Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25653
Title: การตรวจกรองการกลายพันธุ์ของ KCND3 และ Linkage Analysis ของ KCNA4 และ KCNA5 ในโรคใหลตายที่มีลักษณะของบรูกาดาซินโดรม
Other Titles: Mutation screening of KCND3 and linkage analysis of KCNA4 an KCNA5 in sudden unexplained death syndrome with brugada syndrome phenotype
Authors: เทียมจิต ไชยชนะ
Advisors: สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์
วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคใหลตาย หรือ Sudden Unexplained Death Syndrome (SUDS) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีการถ่ายทอดแบบ autosomal dominant ผู้ป่วยใหลตายมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ right bundle branch block และ ST-segment elevation ใน lead V1-V3 นำไปสู่การเกิด ventricular fibrillation ซึ่งลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจดังกล่าวคล้ายคลึงกับผู้ป่วยกลุ่มอาการบรูกาดา โดย 25% ของผู้ป่วยบรูกาดามีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ของยีน SCN5A ซึ่งเป็นยีนของช่องโซเดียมของกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนี้ยังมีรายงานพบว่า และ ST-segment elevation เกิดจาก transmural gradient ของกล้ามเนื้อหัวใจที่เป็นผลมาจาก Ito ที่เกิดจากกระแสที่ผ่านช่องโปตัสเซียมของกล้ามเนื้อหัวใจซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคได้ จึงทำการศึกษายีนของช่องโปตัสเซียมของกล้ามเนื้อหัวใจที่เกี่ยวข้องกับ Ito โดยการตรวจกรองการกลายพันธุ์ของยีน KCND3 โดยวิธี direct sequencing ทั้ง 7 exon ในผู้รอดชีวิตจากการใหลตาย 2 ราย จากครอบครัวใหลตายที่ทำการศึกษา linkage analysis แล้วไม่สามารถ exclude linkage ได้ ผลปรากฏว่าไม่พบการกลายพันธุ์ใน exon ที่ 2 ถึง 7 ในผู้ป่วยรอดชีวิตทั้ง 2 ราย และทำการศึกษา linkage analysis ของยีน KCNA4 และKCNA5 โดยวิธี microsatellite ในครอบครัวใหลตาย 3 ครอบครัว ปรากฏว่าไม่พบความสัมพันธุ์ของการถ่ายทอดโครโมโซมในตำแหน่งใกล้ยีน KCNA5 แต่พบว่าอาจมีการถ่ายทอดโครโมโซมในตำแหน่งใกล้ยีน KCNA4 ซึ่งผลจากการศึกษาดังกล่าวจึงควรจะมีการศึกษายีน KCNA4 ต่อไปว่าเป็นสาเหตุของโรคใหลตายหรือไม่ต่อไป
Other Abstract: Lai-tai or Sudden Unexplained Death Syndrome (SUDS) is a genetic disorder with the mode of transmission of autosomal dominant. SUDS survivors share the same ECG pattern as Brugada syndrome (Right bundle branch block and ST-segment elevation in leads V 1-V3) that lead to ventricular fibrillation. About the twenty-five percentage of Brugada syndromes are caused by cardiac sodium channel gene (SCNSA) mutation. It has been suggested that potassium transient outward current (Ito) may responsible for the ST-segment elevation. In mutation screening, shows no mutation on exons 2 to 7 of KCN03 gene in 2 SUDS survivors, which can not exclude linkage in linkage study. To determine whether cardiac potassium channel gene was the caused of the disorder, we performed linkage studies on 3 SUDS families with the Brugada phenotype in KCNA4 and KCNA5 gene by four polymorphic markers and found genetic linkage in KCNA4 but not link in KCNA5 gene. Future genetic studies in KCNA4 and other cardiac potassium channel genes might elucidate the molecular basis of SUDS.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25653
ISBN: 9741758243
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thiamjit_ch_front.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open
Thiamjit_ch_ch1.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Thiamjit_ch_ch2.pdf5 MBAdobe PDFView/Open
Thiamjit_ch_ch3.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open
Thiamjit_ch_ch4.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Thiamjit_ch_ch5.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Thiamjit_ch_back.pdf3.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.