Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24615
Title: การประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ของครู : การศึกษาเฉพาะะกรณีจังหวัดกระบี่
Other Titles: Teacher evalluation of student learning according to elementary curriculum B.E. 2521 : a case study of Changwat Krabi
Authors: สมปอง ภูวรางกูร
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความเข้าใจของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 ในจังหวัดกระบี่เกี่ยวกับการปะเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 2. เพื่อศึกษาการปฏิบัติและปัญหาของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 4 ในจังหวัดกระบี่เกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 ในจังหวัดกระบี่เกี่ยวกับการใช้ระเบียบการประเมินผลการเรียน ตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 วิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 4 ปีการศึกษา 2524 ในจังหวัดกระบี่ จำนวน 712 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ( stratified random sampling ) รวบรวมข้อมูลโดยการให้ครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งมีทั้งคำถามแบบเลือกตอบ แบบสำรวจรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า แบบเติมคำ และคำถามแบบปลายเปิดแล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัย ครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ในระดับพอใช้ โดยส่วนรวมครูปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย โดยครูใช้วิธีการประเมินผลระหว่างเรียน ประเมินผลปลายภาค และปลายปีอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการประเมินผลก่อนเรียน การใช้เครื่องมือวัดผลชนิดต่างๆ และการประชุมชี้แจงให้ผู้ปกครองนักเรียนเข้าใจการประเมินผลการเรียน ครูปฏิบัติระดับน้อย นอกจากนี้ยังพบว่าครูได้รับบริการด้านต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินผลการเรียนอยู่ในระดับน้อย ซึ่งสามารถเรียงลำดับการได้รับบริการจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ การได้รับบริการทางด้านเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ในการประเมินผลการเรียน การได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนจากบุคคลต่างๆ และการประชุมอบรมหรือสัมมนาเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียน โดยส่วนรวมครูประสบปัญหาเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนในระดับปานกลาง ครูประสบปัญหาเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือวัดผลการเรียน และการสอนซ่อมเสริมในระดับมาก ส่วนการสร้างเครื่องมือวัดผลชนิดต่างๆ ความร่วมมือของผู้ปกครองนักเรียน การประเมินผลการเรียนกรณีต่างๆ การวัดผลการเรียน การวัดผลกลุ่มประสบการณ์ต่างๆ การใช้วิธีการต่างๆ ในการประเมินผลการกรอกแบบฟอร์มการประเมินผลการเรียน และการคิดคะแนน ครูประสบปัญหาในระดับปานกลาง โดยส่วนรวมครูมีความคิดเห็นระดับเห็นด้วยเกี่ยวกับ การใช้ระเบียบการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 โดยครูเห็นด้วยกับวิธีการประเมินผลการเรียนมากที่สุด รองลงไปเป็นวิธีวัดผล ผู้มีหน้าที่วัดและประเมินผลการเรียน การคิดคะแนน การใช้ระเบียบ การประเมินผลการเรียน และเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน และการเลื่อนขั้นตามลำดับ ครูได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ระเบียบการประเมินผลการเรียน ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 พอสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ควรให้ครูผู้สอนเป็นผู้วัดและประเมินผลการเรียนเองทุกชั้น 2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างแบบทดสอบมาตรฐานและเครื่องมือวัดผลการเรียนอื่นๆให้โรงเรียน 3.ควรจัดให้มีครูที่ทำหน้าที่สอนซ่อมเสริมโดยเฉพาะ 4. ควรประเมินผลปลายภาคและปลายปีเฉพาะกลุ่มทักษะและกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตโดยเฉพาะชั้นประถมศึกษาปีที่1 ควรประเมินผลเฉพาะกลุ่มทักษะกลุ่มอื่นๆ ควรใช้การสังเกตของผลการเรียนที่ผ่านมาก็พอ 5. ควรคิดคะแนนการสอบปลายภาคและปลายปีเป็นร้อยละ 6.ควรจัดระดับผลการเรียนภาษาไทยและคณิตศาสตร์แยกจากกัน 7.ไม่ควรใช้เวลาเรียนเป็นเกณฑ์ในการตัดสินผลการเรียน ถ้าจะใช้ควรลดเกณฑ์ให้ต่ำกว่าร้อยละ 80 เกณฑ์การผ่านจุดการเรียนรู้ในแต่ละจุดประสงค์ ควรเพิ่มให้สูงกว่า 60 และควรเพิ่มเกณฑ์การประเมินผลปลายปี เป็นนักเรียนจะต้องได้ระดับผลการเรียนในแต่ละกลุ่มประสบการณ์ ตั้งแต่ “2” ขึ้นไป 8.ไม่ควรให้นักเรียนเลื่อนไปเรียนในชั้นสูงขึ้นในระหว่างปี 9. ควรจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนให้แก่โรงเรียนอย่างเพียงพอ 10. ควรประเมินผลปลายปีทุกชั้น
Other Abstract: Purposes 1. Tostudy the understanding of PrathomSuksa 1–4 elementary school teachers in Changwat Krabi concerning the evalvation of student learning according to Elementary Curriculum B.E. 2521 2. To study the implementation and problems of implementing the student learning evaluation according to Elementary Curriculum B.E. 2521 of the Prathom Suksa 1–4 elementary school teachers in Changwat Krabi. 3. To study the opinions and suggestions of Prathom Suksa 1-4 elementary school teachers in Changwat Krabi concerning the student learning evaluation according to Elementary Curriculum B.E. 2521. Procedure The sample used in this study were selected by stratified random sampling which were composed of 712 Prathom Suksa 1-4 elementary school teachers in Changwat Krabi during the academic year 1981. A questionnaire was used for gathering data which composed of multiple choices, check lists, rating scales and open-ended. Data were then tallied, tabulated and analyzed by using frequency, percentage, mean and standard deviation. Findings Teachers had a fair level of understanding concerning the student learning evaluation according to Elementary Curriculum B.E. 2521. As an over all teachers had performed the evaluation activities at the low level. Teachers employed the formative and summative evaluation at the middle level, but in using a pre – test method and applying different types of tests, and informing parents also they performed at the low level. Moreover, teachers rated that they received services from authorities concern at the low level concerning the following activities; receiving manual and materials for evaluation of student learning, getting suggestions, and attending meeting or seminar on evaluation topics. Teachers faced problems in evaluation at the middle level. They reported that they had problems in constructing the evaluation forms and organizing remedial teaching at the high level. In conducting evaluation techniques, cooperating with parents, and measuring their students’ learning were rated to be the problems at the middle level. Teachers agreed upon using evaluation of student learning criteria according to Elementary Curriculum B.E. 2521. Most of them agreed upon the principles of evaluation. But for techniques of evaluation, evaluators, scoring regulations and criteria were also rated agreeable respectively. Teachers’ suggestions concerning an evaluation were as follows : Teacher should be evaluators themselves. A standardized test should be constructed by the authorities concern for schools. Teachers should be assigned to organize a remedial program. An evaluation should be conducted semesterly and yearly for skill subjects on and an observation technique should be used for other subjects. A percentage should be employed in yearly testing. Competency base evaluation on behavioral objectives should be practiced instead of attendance requirement for the purpose of promoting. Promotion during the year should be omitted, and a yearly evaluation should be practiced for every level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24615
ISBN: 9745615838
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompong_Ph_front.pdf657.66 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Ph_ch1.pdf589.83 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Ph_ch2.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_Ph_ch3.pdf573.2 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_Ph_ch4.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_Ph_ch5.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_Ph_back.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.