Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24749
Title: การเปรียบเทียบค่านิยมทางวิชาชีพ ทางบริการ และทางราชการ ของนักศึกษาพยาบาลและที่มีระยะเวลาของประสบการณ์การปฏิบัติงาน ในคลีนิคแตกต่างกัน
Other Titles: A comparison of professional values, service-traditiona values and bureaucratic values of nursing students and nurses with different periods of clinical experience
Authors: นิภา คิดประเสริฐ
Advisors: จินตนา ยุนิพันธ์
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่าง ค่านิยมทางวิชาชีพทางบริการ และทางราชการ ของนักศึกษาพยาบาลและพยาบาล ศึกษาและเปรียบเทียบค่านิยมทางวิชาชีพ ทางบริการ และทางราชการ ของนักศึกษาพยาบาลและพยาบาลที่มีระยะเวลาของประสบการณ์การปฏิบัติงานในคลีนิคแตกต่างกัน ศึกษาและเปรียบเทียบความขัดแย้งในการแสดงบทบาทพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาลและพยาบาล ที่มีระยะเวลาของประสบการณ์การปฏิบัติงานในคลินิกแตกต่างกัน รวมทั้ง ศึกษาและเปรียบเทียบ ความขัดแย้งในการแสดงบทบาทพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลและพยาบาล ที่มีระดับค่านิยมทางวิชาชีพและทางราชการแตกต่างกัน ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย นักศึกษาพยาบาลปี 4 จำนวน 89 คน พยาบาลที่มีประสบการณ์ 1 ปี จำนวน 67 คน พยาบาลที่มีประสบการณ์ 2 ปี จำนวน 52 คน พยาบาลที่มีประสบการณ์ 3 ปี จำนวน 50 คน และพยาบาลที่มีประสบการณ์ 4 ปี จำนวน 42 คน จากสถาบันการศึกษาพยาบาลและโรงพยาบาลในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยทุกแห่ง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแยกประเภท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นมาตรวัดซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง หาความตรงตามเนื้อหาโดยอาศัยการตัดสินของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 ท่าน หาความเที่ยงของมาตรวัดโดยใช้สูตร สัมประสิทธิ์แอลฟ่า ได้ค่าความเที่ยงของมาตรวัด ค่านิยมทางวิชาชีพ 0.80 ค่านิยมทางบริการ 0.73 และค่านิยมทางราชการ 0.58 และหาความเที่ยงของมาตรวัดโดยใช้แบบสอบซ้ำ มาตรวัดทุกชุด ได้ค่าความเที่ยงประมาณ 0.7 ข้อมูลที่รวบรวมได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาค่าสหสัมพันธ์ ด้วยวิธีของเพียร์สัน ค่าสหสัมพันธ์บางส่วน และทดสอบนัยสำคัญของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ด้วยการทดสอบ ค่า ที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างคู่ ภายหลังการทดสอบความแปรปรวน โดยการทดสอบด้วยวิธี S-method ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสัมพันธ์ระหว่าง ค่านิยมทางวิชาชีพ ทางบริการ และทางราชการ ของนักศึกษาพยาบาลและพยาบาล 1.1 สำหรับนักศึกษาพยาบาล ปี 4 พบว่า เมื่อกำจัดอิทธิพลของค่านิยมทางบริการแล้ว ค่านิยมทางวิชาชีพ มีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับค่านิยมทางราชการ เมื่อกำจัดอิทธิพลของค่านิยมทางราชการแล้ว ค่านิยมทางวิชาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กับค่านิยมทางบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมทั้งเมื่อกำจัดอิทธิพลของค่านิยมทางวิชาชีพแล้ว ค่านิยมทางบริการมีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับค่านิยมทางราชการ 1.2 สำหรับพยาบาล พบว่า เมื่อกำจัดอิทธิพลของค่านิยมทางบริการแล้ว ค่านิยมทางวิชาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กับค่านิยมทางราชการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อกำจัดอิทธิพลของค่านิยมทางราชการแล้ว ค่านิยมทางวิชาชีพ มีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับค่านิยมทางบริการ และเมื่อกำจัดอิทธิพลของค่านิยมทางวิชาชีพแล้ว ค่านิยมทางบริการ มีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับต่ำมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับค่านิยมทางราชการ 1.3 สำหรับกลุ่มนักศึกษาพยาบาลและพยาบาล พบว่า เมื่อกำจัดอิทธิพลของค่านิยมทางบริการแล้ว ค่านิยมทางวิชาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กับค่านิยมทางราชการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อกำจัดอิทธิพลของค่านิยมทางราชการแล้ว ค่านิยมทางวิชาชีพ มีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับค่านิยมทางบริการ และเมื่อกำจัดอิทธิพลของค่านิยมทางวิชาชีพแล้ว ค่านิยมทางบริการ มีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับต่ำมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับค่านิยมทางราชการ 2. ผลการเปรียบเทียบ ค่านิยมทางวิชาชีพ ทางบริการ และทางราชการของนักศึกษาพยาบาล ปี 4 และพยาบาลที่มีระยะเวลาของประสบการณ์การปฏิบัติงานในคลินิก 1 ปี 2 ปี 3 ปี และ 4 ปี พบว่า นักศึกษาพยาบาล ปี 4 และพยาบาลที่มีประสบการณ์ 1 ปี 2 ปี 3 ปี และ 4 ปี มีค่านิยมทางวิชาชีพ ทางบริการ และทางราชการไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการเปรียบเทียบความขัดแย้งในการแสดงบทบาทพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาล ปี 4 และพยาบาลที่มีระยะเวลาของประสบการณ์การปฏิบัติงานในคลินิก 1 ปี 2 ปี 3 ปี และ 4 ปี พบว่า นักศึกษาพยาบาล ปี 4 มีความขัดแย้งในการแสดงบทบาทพยาบาล สูงกว่า พยาบาลที่มีประสบการณ์ 1 ปี 2 ปี 3 ปี และ 4 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มพยาบาลที่มีประสบการณ์ 1 ปี 2 ปี 3 ปี และ 4 ปี มีความขัดแย้ง ในการแสดงบทบาทพยาบาล ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ผลการเปรียบเทียบความขัดแย้งในการแสดงบทบาทพยาบาล ในกลุ่มนักศึกษาพยาบาลและพยาบาล ที่มีระดับค่านิยมทางวิชาชีพและค่านิยมทางราชการ แตกต่างกัน พบว่า กลุ่มผู้ที่มีค่านิยมทางวิชาชีพและค่านิยมทางราชการสูง กลุ่มผู้ที่มีค่านิยม ทางวิชาชีพสูงแต่มีค่านิยมทางราชการต่ำ มีความขัดแย้งในการแสดงบทบาทพยาบาลสูงกว่า กลุ่มผู้ที่มีค่านิยมทางวิชาชีพต่ำแต่มีค่านิยมทางราชการสูง และกลุ่มผู้ที่มีค่านิยมทางวิชาชีพและค่านิยมทางราชการต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The four purposes of this thesis were to study the interrelationships among Professional Values, Service-Traditional Values and Bureaucratic Values of nursing students and nurses, to study and compare those values of nursing students and nurses with different periods of clinical experience, to study and compare the nursing role conflicts of nursing students and nurses with different periods of clinical experience and to study and compare the nursing role conflicts of nursing students and nurses who have different degrees of Professional and Bureaucratic Values. The samples consisted of 89 fourth year nursing students, 67 one-year experience nurses, 52 two-year experience nurses, 50 three-year experience nurses and 42 four-year experience nurses from the faculties of nursing and the university hospitals under the auspices of the Ministry of University Affairs. The stratified random sampling technique was employed in this research. Data were gathered by the scales developed by the researcher for this study. The research instrument’s content validity was done by 8 experts. The reliability by ∝ - coefficient formula of the Professional Scales, Service-Traditional Scales and Bureaucratic Scales were 0.80, 0.73, and 0.58 respectively. The Test-retest reliability coefficients of every scales was about 0.7. Statistical procedures used in analyzing the obtained data were the Pearson Product-Moment Correlation Coefficient, Partial Correlation Coefficient and t-test, ANOVA and S-method test. The major findings were as follows : 1. The interrelationships among Professional Values, Service-Traditional Values and Bureaucratic Values of nursing students and nurses 1.1 For the nursing students, there was a moderately positive significant relationship between Professional Values and Bureaucratic Values when Service-Traditional Values had been controlled. There wasn’t a significant relationship between Professional Values and Service-Traditional Values when Bureau-cratic Values had been controlled. There was a moderately positive significant relationship between Service-Traditional Values and Bureaucratic Values when Professional Values had been controlled. 1.2 For the nurses, there wasn’t a significant relationship between Professional Values and Bureaucratic Values when Service-Traditional Values had been controlled. There was a very high positive significant relationship between Professional Values and Service-Traditional Values when Bureaucratic Values had been controlled and there was a very low positive significant relationship between Service-Traditional Values and Bureaucratic Values when Professional Values had been controlled. 1.3 For the nursing students and nurses, there wasn’t a significant relationship between Professional Values and Bureau-cratice Values when Service-Traditional Values had been controlled. There was a nearly high positive significant relationship between Professional Values and Service-Traditional Values when Bureau-cratic Values had been controlled and there was a very low positive significant relationship between Service-Traditional Values and Bureaucratic Values when Professional Values had been controlled. 2. There wasn’t a significant difference among the means of scores of Professional Values, Service-Traditional Values and Bureaucratic Values of fourth year nursing students and of one- two-, three- and four-year experience nurses. 3. There was a significant difference among the means of score of the nursing role conflicts of nursing students and nurses. When comparing between each two groups, it was found that nursing students had more nursing role conflicts significantly than nurses and there wasn’t a significant difference between such conflicts among the nurses who had different periods of experience. 4. There was a significant difference among the means of scores of the nursing role conflicts of nursing students and nurses with different degrees of Professional and Bureaucratic Values. When comparing between each two groups, it was found that nursing students and nurses with high degree of Professional and Bareau-cratic Values and those with high degree of Professional Values but low degree of Bareaucratic Values had the nursing role conflicts significantly more than nursing students and nurses with low degree of Professional Values but high degree of Bureaucratic Values and those with low degree of Professional and Bureaucratic Values.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24749
ISBN: 9745632023
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nipa_Ki_front.pdf680.49 kBAdobe PDFView/Open
Nipa_Ki_ch1.pdf694.26 kBAdobe PDFView/Open
Nipa_Ki_ch2.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Nipa_Ki_ch3.pdf884.7 kBAdobe PDFView/Open
Nipa_Ki_ch4.pdf858.61 kBAdobe PDFView/Open
Nipa_Ki_ch5.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Nipa_Ki_back.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.