Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24630
Title: | ห้องสมุดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย |
Other Titles: | Scientific and technological libraries in Thailand |
Authors: | พิบูลศิลป์ วัฑฒนะพงศ์ |
Advisors: | อุทัย ทุติยะโพธิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2517 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาและรวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดตั้ง การดำเนินงาน การบริหาร และบริการของห้องสมุดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย (2) เพื่อค้นคว้าหาวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ และ (3) เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือในอันที่จะส่งเสริมนักค้นคว้าและผู้ทำการวิจัยให้ได้รับประโยชน์ในการใช้ห้องสมุดด้านนี้ให้มากที่สุด วิธีที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) ค้นคว้าจากหนังสือ วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ (2) สำรวจห้องสมุดโดยส่งแบบสอบถามบรรณารักษ์ห้องสมุดด้านนี้ 51 แห่ง และได้รับตอบทั้งหมด (3) สัมภาษณ์บุคคลผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินและบริหารงาน รวมทั้งบรรณารักษ์ห้องสมุดด้วย ผลของการค้นคว้า สรุปได้ดังนี้ ห้องสมุดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย สังกัดตามหน่วยงานต่าง ๆ 6 ประเภทคือ ห้องสมุดคณะในมหาวิทยาลัย หน่วยราชการ ศูนย์เอกสาร รัฐวิสาหกิจ บริษัทและองค์การระหว่างประเทศ ห้องสมุดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกประเภทมีปัญหาในเรื่องฐานะของห้องสมุดเนื่องจากมีฐานะเป็นแผนกหรือเทียบเท่า ทำให้มีปัญหาเรื่องงบประมาณ กล่าวคือ ห้องสมุดร้อยละ 68.63 ได้รับงบประมาณไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้ในการดำเนินงานห้องสมุด เป็นผลให้เกิดความขาดแคลนเจ้าหน้าที่ในทุกระดับ ขาดอุปกรณ์และเครื่องอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ เอกสารและสิ่งพิมพ์ไม่เพียงพอ ในส่วนที่เกี่ยวกับอาคารห้องสมุดนั้น ปรากฏว่าร้อยละ 9.80 มีอาคารเป็นเอกเทศ ที่เหลือร้อยละ 90.20 อาคารห้องสมุดไม่เป็นเอกเทศ ส่วนใหญ่เป็นห้องเดี่ยวหรือหลายห้องของหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ห้องสมุดร้อยละ 64.71 มีปัญหาด้านครุภัณฑ์ คือมีที่นั่งอ่านและชั้นวางหนังสือไม่เพียงพอ ในการให้บริการนั้น ห้องสมุดร้อยละ 88.24 มีบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า ร้อยละ 64.71 มีบริการยืมระหว่างห้องสมุด มีเพียงร้อยละ 3.92 เท่านั้นที่มีบริการแปล ห้องสมุดส่วนใหญ่จึงมีเฉพาะบริการให้ยืมเท่านั้น ห้องสมุดร้อยละ 45.10 ให้บริการเฉพาะบุคคลในสังกัด เพียงร้อยละ 17.65 ที่ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปด้วย ห้องสมุดประเภทศูนย์เอกสารประสบปัญหาด้านต่าง ๆ น้อยที่สุด โดยเฉพาะศูนย์บริการเอกสารการวิจัย มีหนังสือและเอกสารต่าง ๆ เพียงพอที่จะบริการแก่นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและรวมทั้งประชาชนทั่วไป บริการพิเศษมีหลายประการ เช่น บริการแปล บริการค้นหาเอกสาร และบริการทางด้านบรรณานุกรม เป็นต้น จึงนับว่าเป็นหอสมุดวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนห้องสมุดประเภทมหาวิทยาลัยไม่มีปัญหาในเรื่องอาคารสถานที่ แต่มีปัญหาด้านบรรณารักษ์ เพราะห้องสมุดคณะส่วนใหญ่มีอาจารย์เป็นบรรณารักษ์ ต้องทำงานทั้งทางด้านห้องสมุดและสอนหนังสือ จึงไม่สามารถบริการงานห้องสมุดได้เต็มที่ ส่วนห้องสมุดรัฐวิสาหกิจและบริษัท ไม่มีปัญหาด้านงบประมาณ แต่อาคารห้องสมุดมีที่ตั้งไม่เหมาะสม ห้องสมุดของหน่วยราชการประสบปัญหาทุก ๆ ด้าน ทั้งในเรื่องงบประมาณ บุคลากร และเอกสารสิ่งพิมพ์ การที่ห้องสมุดเฉพาะมีปัญหาทั้งทางด้านเทคนิคและบริการ เพราะฐานะของห้องสมุดไม่เป็นหน่วยงานอิสระ นอกจากนี้ห้องสมุดแต่ละแห่งต่างมีนโยบายในการดำเนินงานเป็นเอกเทศความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมีน้อย ข้อเสนอแนะคือ 1) ห้องสมุดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรมีฐานะเป็นหน่วยงานอิสระ ขึ้นตรงต่อผู้บริหารระดับสูงสุด ถ้าเป็นห้องสมุดกรม ควรมีฐานะเป็นกอง เพราะเมื่อห้องสมุดเป็นหน่วยงานที่ใหญ่ขึ้น เงินงบประมาณและจำนวนเจ้าหน้าที่ก็เพิ่มขึ้นด้วย ทำให้ห้องสมุดสามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ 2) สถานที่ตั้งห้องสมุดควรอยู่ในที่ไปมาได้สะดวกและควรจัดให้มีอุปกรณ์สำหรับให้ความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้ 3) ห้องสมุดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรมีความร่วมมือซึ่งกันและกันในการปรับปรุงบริการและงานเทคนิคของห้องสมุด เช่น แต่ละแห่งเก็บหนังสือวิทยาศาสตร์และเทคนิคเฉพาะด้าน ให้มีการยืมระหว่างห้องสมุดร่วมกันทำสหบัตร และดรรชนีค้นบทความ 4) ควรจัดตั้งชมรมหรือสมาคมห้องสมุดเฉพาะในประเทศ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงาน 5) ควรมีกฎหมายห้องสมุด เพื่อว่าห้องสมุดที่ได้รับการจัดตั้งจะได้มีฐานะทางกฎหมาย และได้รับเงินอุดหนุนในการดำเนินงาน และ 6) ควรปรับปรุงมาตรฐานห้องสมุดเฉพาะให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เพื่อใช้เป็นมาตรการในการปรับปรุงกิจกรรมห้องสมุดประเภทนี้ต่อไป. |
Other Abstract: | The objective of this thesis is threefold; first, to study the problems in the organization, administration and services of scientific and technological libraries in Thailand, secondly, to suggest suitable solutions to those problems; and thirdly, to promote co-operation among the libraries so that researchers can get full advantages from them. The methods used in this research are: (1) documentary research through books, periodicals and other printed materials concerning scientific and technological libraries both in Thai and in foreign languages, (2) survey by sending questionnaires to fifty-one scientific and technological libraries; all questionnaires returned, (3) interviews with librarians and people concerned with the administration of scientific and technological libraries. Research results are as follows: Scientific and technological libraries in Thailand are under six different organizations: universities, government offices, documentation centers, government enterprises, business corporations and international organizations. The status of almost all scientific and technological libraries is equivalent to a section which causes many problems. Of these libraries, 68.63 per cent do not receive sufficient budget which results in a lack of library staff, facilities and library collection. Only 9.8 per cent have their own buildings. The rest are installed in their mother institution building. Besides, 64.71 per cent are short of library equipment; for example, they do not have enough bookshelves and seats. As for services, 88.24 per cent can provide reference service; 64.71 per cent have interlibrary loan service, and 3.92 per cent have translation service. Only circulation service is rendered in most libraries. 45.10 per cent are available exclusively to people who work in that particular organization. Only 17.65 per cent give services to the general public as well. Documentation centers meet with less problems. The Thai National Documentation Center has adequate books and other printed materials for the use of scientists, researchers and the general public. This center offers various special services, such as translation, document procurement, and bibliographic service. As for university libraries, there is no problem in buildings and location, However, in most faculty libraries, lecturers act as librarians along with their teaching, consequently they cannot be devoted to the library. The government enterprise libraries and business corporation libraries do not have financial problems but they do not have suitable locations. Government office libraries have problems in budget, library staff and library collection. Scientific and technological libraries in Thailand face both technical and service problems because they are not independent units. Moreover, their isolation results in little cooperating among them. Suggested solutions are: (1) A scientific and technological library should be an independent unit working directly under high-level administration. A governmental department library should have the status of a division. When a library has a higher status, the budget and the library staff will increase accordingly which will enable the library to be more efficient. (2) The library should be in a suitable location. Library facilities should be amply provided. (3) Scientific and technological libraries should co-operate among themselves to improve their services and other technical processes. For example, libraries specializing in certain subjects should have the following services: union-cataloging, indexing and interlibrary loan. (4) A scientific and technological library association should be set up as the co-operation center for all scientific and technological libraries. (5) There should be legislation to grant all these libraries legal standing and funds. (6) The library standard should be readjusted to suit the present condition and to be the standard for improving scientific and technological libraries in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บรรณารักษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24630 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piboonsin_Wa_front.pdf | 728.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piboonsin_Wa_ch1.pdf | 3.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piboonsin_Wa_ch2.pdf | 5.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piboonsin_Wa_ch3.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piboonsin_Wa_ch4.pdf | 374.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piboonsin_Wa_back.pdf | 465.35 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.