 4 ชนิด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และพบว่าอัตราการสะสมโดยเฉลี่ยของกรดแลคติคในเลือดของผู้เข้ารับการทดลองแต่ละคนจะมีอยู่ต่ำในการทำงานที่มีระยะเวลานาน (เช่นในการทำงานที่ระดับความหนักของงาน 70% ของความสามารถสูงสุดในการจับออกซิเจนจะใช้เวลาโดยเฉลี่ย 9-27 นาที มีกรดแลคติคสะสมอยู่ .36 mM.) ส่วนในการทำงานในช่วงเวลาสั้น ๆ อัตราการสะสมของกรดแลคติคในเลือดจะสูงกว่า (เช่นในการทำงานที่ระดับความหนัก 130% ของความสามารถสูงสุดในการจับออกซิเจน ซึ่งใช้เวลาในการทำงานเฉลี่ย 3.10 นาที จะมีกรดแลคติคสะสมอยู่ 2.47 mM.) จะเห็นได้ว่าความเข้มข้นของกรดแลคติคในเลือดที่เพิ่มขึ้นเนื่องมาจากความหนักของงานและระยะเวลาในการทำงาน แสดงว่าความเข้มข้นของกรดแลคติคในเลือดไม่ใช่องค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้เกิดความเหน็ดเหนื่อยของกล้ามเนื้อ
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effect of blood lactate concentration on muscular exhaustion. All subjects worked on a bicycle ergometer at workloads which elicited 70%, 90%, 110% and 130% of their individual maximum oxygen uptake. Each subject performed continuous work until he could no long bicycle. The subjects were 15 healthy undergraduates at Department of Physical Education, Chulalongkorn University. Their average age, weight, and height were 21.53 years, 57.73 kilograms, and 166.73 centimetres, respectively. Blood samples were taken at rest and at 5 minutes after exercising at all levels of workload for the lactic acid determination. One-Way Analysis of Variance and Multiple Comparison by Scheffe were employed for statistical analysis. The results indicated that there was a significant difference between blood lactate concentration at rest and the various workloads at the .01 level of significance. It was found that the individual’s rate of blood production was low during prolonged exercise. (i.c., There was .36 mM. lactate in the blood after 9.27 min. of workload eliciting 70% of maximum oxygen uptake.) However, during shorter periods of and harder workloads much more blood lactate concentration accumulated. (i.c., There was 2.47 mM. lactate in the blood after 3.10 min. of workload eliciting 130% of maximum oxygen uptake.). An increase in blood lactate concentration was associated with intensity and duration of work. Thus, it was concluded that blood lactate concentration had no effect on muscular exhaustion.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24151
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Griengsak_No_front.pdf490.36 kBAdobe PDFView/Open
Griengsak_No_ch1.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Griengsak_No_ch2.pdf483.69 kBAdobe PDFView/Open
Griengsak_No_ch3.pdf390.2 kBAdobe PDFView/Open
Griengsak_No_ch4.pdf477.05 kBAdobe PDFView/Open
Griengsak_No_ch5.pdf724.85 kBAdobe PDFView/Open
Griengsak_No_back.pdf747.6 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.