Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25078
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
dc.contributor.advisorชูศักดิ์ เวชแพศย์
dc.contributor.authorไวพจน์ จันทร์เสม
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-21T14:10:46Z
dc.date.available2012-11-21T14:10:46Z
dc.date.issued2545
dc.identifier.isbn9741724934
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25078
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกเพื่อพัฒนาพลังความอดทนของกล้ามเนื้อขาในกีฬารักบี้ฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักกีฬารักบี้ฟุตบอลระดับอุดมศึกษา ของวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 30 คน โดยทำการสุ่มแบบกำหนดลงในกลุ่มสามกลุ่มๆละ 10 คน แต่ละกลุ่มทำการทดลองตามโปรแกรมการฝึกดังนี้ กลุ่มที่หนึ่ง โปรแกรมการฝึกด้วยน้ำหนักควบคู่กับการวิ่งสองนาที กลุ่มที่สอง โปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการวิ่งสองนาที กลุ่มที่ 3 โปรแกรมการฝึกด้วยน้ำหนัก ทำการฝึกตามโปรแกรมการฝึกเป็นเวลาแปดสัปดาห์ๆละสองวัน ทำการทดสอบพลังความอดทนของกล้ามเนื้อขาโดยการกระโดดต่อเนื่อง 30 วินาที เวลาในการวิ่ง 40 เมตร ความเร็วในการวิ่ง 40 เมตร ความอดทนของกล้ามเนื้อขาโดยการยกน้ำหนักท่าสควอท ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสอง สี่ หก แปดสัปดาห์และหลังเสร็จสิ้นการทดลองสองสัปดาห์ นำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวแบบวัดซ้ำ และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีการทดสอบของตูกี เอ โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. โปรแกรมการฝึกเพื่อพัฒนาพลังความอดทนของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬารักบี้ฟุตบอล ทั้ง 3 โปรแกรม ไม่สามารถพัฒนาพัฒนาพลังความอดทนของกล้ามเนื้อขาได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทั้ง 3 โปรแกรม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.โปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการวิ่งสองนาที และโปรแกรมการฝึกด้วยน้ำหนักควบคู่กับการวิ่งสองนาที ใช้เวลาในการวิ่ง 40 เมตร(5.41 และ 5.41 วินาที) น้อยกว่า โปรแกรมฝึกด้วยน้ำหนัก (5.69 วินาที) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. โปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการวิ่งสองนาที และโปรแกรมฝึกด้วยน้ำหนักควบคู่กับการวิ่งสองนาที มีความเร็วเฉลี่ยในการวิ่ง 40 เมตร (7.41 และ 7.39 เมตร/วินาที) มากกว่า โปรแกรมการฝึกด้วยน้ำหนัก (7.03 เมตร/วินาที) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. โปรแกรมการฝึกเพื่อพัฒนาพลังความอดทนของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬารักบี้ฟุตบอล ทั้ง 3 โปรแกรม สามารถพัฒนาพัฒนาความอดทนของกล้ามเนื้อขาได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทั้ง 3 โปรแกรม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to develop training program for building up leg muscular power endurance in rugby football players. The subjects were 30 rugby football players from the college of physical education of Samutsakhon by randomization. The subjects were assigned into three groups, each group consisted of the athletes : the first group worked with combined plyometric training and two minute - running, the second group worked with combined weight training and two minute-running and the third group worked with weight training only. The three groups trained two days a week for a period of eight weeks. The obtained data of leg muscular power endurance in repeated jumping 30 second, time in 40 meter – running, speed in 40 meter – running and leg muscular endurance were taken before experiment, after two, four, six, eight weeks training and two weeks after training. The data were analyzed in terms of means and standard deviations, one-way analysis of variance and one-way analysis of variance with repeated measures and multiple comparison by the Tukey (a) were also employed for the statistical significance at the .05 level. The results indicated that: 1. The three development of training program for building up leg muscular power endurance in rugby football players were no significant at the .05 level and there were no significant at the .05 level among three programs. 2. The time in 40 meter - running in combined plyometric training and two minute - running and combined weight training and two minute - running were significantly (5.41 and 5.41 second) less than weight training group (5.69 second) at the .05 level. 3. The speed in 40 meter - running in combined plyometric training and two minute - running and combined weight training and two minute - running were significantly (7.41 and 7.39 meter/second) more than weight training group (7.03 meter/second) at the .05 level. 4. The three development of training program for building up leg muscular endurance in rugby football players were significant building up leg muscular endurance at the .05 level and there were no significant differences at the .05 level among three programs.
dc.format.extent5848415 bytes
dc.format.extent5312326 bytes
dc.format.extent23428278 bytes
dc.format.extent1865440 bytes
dc.format.extent23242694 bytes
dc.format.extent4640174 bytes
dc.format.extent11405889 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมการฝึกเพื่อพัฒนาพลังความอดทนของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลen
dc.title.alternativeThe development of a training program for building up leg muscular power endurance in rugby football playersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineพลศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wipoj_ch_front.pdf5.71 MBAdobe PDFView/Open
Wipoj_ch_ch1.pdf5.19 MBAdobe PDFView/Open
Wipoj_ch_ch2.pdf22.88 MBAdobe PDFView/Open
Wipoj_ch_ch3.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Wipoj_ch_ch4.pdf22.7 MBAdobe PDFView/Open
Wipoj_ch_ch5.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open
Wipoj_ch_back.pdf11.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.