Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25446
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหาร เกี่ยวกับกระบวนการบริหารการศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา ในส่วนภูมิภาค
Other Titles: Opinions of administrators and assistant administrators concerning administrative process of large secondary school administrators under the auspices of the Department of General Education in Regional Area
Authors: สุรชัย เทียนขาว
Advisors: อมรชัย ตันติเมธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การบริหารการศึกษา
ผู้บริหารโรงเรียน
โรงเรียนมัธยมศึกษา
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร และผู้ช่วยผู้บริหารเกี่ยวกับกระบวนการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา ในส่วนภูมิภาค 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหาร เกี่ยวกับกระบวนการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา ในส่วนภูมิภาค 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหาร เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษาในส่วนภูมิภาค สมมติฐานของการวิจัย ความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ช่วยเกี่ยวกับกระบวนการบริหารการศึกษาของผู้บริหารแตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและผู้ช่วยบริหารของโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา ในส่วนภูมิภาค 176 โรง ตัวอย่างประชากร ประกอบด้วยผู้บริหาร 176 คน และผู้ช่วยผู้บริหาร 704 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามซึ่งครอบคลุมกระบวนการบริหารการศึกษา 7 ด้าน คือ การตัดสินใจสั่งการ การวางแผน การจัดองค์การ การติดต่อสื่อสาร การใช้อิทธิพล การประสานงาน และการประเมินผลงาน แบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบ แบบมาตราส่วน ประเมินค่า และแบบปลายเปิด แบบสอบถามได้รับคืน 696 ฉบับ จาก 880 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 79.09 ของแบบสอบถามที่ส่งไป ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที สรุปผลการวิจัย 1. ผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารมีความเห็นว่า ผู้บริหารมีการปฏิบัติตามกะบวนการบริหารการศึกษาอยู่ในระดับมาก 6 ด้านคือ การตัดสินใจสั่งการ การวางแผน การจัดองค์การ การติดต่อสื่อสาร การใช้อิทธิพล และการประสานงาน ส่วนการประเมินผลงานนั้นผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารมีความเห็นว่า ผู้บริหารปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง 2. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหาร เกี่ยวกับกระบวนการบริหารการศึกษาของผู้บริหาร พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารการศึกษาของผู้บริหาร 7 ด้าน คือ การตัดสินใจสั่งการ การวางแผน การจัดองค์การ การติดต่อสื่อสาร การใช้อิทธิพล การประสานและการประเมินผลงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน 3. ในการศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับกระบวนการบริหารการศึกษาของผู้บริหารนั้นพบว่า เป็นอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 7 ด้าน ในส่วนที่เป็นปัญหาและอุปสรรคอื่น ๆ ซึ่งได้มาจากความคิดเห็นของผู้ช่วยผู้บริหารบางคนได้พบว่า เรื่องต่อไปนี้เป็นปัญหาและอุปสรรคที่ประสบอยู่ในกระบวนการบริหารการศึกษาของผู้บริหาร คือ ผู้บริหารตัดสินใจสั่งการตามที่ตนเองพอใจ ตัดสินใจสั่งการตามกลุ่มที่มีอิทธิพลในโรงเรียน ไม่มีความมั่นใจในการตัดสินใจสั่งการ ขาดข้อมูลในการตัดสินใจสั่งการ ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญต่อการวางแผน ไม่มีนโยบายในการปฏิบัติงาน นิยมใช้ระบบอุปถัมภ์ในการแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารแบ่งหน้าที่ไม่ทั่วถึงและไม่ชัดเจน บุคลากรของโรงเรียนไม่เข้าใจบทบาท และหน้าที่ของตนเอง ผู้บริหารรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรน้อยเกินไป ไม่มีน้ำใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชา การปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆ ขาดการประสานงาน ไม่มีหลักเกณฑ์ในการประเมินผล และขาดการติดตามผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25446
ISBN: 9745621358
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surachai_Ti_front.pdf508.26 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_Ti_ch1.pdf695.18 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_Ti_ch2.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
Surachai_Ti_ch3.pdf428.34 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_Ti_ch4.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Surachai_Ti_ch5.pdf719.02 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_Ti_back.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.