Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25646
Title: ลักษณะของคำไวยากรณ์ในภาษาไทย
Other Titles: The characteristics of the Thai function words
Authors: ราตรี ธันวารชร
Advisors: วิจินตน์ ภาณุพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ภาษาไทย -- ไวยากรณ์
Thai language -- Grammar
Issue Date: 2516
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาลักษณะของคำไวยากรณ์ในภาษาไทย คือศึกษาหน้าที่ในภาษาไทยและความหมายทางโครงสร้างแบบต่าง ๆ ที่คำประเภทนี้แสดง โดยเน้นให้เห็นลักษณะที่แตกต่างจากคำอีกประเภทหนึ่ง คือคำหลัก ข้อมูลที่นำมาศึกษานั้นเก็บรวบรวมจากภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ผลของการวิจัยทำให้ทราบว่า คำไวยากรณ์จำนวน 876 คำ แบ่งเป็น 23 ชนิดมีลักษณะดังนี้คือ ประการแรก เป็นคำที่ไม่สามารถปรากฏ และทำหน้าที่ตามลำพังเป็นส่วนประกอบของประโยคในภาษาไทยได้ จะต้องทำหน้าที่นี้ร่วมกับคำชนิดอื่นซึ้งจะต้องมีคำหลักอยู่ด้วยเสมอ มีคำไวยากรณ์บางคำที่สามารถปรากฏและทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของประโยคได้ แต่จะปรากฏเฉพาะในประโยคไม่เริ่มเท่านั้น ประการที่สอง เป็นคำที่แสดงความหมายทางโครงสร้างได้ 3 ประเภท คือ ความหมายทางโครงสร้างแบบขยายความหมายทางโครงสร้างแบบเชื่อม และความหมายทางโครงสร้างแบบบอกความหมายรวม ๆ ของทั้งประโยคเป็นแบบมาลาต่าง ๆ การวิจัยได้เสนอเป็น 6 บท คือ บทที่ 1 เป็นบทนำ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา ขอบเขต และความมุ่งหมายของการวิจัย บทที่ 2 กล่าวถึงศัพท์เฉพาะที่ใช้ในวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ บทที่ 3 กล่าวถึงคำจำกัดความของความหมายประจำคำ และความหมายทางโครงสร้างของคำในภาษาไทย บทที่ 4 กล่าวถึงลักษณะของคำไวยากรณ์ในภาษาไทย บทที่ 5 กล่าวถึงวิธีการแสดงความหมายทางโครงสร้างแบบต่าง ๆของคำไวยากรณ์ บทที่ 6 เป็นการสรุปผลของการวิจัยและข้อเสนอแนะซึ่งกล่าวถึงสรุปผลการวิจัย และเสนอแนะให้ผู้ที่สนใจภาษาไทย ศึกษาละเอียดลงไปว่ารายคำของไวยากรณ์แต่ละชนิดใน 23 ชนิดที่ปรากฏกับคำนาม จะใช้ได้กับคำนามประเภทใดบ้าง และในภาคผนวก ผู้วิจัยได้อธิบายความหมายประจำคำ และความหมายทางโครงสร้างของคำไวยากรณ์แต่ละคำไว้ด้วย
Other Abstract: It is the aim of this thesis to study the characteristics of Thai function words, i.e. to study their function, the structural meanings of all types, and to distinguish them from the principal word-classes in Thai. A study of the everyday conversation of people who use the Bangkok dialect provide the data included in this work. The thesis has shown that the characteristics of the eight hundred and seventy six Thai function words, divided into twenty three classes are as follows: Firsly , they cannot function as sentence constituents without the principal word-classes: nouns and verbs, in an initiating sentence, some of them can function as sentence constituents but only in a non-initiating sentence. Secondly, they express three types of structural meanings: modification, linkage and mood. The thesis is divided into six chapters. The first chapter is an introduction stating the scope and the purpose of this thesis. The second chapter deals with the technical terms used in this thesis. The third chapter deals with the definition of lexical and structural meanings. The forth chapter deals with the characteristics of Thai function words. The fifth chapter deals with the means by which each class of function words expresses its structural meanings. The last chapter is a conclusion. In it, it is suggested that further research should be conducted in the kind of noun with which each of the function word in twenty-three classes can appear. The Appendix deals with lexical and structural meanings of each Thai function word.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2516
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25646
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratri_Dh_front.pdf486.76 kBAdobe PDFView/Open
Ratri_Dh_ch1.pdf519.54 kBAdobe PDFView/Open
Ratri_Dh_ch2.pdf682.3 kBAdobe PDFView/Open
Ratri_Dh_ch3.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Ratri_Dh_ch4.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Ratri_Dh_ch5.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
Ratri_Dh_ch6.pdf488.94 kBAdobe PDFView/Open
Ratri_Dh_back.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.