Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24182
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ คำหวั่น
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-15T10:28:15Z
dc.date.available2012-11-15T10:28:15Z
dc.date.issued2545
dc.identifier.isbn9741724691
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24182
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของการท่องเที่ยวที่มีต่อ เมืองสุไหงโก-ลก รวมทั้งปัญหาและผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อเมืองสุไหงโก-ลก เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยว และนำไปสู่การเสนอแนวทางในการพัฒนาเมืองสุไหงโก-ลกเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ชายแดน เพื่อให้เกิดการพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของเมือง โดยการใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจภาคสนามในพื้นที่เมืองสุไหงโก-ลก ทั้งการสำรวจสภาพทั่วไปของพื้นที่และการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นและทัศนคติของนักท่องเที่ยว ประชาชนในพื้นที่ ผู้ประกอบการร้านค้าต่างๆ รวมไปจนถึงผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ รวม 376 ตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิที่ได้เก็บรวบรวมจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาภาพรวมของเมืองสุไหงโก-ลก พบว่า เมืองสุไหงโก-ลกมีจุดเด่นอยู่ที่มีโครงสร้างของเส้นทางที่เป็นโครงข่ายเชื่อมโยงกับเมืองต่างๆ ได้ทุกทิศทาง ทั้งทางรถยนต์และรถไฟ สามารถเดินทางเชื่อมโยงสู่แหล่งท่องเที่ยวและเมืองอื่นๆ ในภูมิภาครวมถึงประเทศมาเลเซียได้อย่างสะดวก มีความพร้อมด้านที่พัก มีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวอยู่เป็นจำนวนมาก ภายในเมืองมีสิ่งดึงดูดการท่องเที่ยวเป็นแหล่งจับจ่ายสินค้าชายแดน และสถานบริการบันเทิงที่มีจำนวนมากในเมือง รวมถึงการเป็นประตูการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ตอนในของจังหวัดนราธิวาส ในขณะที่จุดด้อยของเมืองซึ่งส่งผลต่อการท่องเที่ยวได้แก่ ปัญหาการคมนาคมภายในเมืองและปัญหาความแออัดของย่านพาณิชยกรรมใจกลางชุมชน ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยของการใช้รถใช้ถนนของนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่บริเวณย่านพาณิชยกรรมใจกลางชุมชน ปัญหาความเสื่อมโทรมของด่านและสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของเมืองท่องเที่ยวเนื่องจากสภาพทรุดโทรมดูไม่งามตาและมีพื้นที่สำหรับให้บริการนักท่องเที่ยวไม่เพียงพอ ปัญหาภาพลักษณ์ของเมืองด้านความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความไม่มั่นใจในการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองสุไหงโก-ลก นอกจากนี้ยังพบปัญหาอื่นๆ ซึ่งมีส่วนส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ได้แก่ ปัญหาน้ำท่วมขัง และปัญหาขยะของเสียจากชุมชน เป็นต้น ด้านโอกาสจากภายนอกในการพัฒนาเมืองเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเป็นโอกาสที่มาจากการสนับสนุนของแผนงานหรือโครงการพัฒนาต่างๆ ในพื้นที่เมืองสุไหงโก-ลก ได้แก่ โครงการพัฒนาภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนิเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก และแผนพัฒนาของเทศบาลตำลบสุไหงโก-ลก ส่วนอุปสรรคจากภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้คือ ขาดการวางแผนเพื่อพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างจริงจังจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การแข่งขันกับแหล่งท่องเที่ยวประเภทเมืองชายแดนใกล้เคียง เช่น เบตง และสะเดา รวมทั้งการพึ่งพาสินค้าและนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซียมากเกินไป จากศักยภาพในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของเมืองสุไหงโก-ลก ในการศึกษาครั้งนี้จึงได้เสนอแนวทางการพัฒนาเมืองเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชายแดน โดยวางแผนพัฒนาให้เมืองสุไหงโก-ลกมีความพร้อมในสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในขณะเดียวกันต้องพัฒนากิจกรรมที่ให้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว รวมทั้งแหล่งและสิ่งดึงดูดการท่องเที่ยวของเมืองสุไหงโก-ลก เพื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นจุดด้อยในปัจจุบันและสามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนและการท่องเที่ยวที่เข้ามาในเมืองสุไหงโก-ลกได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยกำหนดแนวทางในการพัฒนาเพื่อผลักดันให้การพัฒนาเป็นไปตามเป้าหมาย ดังนี้ (1) แนวทางการใช้ที่ดินประเภทต่างๆ ในอนาคต โดยเฉพาะการใช้ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยของเมืองให้มีการขยายตัวไปทางตะวันออกและทางใต้ของชุมชน แทนที่จะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่เดิมและด้านตะวันตกของเมืองซึ่งมีความแออัดอยู่แล้ว (2) การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การปรับปรุงถนนในย่านพาณิชยกรรมใจกลางชุมชน บริเวณถนนชลธารเขต เทศปฐม วงศ์วิวัฒน์ และประชาวิวัฒน์ การปรับปรุงการกำจัดขยะและระบายน้ำในชุมชน และการป้องกันน้ำท่วม โดยการสร้างคันกั้นน้ำบริเวณพื้นที่ริมแม่น้ำสุไหงโก-ลก (3) การพัฒนาแหล่งและสิ่งดึงดูดการท่องเที่ยว เช่น การพัฒนาคุณภาพของกิจกรรมที่ให้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในเมืองสุไหงโก-ลก การปรับปรุงพื้นที่บริเวณศาลเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ และสนามกีฬามหาราช รวมถึงการส่งเสริมวงจรการท่องเที่ยวในพื้นที่ใกล้เคียง เป็นต้น และ (4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาของเมืองสุไหงโก-ลก ด้วยการปรับปรุงและพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานของเมือง และสร้างภูมิทัศน์ของเมืองให้เป็นเมืองท่องเที่ยวชายแดน ในอันที่จะเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง และเป็นการเสริมสร้างศักยภาพและโอกาสในด้านการพัฒนาเมืองสุไหงโก-ลกเพื่อนองรับการท่องเที่ยวในฐานะศูนย์กลางการค้า-การท่องเที่ยวชายแดนต่อไปในอนาคต
dc.description.abstractalternativeThe objectives of his thesis are to (1) study the role, problems and effects of tourism in Su-ngai Kolok border town, (2) analyze all factors that have influenced on its potential in tourism development and (3) to propose alternatives in developing Su-ngai Kolok border town to sustain tourism with its full potential and with suitable environment. Using primary data from field survey in Su-ngai Kolok city area to gain the general situation of the studied area and interviewing as a tool to collect point of views from tourists, people in the studied area, entrepreneurs and those involved, 376 questionnaires have been employed to analyze together with secondary data collected from involved institutions. The study of the overall view of Su-ngai Kolok city shown that this city has its strengths on its transportation network which can link to many cities in all direction both by car or by train. Consequently with this network, tourists can travel to other tourist sites both regionally and internationally, such as Malaysia. Secondly this city also equipped with all accommodations, facilities and services needed for all classes of tourists. Within the city, there are many tourists’ attractions, shops near the border, and all kinds of entertainment facilities. Moreover, this city has its location advantage as a gate to many tourist sites in inner area of Naratiwat province. As for its weaknesses, this city is confronting with many problems such as heavy transportation within city, the congested commercial area in the center of the city, the deterioration of both border facilities and Su-ngai Kolok train station, unsafeties in life and belongings, flooding in some area, and ineffective waste management from the community. These will strongly affect the image of the city. As for its opportunities, there are many plans and projects to support the city development such as Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle Development Project (IMT-GT), Su-ngai Kolok checkpoint development project and development projects of Su-ngai Kolok district. As for its outside treats which cannot be controlled are lacking integrated tourism development plan, competition with other border towns, and too much tourist and product dependency from Malaysia. From its potential in tourism development, this study has proposed guidelines for urban development in Su-ngai Kolok city to support tourism near the border to the most equipped accommodation and infrastructure, diversified tourist attractions, and service activities and, in the mean time, to get rid of its present weaknesses and to support the urban and tourism expansion to its most effectiveness. These guidelines for urban development are (1) various future land use guidelines especially commercial and residential area, which can be expand to the east and to the south of the city instead of concentrating on the present area and to the west of the city, (2) the improvement on infrastructure such as roads in commercial area, for examples: Cholatarn-ket road, Tedprathom road, Wongseviwat road, and Prachaviwat road, waste management improvement system in the community, community sewage improvement system, and flooding control by building dikes around Su-ngai Kolok river area. (3) tourist’ attractions improvements such as enhance the quality of services concerning the in-town tourism, improve the surrounding around Chao-Mae-To-Mo shrine and Maharaj sport complex, and initiate other tourist loop in the vicinity, and (4) human resource development, being able to solve the plausible problem from the expansion of the city and enabling the city to use its potentials and opportunities to compete as a future center for trading and tourism in the borderline area.
dc.format.extent4988097 bytes
dc.format.extent2784434 bytes
dc.format.extent32595449 bytes
dc.format.extent15497968 bytes
dc.format.extent31053063 bytes
dc.format.extent31397891 bytes
dc.format.extent14988396 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleแนวทางการพัฒนาเมืองสุไหงโก-ลกเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชายแดนen
dc.title.alternativeUrban development guidelines for tourism in Su-ngai Kolok bordertownen
dc.typeThesises
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวางผังเมืองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattawut_ko_front.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open
Nattawut_ko_ch1.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open
Nattawut_ko_ch2.pdf31.83 MBAdobe PDFView/Open
Nattawut_ko_ch3.pdf15.13 MBAdobe PDFView/Open
Nattawut_ko_ch4.pdf30.33 MBAdobe PDFView/Open
Nattawut_ko_ch5.pdf30.66 MBAdobe PDFView/Open
Nattawut_ko_back.pdf14.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.