Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24543
Title: กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางค่านิยมและทัศนคติของนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร
Other Titles: The process of values and attitudinal change of police officers
Authors: พงษ์สันต์ คงตรีแก้ว
Advisors: ชัยอนันต์ สมุทวณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กรมตำรวจมีความสำคัญต่อรัฐ ในฐานะที่เป็นกลไกซึ่งควบคุมพฤติกรรมของพลเมืองตามนโยบายของรัฐ แต่กรมตำรวจต้องประสบกับปัญหาบุคลากรมีค่านิยมและทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปสู่แบบที่เบี่ยงเบนและขัดแย้งต่อการเป็นกลไกที่ดีของรัฐ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลง (change) ค่านิยมและทัศนคติกับสภาพแวดล้อมและระยะเวลา 2) ศึกษากระบวนการ (process) ของการเปลี่ยนแปลง และปัจจัย (agent) ที่เป็นตัวกล่อมเกลา (socialized) ในกระบวนการเปลี่ยนแปลง 3) นอกจากนี้ยังศึกษาถึงความสัมพันธ์ของกระบวนการเปลี่ยนแปลงกับผลที่เกิดต่อกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกัน และ 4) ผลที่เกิดต่อระบบการบริหารงานตำรวจ พร้อมกับข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไข วิธีการศึกษา ได้ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) จากผู้ถูกสัมภาษณ์จำนวน 16 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่มตามชั้นยศ ตั้งแต่ระดับรองสารวัตร-อธิบดีกรมตำรวจ (ร.ต.ต.-พล.ต.อ.) โดยแบ่งการสัมภาษณ์เป็น 3 ช่วงคือ ช่วงในวัยเด็ก ช่วงในวัยหนุ่ม และช่วงที่รับราชการ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทีละขั้นตอนจนประกอบกันเป็นกระบวนการ ผลการวิจัยได้ผลดังนี้ 1. การเปลี่ยนแปลงค่านิยมและทัศนคติของข้าราชการตำรวจ มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมโดยพบว่าค่านิยมและทัศนคติของปัจเจกบุคคลจะไม่อยู่คงที่แต่ละเปลี่ยนแปลง อยู่เสมอตามความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม 2. การเปลี่ยนแปลงค่านิยมและทัศนคติมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการปฏิบัติงานโดยพบว่า ข้าราชการตำรวจยิ่งอยู่ในระบบงานนานเท่าใด โอกาสที่จะมีค่านิยมและทัศนคติเบี่ยงเบนไปตามระบบ ก็มีมากเท่านั้น 3. กระบวนการเปลี่ยนแปลงค่านิยมและทัศนคติที่ได้จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการกล่อมเกลาตำรวจชั้นสัญญาบัตรก็คือ ระบบงานหรือประสบการณ์ของการทำงาน ปัจจัยอื่น ๆ มีอีก 3 ประการคือ ครอบครัว สถานศึกษา และสภาพแวดล้อมของสังคม ซึ่งมีอิทธิพลรองลงมาต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือความเชื่อ 4. ผู้ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมจะประสบความสำเร็จในการรับราชการมากกว่า ผู้ที่ไม่สามารถปรับตัว นายตำรวจที่มียศต่ำและนายตำรวจที่มียศสูง จะมีช่องว่างหรือค่านิยมและบรรทัดฐานที่แตกต่างกัน 5. ปัญหาสำคัญของกรมตำรวจ ได้แก่ระบบอุปถัมภ์ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจาก วิธีปฏิบัติแบบอาศัยความสัมพันธ์ส่วนบุคคลในการบริหารงาน ปัญหานี้อยู่เหนือความสามารถขององค์กรที่จะแก้ไขได้โดยลำพัง แต่จะต้องอาศัยพลังจากภายนอกองค์กรที่มีพลังสูงกว่ามาจัดการแก้ไข 6. กรมตำรวจ ควรปรับหลักสูตรและกระบวนการกล่อมเกลาทางการศึกษา และให้มีหลักสูตรการอบรมต่าง ๆ ระหว่างรับราชการอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับศึกษาวิธีลดความกดดันจากเงินเดือนและระบบอุปถัมภ์ โดยให้มีคณะกรรมาธิการของรัฐสภาชุดหนึ่งเข้ามาศึกษาเพื่อแก้ไขประสานกับกรมตำรวจ
Other Abstract: The Police Department is the major state mechanism responsible for the regulation of the citizens’ behavior in accordance with laws. One of the main problems facing this agency has been changes in values and norms of its personnel leading to deviant behavior which greatly affected the administration of law and order. The objective of this thesis are to study 1) the relationship between the changes in values and attitudes and societal environments and time 2) the process of change in values and attitudes and socializing factors 3) the relationship between the process of changes in values and attitudes and the effects on police officers with different backgrounds and 4) to identify the overall impact of the above-mentioned factors on the system of police administration. Recommendations are also made for the improvements of police administration. An in-depth interview technique is used with sixteen police officers ranking from a sub-lieutenant to a police general. The periods covered in each interview include childhood, adolescent and adulthood and work experiences. The findings are as follow : 1. Changes in values and attitudes of police officers are related to environments which are highly dynamic. 2. Changes in values and attitude are related to the period of service in the Police Department : the longer the period of service, the more deviant the values and attitudes. 3. The most important agent of socialization which greatly affects values and attitudes of police offices is their work experiences. The other three agents of socialization (family, educational institutions and societal environments) are less significant factors influencing police officers’ behavior. 4. Police officers who could adapt themselves to changing environments are more successful than officers who could not do so. Low-ranking officers and high-ranking officers have the widest gap in values and norms. 5. The Police Department in faced with a serious problem arising from patron-client relationship which is, in turn, a consequence of informal practices in police administration. This problem is beyong the capability of the organization itself to cope with, and needs stronger external forces to solve it. 6. The Police Department should improve the curricular of the Police Cadet Academy, and organize training courses for police officers on a continuing basis. There should also be serious efforts to study ways and means to reduce pressures from the patronage system as well as to consider the existing salary scales. It is recommended that a special parliamentary committee be established to look into these matters.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24543
ISBN: 9745664332
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongson_Ko_front.pdf461.37 kBAdobe PDFView/Open
Pongson_Ko_ch1.pdf444.3 kBAdobe PDFView/Open
Pongson_Ko_ch2.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Pongson_Ko_ch3.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open
Pongson_Ko_ch4.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open
Pongson_Ko_ch5.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open
Pongson_Ko_ch6.pdf6.98 MBAdobe PDFView/Open
Pongson_Ko_ch7.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Pongson_Ko_back.pdf345.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.