Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2531
Title: ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการถูกคู่ชีวิตทำร้ายของหญิงในบ้านพักฉุกเฉิน สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี
Other Titles: Psychosocial factors related to spouse abuse of women in emergency home at association for the promotion of the status for women Donmueng Bangkok
Authors: ปิ่นอนงค์ เครือซ้า, 2519-
Advisors: ดวงใจ กสานติกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Duangjai.K@Chula.ac.th
Subjects: ความรุนแรงต่อสตรี
ความรุนแรงในครอบครัว
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการถูกคู่ชีวิตทำร้ายของหญิงในบ้านพักฉุกเฉิน และปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องของหญิงในบ้านพักฉุกเฉิน สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี โดยจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 271 คน และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างในกลุ่มตัวอย่างที่ถูกคู่ชีวิตทำร้าย 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 6 ส่วน คือ 1. แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2. แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางสังคม 3. แบบสอบถามการเผชิญเหตุการณ์เครียด 4. แบบสอบถามวัดบุคลิกภาพ (The Moudsley Personality Inventory : MPI) 5. แบบสอบถามการถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ (Index Spouse Abuse : ISA) 6. ประเด็นคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด Chi-Square test Fisher's Exact Test และ Stepwise Multiple Regression Analysis วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างโดยมากมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 21-25 ปี คิดเป็นร้อยละ 28.80 กลุ่มตัวอย่างถูกทำร้ายด้านร่างกายจำนวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 40.60 และถูกทำร้ายทางด้านจิตใจจำนวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ 40.20 ผลการหาความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยทางจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการถูกทำร้ายทางร่างกาย และจิตใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การแต่งงาน ระดับการศึกษา รายได้ ประเภทของครอบครัว ระยะเวลาการอยู่ร่วมกัน พฤติกรรมการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประวัติการเจ็บป่วยทางกาย ความรุนแรงในครอบครัวเดิม และบุคลิกภาพของหญิงที่ถูกทำร้าย เมื่อนำตัวแปรต่างๆ มาคัดเลือกโดยการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุขั้นตอนพบว่า ตัวแปรที่ดีที่สุดที่สามารถอธิบายการถูกคู่ชีวิตทำร้ายร่างกาย และจิตใจ คือ การใช้ความรุนแรงในครอบครัวเดิมของหญิงที่ถูกคู่ชีวิตทำร้าย คิดเป็นร้อยละ 38.8 และมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการถูกคู่ชีวิตทำร้าย คือ พฤติกรรมการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความรุนแรงในครอบครัวเดิม รายได้ และการสนับสนุนทางสังคม
Other Abstract: The objective of this descriptive research is to study spouse abuse and related psychosocial factors among women in emergency home at association for the promotion of the status for women. The sample consist of 271 women in emergency home and indepth interview 10 case. In this study, the instrument was a set of questionnaires that consisted of 6 parts. Part one, demographic questionnaire was used for collecting subjects' background information. Part two, social factors questionnaire was used for collecting family of origin and subjects' husband background information part three, stressful life measure questionnaire. Part four, The Maudsley Personality Inventory : MPI. Part five, Index Spouse Abuse : ISA. Part six, the point for in-depth interview. Data was analyzed by SPSS for windows. Statistic utilized consist of Mea, Percentage, Standard Deviation, Maximun, Minimum, Chi-square test, Fisher's Exact test, and Stepwise Multiple Regression Analysis. The study found that 28.80% of the subject were between 21-25 years old. The physical abuse were 110 persons or 40.60% and Non-physical abuse were 109 persons or 40.20%. Correlation analyze revealed that the psychosocial factors related to physical and non-physical abuse (p<.01) are marriage, education, level, income, type of family, dulation of marriage, alcohol use, history of physical illness, violence in family of origin and personality. By using Stepwise Multiple Regression Analysis, the most salient factor at p<.01 which can be predictive physical and non-physical abuse is the violence in family of origin. In-depth interview revealed that factors related to spouse abouse were alcohol use, violence in family of origin, income and social support.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2531
ISBN: 9745314013
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pinanong.pdf959.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.