Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25401
Title: การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานเก้าอี้ทันตกรรมด้วยกระบวนการจัดตารางการผลิต
Other Titles: Production efficiency enhancement of a dental chair factory by production scheduling process
Authors: เนตรดาว อดิศรพันธุ์กุล
Advisors: วันชัย ริจิรวนิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อจัดทำระบบการจัดตารางผลิตให้กับแผนกผลิตชิ้นส่วนสำหรับโรงงานผลิตเก้าอี้ทันตกรรม จากการศึกษาพบว่าเกิดการรอคอยชิ้นส่วนขึ้นที่หน่วยงานประกอบ ซึ่งมีการรอเข้าและรอมาของชิ้นส่วนในสายการประกอบ เนื่องจากการขาดระบบการจัดตารางการผลิต เป็นผลให้ชิ้นส่วนที่ผลิตจากหน่วยงานกลนั้นผลิตไม่ตรงกับความต้องการใช้งานของหน่วยงานประกอบ จึงได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดตารางการผลิตชิ้นส่วนของแผนกผลิต การปรับปรุงระบบการจัดตารางการผลิต เริ่มจากการวิเคราะห์กระบวนการผลิตของโรงงาน รวมกับการศึกษากระบวนการผลิตชิ้นส่วนที่ใช้ในการประกอบ รวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการจัดตารางการผลิต ออกแบบและจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้ภาษาวิชวลเบสิก 6.0 โดยโปรแกรมการจัดตารางการผลิตชิ้นส่วนของแผนกผลิตที่ทำการออกแบบ จะช่วยในการวางแผนการผลิตของชิ้นส่วน ให้สามารถผลิตได้ตรงตามความต้องการของหน่วยงานประกอบ และทำให้หน่วยงานกลมีการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลทำให้มีการลดจำนวนของชิ้นส่วนที่รอคอยและชิ้นส่วนที่รอเข้าในสายประกอบลง ทำให้หน่วยงานประกอบสามารถประกอบเก้าอี้ทันตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง ผลจากการจัดทำตารางการผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการควบคุมการผลิตชิ้นส่วน ลดการว่างงานของเครื่องจักร เป็นผลให้ลดจำนวนของชิ้นส่วนที่รอคอยและชิ้นส่วนที่รอเข้าในสายประกอบลง ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 33 หน่วยต่อเดือน เป็น 48 หน่วยต่อเดือน และลดค่าเสียโอกาสจากการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าล่าช้า 330,000 บาทต่อเดือนเป็น 110,000 บาทต่อเดือน
Other Abstract: The objective of this thesis is to establish a production-scheduling scheme in the production department of a dental chair factory. According to the study, there was a delay of incoming parts assembles line and parts waiting for assembly due to the lake of systematic scheduling planning. As a result, parts produced had not met the Assembly Unit's requirements. The designed computer props, therefore, has been brought to rearrange the production scheduling process. To improve the factory's production-scheduling process started from an analysis of production process together with parts that were made for assembly, collected databases that used in the production scheduling, designed and created the computer program by visual basic 6.0 language. The computer program is designed to reschedule the production plan in order to help in the production planning can produce parts as the Assembly Unit's requirements and use the efficient utilization of resources. As result, there was reduced delay and waiting parts and Assembly Unit can assembly continually the dental chairs. The designed production schedule operated by computer has resulted in the better control in production line and the reduction of machine idle time. As result, there was reduced delay and waiting parts. The production has increased from 33 to 48 unit/month and reduced opportunity cost in delay delivery from 330,000 to 110,000 baht/month.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25401
ISBN: 9741735782
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natedao_ad_front.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open
Natedao_ad_ch1.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open
Natedao_ad_ch2.pdf6.51 MBAdobe PDFView/Open
Natedao_ad_ch3.pdf9.11 MBAdobe PDFView/Open
Natedao_ad_ch4.pdf12 MBAdobe PDFView/Open
Natedao_ad_ch5.pdf12.83 MBAdobe PDFView/Open
Natedao_ad_ch6.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open
Natedao_ad_back.pdf37.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.