Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2473
Title: | ผลของการฝึกการทรงตัวด้วยเทคนิคสตาร์เอ็คซเคอชั่นต่อความมั่นคงของข้อเท้าในนักกีฬาที่ข้อเท้าแพลง |
Other Titles: | Training effect of star excursion balance technique on functional stability of athletes with ankle sprain |
Authors: | เลอสันต์ หนูมาโนช, 2517- |
Advisors: | ดุจใจ ชัยวานิชศิริ อี๊ด ลอประยูร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Ead.L@Chula.ac.th |
Subjects: | ข้อเท้า -- บาดแผลและบาดเจ็บ นักกีฬา |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกการทรงตัวด้วยเทคนิคสตาร์เอ็คซเคอชั่นต่อความมั่นคงของข้อเท้า และการแพลงซ้ำในนักกีฬาที่ข้อเท้าแพลง กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโครงการศึกษาวิจัยเป็นนักกีฬาเพศชายที่มีการแพลงของข้อเท้า จำนวน 32 คน อายุระหว่าง 15-22 ปี ซึ่งผ่านการตรวจรักษาโดยแพทย์ จากนั้นจึงถูกสุ่มเพื่อแบ่งกลุ่มนักกีฬาออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มทดลองซึ่งจะได้รับการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานร่วมกับฝึกการทรงตัวด้วยเทคนิคสตาร์เอ็คซเคอชั่น และกลุ่มควบคุมจะได้รับการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานเพียงอย่างเดียว โดยกลุ่มทดลองมีจำนวน 15 คน และกลุ่มควบคุมมีจำนวน 17 คน ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการทดสอบ single leg stance เพื่อประเมินความมั่นคงของข้อเท้าทั้งก่อนการฝึก และหลังการฝึกในสัปดาห์สุดท้าย โดยการฝึกจะทำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าหลังการรักษาทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมสามารถเพิ่มเวลา single leg stance ของข้างที่แพลงได้อย่างมีนัยสำคัญทั้ง 2 กลุ่ม โดยกลุ่มทดลองสามารถเพิ่มเวลา single leg stance ได้มากกว่ากลุ่มควบคุม 2 เท่าทั้งขณะหลับตาและลืมตา นอกจากนี้ในกลุ่มทดลองยังส่งผลให้ข้อเท้าข้างปกติสามารถเพิ่มเวลา single leg stance ได้อย่างมีนัยสำคัญขณะหลับตาอีกด้วย เมื่อศึกษาถึงการบาดเจ็บซ้ำในระยะเวลา 3 เดือน พบการแพลงซ้ำในกลุ่มทดลอง 1 ราย (ร้อยละ 6.67) และในกลุ่มควบคุม 2 ราย (ร้อยละ 11.76) ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ สรุปได้ว่าการฝึกการทรงตัวด้วยเทคนิคสตาร์เอ็กซเคอชั่นสามารถเพิ่มความมั่นคงของข้อเท้าข้างที่แพลงได้มากกว่าการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานเพียงอย่างเดียว |
Other Abstract: | The purpose of this study was to compare the training effect of star excursion balance technique with conventional treatment for 4 weeks on functional stability and reinjury of athletes with ankle sprain. Thirty-two male athletes with ankle sprain, aged 15-22 years old, were enrolled, physical examed and treated by a physician. A simple random sampling was used in this study to divide athletes into training group (n = 15) and control group (n = 17). The training program was conducted 3 days per week for 4 weeks. Functional stability of ankle was assessed by single leg stance test at pre and post training for both groups. After 4 weeks treatment program, subjects from both groups demonstrated significant improvements in single leg stance time. The training group gained single leg stance time of the injured sides 2 times more than the control group, and also improved the single leg stance time during eye closed of the normal sides. Reinjuries were found in both groups at 3 months follow up; 1/15 (6.67%) of the training group and 2/17 (11.76%) of the control group, which was not significantly different. This study suggests that star excursion balance technique training is more effective in improving functional stability in subjects with ankle sprains than conventional physical therapy program |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2473 |
ISBN: | 9741767153 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Lerson.pdf | 839.99 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.