Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24686
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไพลิน ผ่องใส | |
dc.contributor.author | เนาวรัตน์ ดิษยบุตร | |
dc.contributor.author | สวนา พรพัฒน์กุล | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-20T07:06:09Z | |
dc.date.available | 2012-11-20T07:06:09Z | |
dc.date.issued | 2525 | |
dc.identifier.isbn | 9745612855 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24686 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 | en |
dc.description.abstract | จุดประสงค์ในการศึกษาเรื่องนี้มี 3 ประการคือ 1. เพื่อจะได้ทราบทัศนคติของผู้บริหารและพนักงานที่มีต่องานบุคลากรโดยแน่ชัดว่าเป็นอย่างไร จะได้หาทางแก้ไขทั้งในฝ่ายบุคลากรและองค์การด้วย 2. เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติที่เกี่ยวกับงานด้านบุคลาการของผู้บริหารและพนักงานในแผนกบุคลาการและแผนกอื่น ๆ ว่าแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร 3. เพื่อเป็นความรู้ยืนยันแน่ชัดเกี่ยวกับทัศนคติต่องานด้านบุคลาการโดยมีหลักฐานแน่นอนไม่ใช่เพียงคำกล่าวอ้างอย่างในปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาสุ่มมาจาก ผู้บริหาร พนักงานในแผนกบุคลาการและแผนกอื่น ๆ ทั่วไป มีจำนวน ผู้บริหาร 98 คน พนักงานในแผนกบุคลาการ 49 คน พนักงานทั่วไป 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถามทัศนคติ 1 ชุด มีคำถาม 78 ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.8737 และมีความเที่ยงตรงชนิด face validity ข้อมูลที่วิเคราะห์ใช้สถิติพื้นฐานและใช้ t-test และ F-test (one way ANOVA) ผลของการศึกษาพบว่า 1. โดยทั่วไปแล้วทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่องานด้านบุคลาการดีกว่า พนักงานในแผนกทั่วไป และพนักงานในแผนกบุคลาการเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อใช้คำถามวัดทัศนคติต่อพฤติกรรม พบว่า ในด้านปฏิบัติการผู้บริหารยังมีพฤติกรรมชี้ให้เห็นว่ามีทัศนคติต่องานในแผนกบุคลาการน้อยกว่างานในแผนกอื่น ๆ และไม่พบความแตกต่างระหว่างพนักงานทั่วไปกับพนักงานในแผนกบุคลาการ 2. ผู้บริหารมีทัศนคติต่อการจัดหาบุคคลดีกว่าพนักงานทั่วไปและพนักงานในแผนกบุคลาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 แต่ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างพนักงาน 2 กลุ่มหลัง 3. ผู้บริหารมีทัศนคติด้านพัฒนาพนักงานดีกว่าพนักงานทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่พบความแตกต่างกัน 4. ผู้บริหารมีทัศนคติด้านการจูงใจพนักงานดีกว่าพนักงานทั่วไปและพนักงานในแผนกบุคลาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพนักงานทั่วไปก็มีทัศนคติด้านการจูงใจพนักงานดังกล่าว ดีกว่าพนักงานในแผนกบุคลาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นกันดีกว่าพนักงานทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริหารกับพนักงานในแผนกบุคลาการไม่พบความแตกต่างกันในเรื่องดังกล่าว 6. พนักงานในแผนกบุคลาการมีทัศนคติต่อการปฏิบัติงานดีกว่าผู้บริหารและพนักงานทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างผู้บริหารและพนักงานทั่วไป ข้อเสนอแนะ อันเป็นผลเนื่องมาจากผลการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยใคร่เสนอให้ผู้บริหารแก้ไขทัศนคติของตนเองต่องานในแผนกบุคลาการ และควรจะได้จัดการมอบหมายงานในการบริหารงานในแผนกบุคลการให้แก่ผู้บริหารในแผนกนี้อย่างเต็มตัว ตลอดจนให้ได้มีส่วนในการวางแผนทั่วไปและรับรู้นโยบายต่าง ๆ ขององค์การด้วย ผู้บริหารควรปรับปรุงหลักการและกฎเกณฑ์ในการคัดเลือกและสรรหาบุคลากรให้ดีขึ้น ให้มีการประเมินผลงานและให้ความดีความชอบแก่พนักงานอย่างยุติธรรม ควรวางแผนในการพัฒนาพนักงานให้ทั่วถึงทั้งในด้านวิชาการ ด้านเทคนิคและด้านจิตใจเพื่อจะได้ขจัดปัญหาขัดแย้งระหว่างผู้บริหาร พนักงานและสหภาพพนักงานที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ลดน้อยลงหรือหมดไป | |
dc.description.abstractalternative | This study was aimed at the following : 1. To know the attitudes of the administrators and the Employees towards Personnel work in order that remedial action could be taken within the Personnel Department and the organization. 2. To compare the attitudes towards the Personnel work among the Administrators, the staffs working in the Personnel Department and the staffs in other Departments. 3. To derive reliable evidences of the attitudes towards the Personnel work. The sampling groups used were 98 Administrators, 49 persons from the staffs in the Personnel Department and 176 persons from the staffs in other Departments. The device used for studying was the Sampling Test of Attitude which included 78 questions with the reliability of 0.8737 and valid Face Validity. Data were analyzed by using basic statistics, t-test and F-test (one way ANOYA) The results of the study were 1. In general, the Administrators had significantly better attitude toward Personnel work than staffs in the Personnel Department as well as staffs in other Departments at the .05 level. However, when questions valuing behavioral performance were applied, it was found that the Administrators were less satisfied with the Personnel work than the other Departments work. 2. The Administrators had significantly better attitude toward the work of procurement than staffs in the Personnel Department or others at the .05 level. There was no difference of the attitudes between staffs in both later groups. 3. The Administrators had a significantly higher attitude toward the development of employees than staffs in the Personnel Department and other Departments as well at the .05 level. 4. The Administrators had a significantly higher attitude toward motivation of employees than staffs in other Departments at the 0.5 level. The staffs in other Departments also had a higher attitude toward motivation of employees than staffs in the Personnel Departments. 5. The Administrators had a significantly better attitude toward employee maintenance than staffs in the Personnel Department and other Departments at the .05 level. When comparing this attitude between the staffs of the Personnel Department and those of other Departments, no significant differences were found. 6. The Staffs in the Personnel Department had a significantly better attitude toward their work than the Administrators and staffs in other Departments. When comparing this attitude between the Administrators and staffs in other Departments, no significant differences were found. As a consequence of this study, the improvement of the Administrators’ attitude toward the Personnel work is recommended. Administration in the Personnel Department should be wholely delegated to the Head of this department who should have an opportunity to know the policy of the organization as well as to participate in the organization planning. It is also suggested that the Administrators should improve rationale and regulation used in personnel recruitment, Fair evaluation of work and promotion should be applied. Personnel development should also be carefully planned so that knowledge, techniques and morale are altogether acquired. Thus, the conflicts among the Administrators, staffs and the Staff Union can be lessened or e en eliminated. | |
dc.format.extent | 697780 bytes | |
dc.format.extent | 858709 bytes | |
dc.format.extent | 814386 bytes | |
dc.format.extent | 468024 bytes | |
dc.format.extent | 1809026 bytes | |
dc.format.extent | 889176 bytes | |
dc.format.extent | 1003963 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การศึกษาทัศนคติของผู้บริหารและพนักงานธนาคารในกรุงเทพมหานคร ที่มีต่องานด้านบุคลากร | en |
dc.title.alternative | A study of attitudes of the administrators and the employees of banks in Bangkok Metropolitan area towards personnel job | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พาณิชยศาสตร์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Navarat_Di_front.pdf | 681.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Navarat_Di_ch1.pdf | 838.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Navarat_Di_ch2.pdf | 795.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Navarat_Di_ch3.pdf | 457.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Navarat_Di_ch4.pdf | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Navarat_Di_ch5.pdf | 868.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Navarat_Di_back.pdf | 980.43 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.