Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24839
Title: การกำหนดภารกิจสำหรับรัฐบาลท้องถิ่นประเภทต่าง ๆ
Other Titles: Assignment of services provided by local government
Authors: นิรัชรา คุ้มพงษ์
Advisors: ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาสำคัญของการคลังส่วนท้องถิ่นคือ รายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในการดำเนินภารกิจ สืบเนื่องจากสันนิษฐานว่า การกำหนดภารกิจสำหรับรัฐบาลท้องถิ่นในประเทศไทยทั้ง 5 ประเภท (ได้แก่ เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา) ยังไม่เหมาะสม การศึกษานี้จึงมุ่งศึกษาถึงแนวคิดหรือหลักเกณฑ์ซึ่งเป็นวิธีในการกำหนดภารกิจที่เหมาะสมสำหรับรัฐบาลท้องถิ่นประเภทต่าง ๆ โดยจะแบ่งขั้นตอนในการวิเคราะห์การกำหนดภารกิจเป็น 3 ขั้นตอน คือ (1) การกำหนดภารกิจสำหรับภาครัฐบาลและภาคเอกชน (2) การกำหนดภารกิจสำหรับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น (3) การกำหนดภารกิจสำหรับรัฐบาลท้องถิ่นทั้ง 5 ประเภท จากผลการศึกษากำหนดได้ว่าภารกิจที่เอกชนควรเป็นผู้จัดหาจะมีลักษณะกีดกันการบริโภคโดยผ่านระบบตลาดหรือกลไกราคา และมีการแข่งขันหรือบริโภคเป็นส่วนบุคคล ส่วนภาครัฐบาลจะจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะที่มีลักษณะไม่กีดกันการบริโภค และไม่แข่งขันหรือมีการบริโภคร่วมกัน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงปัจจัย 5 ประการคือ (1) เพื่อการรักษามาตรฐานคุณภาพ (2) เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีอำนาจทางการเมืองมากเกินไป (3) ประสิทธิภาพจากขนาดการผลิต (4) หลีกเลี่ยงไม่ให้มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่มากเกินไป (5) การได้เปรียบที่รัฐมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินการอยู่แล้ว ท้ายที่สุดเป็นผลการวิเคราะห์การกำหนดภารกิจของรัฐบาลท้องถิ่นแต่ละประเภทซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้คือ รัฐบาลท้องถิ่นประเภทเทศบาล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ควรจัดหาสินค้าและบริการที่มีลักษณะขอบข่ายผลประโยชน์แคบมีการประหยัดขนาดทางเศรษฐกิจ มีความใกล้ชิดของประชาชน มีสมรรถนะของการให้บริการจำกัดหรือกว้างก็ได้ และมีการกระจายรายได้หรือคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน สำหรับองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้นควรผลิตสินค้าและบริการที่มีขอบข่ายผลประโยชน์กว้าง มีการประหยัดขนาดทางเศรษฐกิจ ไม่มีความใกล้ชิดของประชาชนมีสมรรถนะของการให้บริการจำกัด และไม่มีการกระจายรายได้หรือไม่มีคุณภาพมาตรฐานเดียวกันและสุขาภิบาลควรผลิตสินค้าและบริการที่มีลักษณะขอบข่ายผลประโยชน์แคบไม่มีการประหยัดขนาดทางเศรษฐกิจ มีความใกล้ชิดของประชาชน มีสมรรถนะของการให้บริการแคบจำกัด และไม่มีการกระจายรายได้หรือไม่มีคุณภาพมาตรฐานเดียวกันได้ แม้ว่าการวิเคราะห์การกำหนดภารกิจสำหรับรัฐบาลท้องถิ่นแต่ละประเภทนี้ จะไม่สามารถระบุลงไปได้แน่นอนว่าปัจจัยกำหนดที่สร้างขึ้นแต่ละตัวนั้นมีน้ำหนัก (เชิงปริมาณ) มากน้อยแค่ไหน แต่ก็ทำให้สามารถหาเหตุผลขึ้นมาเป็นเกณฑ์เพื่อจับหลักการที่จะกำหนดได้ว่าภารกิจใดควรเป็นหน้าที่ของใคร โดยแท้จริงแล้วขั้นตอนต่อไปที่จะบอกให้ทราบได้ว่าภารกิจใดควรเป็นหน้าที่ของใครนั้นขึ้นอยู่กับเกณฑ์ทางการเมืองที่เรียกว่า “ประชามติของประชาชน” โดยการแสดงความต้องการที่แท้จริงของประชาชนออกมา
Other Abstract: The important problem of the local finance is that the income for carrying on its goods and sevices exceeds the expenditure. This is because the assignment of duties and services of 5 categories of local government (such as municipality, sub-municipality, the Provincial Administrative Organization, the Bangkok Metropolitan can the City of Pataya) was not appropriately assigned. Thus, this study is aimed to investigate proper concept or criteria concerning the determination of goods and services for those local governments mentioned above. The analysis of service determination was grouped into 3 steps : (1) goods and service determination for public and private sectors, (2) goods and services determination for central and local governments and (3) goods and services determination for 5 categories of local government. This study concludes that goods and services the private sector should provide exhibit rival consumption and are possible to be excluded from nonpaying consumers by the price mechanism. While the public sector should provide goods and public services which exhibit joint consumption and which cannot be excluded from nonpaying consumers in addition it should have to consider these 5 factors : (1) the maintenance of quality standard, (2) the avoidance of high political power, (3) the efficiency of production size, (4) the government in terms of existing operational facilities. The assignment of goods and services for the local government as the Municipality, the Bangkok Metropolitan and the city of Pataya should be based on the criteria which exhibit limit of the benefit regions, the political proximity, limited of capacity of the services, and also the need for redistribution or the maintenance of quality standard. Though, this analysis cannot provide ultimate criteria for the determination of goods and services that each type of local government should provide. Ultimately, “plebiscite or public hearing” a political criteria, seems to be the best principal indicator in assigning the types of goods and services each local government should provide.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24839
ISBN: 9745678991
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nirachara_Kh_front.pdf484.02 kBAdobe PDFView/Open
Nirachara_Kh_ch1.pdf674.87 kBAdobe PDFView/Open
Nirachara_Kh_ch2.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Nirachara_Kh_ch3.pdf893.49 kBAdobe PDFView/Open
Nirachara_Kh_ch4.pdf743.54 kBAdobe PDFView/Open
Nirachara_Kh_ch5.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open
Nirachara_Kh_ch6.pdf693.41 kBAdobe PDFView/Open
Nirachara_Kh_back.pdf808.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.