Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2470
Title: การเปรียบเทียบวิธีการวินิจฉัยภาวะหลอดลมตีบที่เกิดจากการออกกำลังกายระหว่างการทดสอบภาคสนามและการทดสอบในห้องปฏิบัติการ (ภายใต้การออกกำลังกายระดับหนัก)ในนักกีฬาระดับอุดมศึกษา
Other Titles: Comparison of the diagnostic test of exercise-induced bronchoconstriction between field and laboratory based (exercise challenge) in university athletes
Authors: ทัณฑิกา คนซื่อ, 2516-
Advisors: พินิจ กุลละวณิชย์
สมพล สงวนรังศิริกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pinit.K@Chula.ac.th
Sompol.S@Chula.ac.th
Subjects: หลอดลม
การออกกำลังกาย
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาว่าการทดสอบภาคสนามสามารถใช้เป็นวิธีวินิจฉัยภาวะหลอดลมตีบที่เกิดจากการออกกำลังกายในประเทศร้อนชื้นเทียบเท่ากับวิธีการในห้องปฏิบัติการได้หรือไม่ โดยทำการศึกษาในนักกีฬาระดับอุดมศึกษาจำนวน 215 คน นักกีฬาทุกคนต้องทำการทดสอบสองครั้ง โดยทำการทดสอบครั้งแรกในห้องปฏิบัติการด้วยการวิ่งบนลู่กลที่ความหนัก 80% ของชีพจรสูงสุดภายใน 6-8 นาที ครั้งที่สองเป็นการทดสอบภาคสนามด้วยการวิ่ง 2000 เมตรภายในเวลา 6-10 นาทีหรือที่ความหนัก 80% ของชีพจรสูงสุด โดยต้องวัดค่า FEV1 ก่อนและหลังการวิ่งนาทีที่ 5, 10, 15, 20 และ 30 การวินิจฉัยว่าเกิดภาวะหลอดลมตีบที่เกิดจากการออกกำลังกายทำโดยใช้ค่า FEV1 ที่ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 15% จากการศึกษาพบว่ามีนักกีฬาจำนวน 3 คน จาก 215 คนที่เกิดภาวะหลอดลมตีบหลังจากการออกกำลังกายในห้องปฏิบัติการ แต่ในขณะที่ผลการทดสอบภาคสนามของนักกีฬาทั้งสามคนไม่มีผู้ใดเลยที่เกิดภาวะหลอดลมตีบหลังจากการออกกำลังกาย จึงสรุปได้ว่าการทดสอบภาคสนามไม่สามารถใช้เป็นวิธีการตรวจภาวะหลอดลมตีบที่เกิดจากการออกกำลังกายในประเทศร้อนชื้นได้
Other Abstract: This cross-sectional study was performed to determine whether the field based exercise challenge test (FBC) can be used to evaluate exercise-induced bronchoconstriction (EIB) in 215 university athletes who live in tropical climate as compared to results obtained by laboratory based exercise challenge test (LBC). All subjects had FEV1 measurements before and, 5, 10, 15, 20 and 30 minute after exercise test. EIB was defined as a decrease of 15% in FEV1 at any time after exercise. They performed two exercise tests. First session, LBC, they ran on treadmil at an intensity of 80% of maximal heart rate (MHR) for 6-8 minutes. Second session, FBC, they ran 2000 meters in 6-10 minutes or at 80% of MHR. The results showed that three of 215 subjects had EIB by LBC test, whereas, all FBC test results were normal. In conclusion, FBC is not a good diagnostic test for evaluate EIB in tropical climate.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2470
ISBN: 9741766912
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tuntika.pdf768.79 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.