Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25446
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอมรชัย ตันติเมธ
dc.contributor.authorสุรชัย เทียนขาว
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-23T02:49:36Z
dc.date.available2012-11-23T02:49:36Z
dc.date.issued2526
dc.identifier.isbn9745621358
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25446
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en
dc.description.abstractตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร และผู้ช่วยผู้บริหารเกี่ยวกับกระบวนการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา ในส่วนภูมิภาค 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหาร เกี่ยวกับกระบวนการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา ในส่วนภูมิภาค 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหาร เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษาในส่วนภูมิภาค สมมติฐานของการวิจัย ความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ช่วยเกี่ยวกับกระบวนการบริหารการศึกษาของผู้บริหารแตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและผู้ช่วยบริหารของโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา ในส่วนภูมิภาค 176 โรง ตัวอย่างประชากร ประกอบด้วยผู้บริหาร 176 คน และผู้ช่วยผู้บริหาร 704 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามซึ่งครอบคลุมกระบวนการบริหารการศึกษา 7 ด้าน คือ การตัดสินใจสั่งการ การวางแผน การจัดองค์การ การติดต่อสื่อสาร การใช้อิทธิพล การประสานงาน และการประเมินผลงาน แบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบ แบบมาตราส่วน ประเมินค่า และแบบปลายเปิด แบบสอบถามได้รับคืน 696 ฉบับ จาก 880 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 79.09 ของแบบสอบถามที่ส่งไป ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที สรุปผลการวิจัย 1. ผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารมีความเห็นว่า ผู้บริหารมีการปฏิบัติตามกะบวนการบริหารการศึกษาอยู่ในระดับมาก 6 ด้านคือ การตัดสินใจสั่งการ การวางแผน การจัดองค์การ การติดต่อสื่อสาร การใช้อิทธิพล และการประสานงาน ส่วนการประเมินผลงานนั้นผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารมีความเห็นว่า ผู้บริหารปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง 2. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหาร เกี่ยวกับกระบวนการบริหารการศึกษาของผู้บริหาร พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารการศึกษาของผู้บริหาร 7 ด้าน คือ การตัดสินใจสั่งการ การวางแผน การจัดองค์การ การติดต่อสื่อสาร การใช้อิทธิพล การประสานและการประเมินผลงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน 3. ในการศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับกระบวนการบริหารการศึกษาของผู้บริหารนั้นพบว่า เป็นอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 7 ด้าน ในส่วนที่เป็นปัญหาและอุปสรรคอื่น ๆ ซึ่งได้มาจากความคิดเห็นของผู้ช่วยผู้บริหารบางคนได้พบว่า เรื่องต่อไปนี้เป็นปัญหาและอุปสรรคที่ประสบอยู่ในกระบวนการบริหารการศึกษาของผู้บริหาร คือ ผู้บริหารตัดสินใจสั่งการตามที่ตนเองพอใจ ตัดสินใจสั่งการตามกลุ่มที่มีอิทธิพลในโรงเรียน ไม่มีความมั่นใจในการตัดสินใจสั่งการ ขาดข้อมูลในการตัดสินใจสั่งการ ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญต่อการวางแผน ไม่มีนโยบายในการปฏิบัติงาน นิยมใช้ระบบอุปถัมภ์ในการแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารแบ่งหน้าที่ไม่ทั่วถึงและไม่ชัดเจน บุคลากรของโรงเรียนไม่เข้าใจบทบาท และหน้าที่ของตนเอง ผู้บริหารรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรน้อยเกินไป ไม่มีน้ำใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชา การปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆ ขาดการประสานงาน ไม่มีหลักเกณฑ์ในการประเมินผล และขาดการติดตามผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
dc.format.extent520454 bytes
dc.format.extent711860 bytes
dc.format.extent2094825 bytes
dc.format.extent438623 bytes
dc.format.extent1222907 bytes
dc.format.extent736273 bytes
dc.format.extent1034966 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการบริหารการศึกษา
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียน
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา
dc.titleความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหาร เกี่ยวกับกระบวนการบริหารการศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา ในส่วนภูมิภาคen
dc.title.alternativeOpinions of administrators and assistant administrators concerning administrative process of large secondary school administrators under the auspices of the Department of General Education in Regional Areaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surachai_Ti_front.pdf508.26 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_Ti_ch1.pdf695.18 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_Ti_ch2.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
Surachai_Ti_ch3.pdf428.34 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_Ti_ch4.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Surachai_Ti_ch5.pdf719.02 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_Ti_back.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.