Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24713
Title: ปัญหาการจัดและดำเนินการโปรแกรมพลศึกษาในโรงเรียนรัฐบาล ระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Problems of organizing and conducting physical education program in Chiang Mai government secondary schools
Authors: พีชเรข พิริยหะพันธุ์
Advisors: ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการจัดและดำเนินการโปรแกรมพลศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามส่งไปยังครูพลศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 56 คน ได้รับแบบสอบถามคืนมาทั้งหมด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีสถิติโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย แล้วนำเสนอในรูปตารางและความเรียง ผลการวิจัยปรากฏว่า โรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่มีการจัดโปรแกรมพลศึกษาในโรงเรียนดังนี้ โครงการสอนพลศึกษาในโรงเรียน และโครงการแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนจัดทุกโรงเรียน ส่วนโครงการแข่งขันกีฬาภายนอกและระหว่างโรงเรียน กับโครงการจัดกิจกรรมเพื่อนันทนาการจัดเป็นส่วนมาก ส่วนโครงการจัดกิจกรรมพิเศษสำหรับนักเรียนที่อปกติมีจัดน้อยมาก สำหรับปัญหาในการจัดและดำเนินการโปรแกรมพลศึกษาในโรงเรียน ได้แก่ อุปกรณ์มีไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน ขาดหนังสือและตำราที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน ขาดความรู้ในการซ่อมแซมอุปกรณ์ ขาดอุปกรณ์ทางเทคนิค และเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมพลศึกษา
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the problems of organizing and conducting the physical education program in Chiang Mai government secondary schools. Questionnaires were constructed and sent to 56 physical education teachers. All of them were returned. The data were then analyzed in terms of percentages and means. It was found that all of schools in Chiang Mai organized and conducted class instructional program and intramural program. But interscholastic program, recreational program and adapted physical education program were found with less frequency. The main problems of organizing and conducting physical education programs were : insufficient equipment, lack of handbooks and textbook for physical education teachers, lack of knowledge in [repairing] equipment, and lack of technical equipment and [facilities] for organizing and conducting physical education activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24713
ISSN: 9745623245
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
peechareka_pi_front.pdf520 kBAdobe PDFView/Open
peechareka_pi_ch1.pdf649.05 kBAdobe PDFView/Open
peechareka_pi_ch2.pdf724.47 kBAdobe PDFView/Open
peechareka_pi_ch3.pdf413.55 kBAdobe PDFView/Open
peechareka_pi_ch4.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Peechareka_Pi_ch5.pdf918.79 kBAdobe PDFView/Open
peechareka_pi_back.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.