Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25671
Title: ความเป็นพนักงานในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
Other Titles: The status of officials in the context of malfeasance in office
Authors: รุ่งรัตน์ ทับทิมทอง
Advisors: อมราวดี อังค์สุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความเป็นเจ้าพนักงานเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนด ให้บุคคลซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานนั้นมีอำนาจหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ซึ่งอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายได้มอบให้แก่เจ้าพนักงานคนหนึ่งคนใด แท้จริงแล้วก็เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐที่จะต้องปฏิบัติหรือมีอยู่ต่อประชาชนในรัฐนั่นเอง ดังนั้นเจ้าพนักงานเหล่านี้จึงมีสภาพคล้ายกับกลไกอย่างหนึ่งของรัฐที่ใช้ในการบริหารกิจการของรัฐ ซึ่งในการปฏิบัติงานในฐานะเช่นนั้นบางครั้งอาจได้รับการโต้ตอบหรืออาจจะไม่ได้รับความร่วมมือจากบุคคลอื่น เนื่องจากการกระทำเช่นนั้นอาจจะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของเขาได้ หริบางครั้งเจ้าพนักงานเหล่านั้นอาจจะอาศัยโอกาสที่มีอำนาจพิเศษจากบุคคลอื่นแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น หรืออาจจะใช้อำนาจที่มีตามกฎหมายนั้นไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นได้ ดังนั้นเมื่อกฎหมายกำหนดอำนาจหน้าที่ให้แก่เจ้าพนักงานแล้วกฎหมายจึงต้องกำหนดมาตรการซึ่งจะเป็นการควบคุมและคุ้มครองเจ้าพนักงานเหล่านั้นด้วย โดยกำหนดมาตรการดังกล่าวในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งหมายความว่าการกระทำต่อเจ้าพนักงานอันเป็นการล่วงละเมิดต่ออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าพนักงาน หรือการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งเป็นการใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายโดยไม่ชอบหรือปฏิบัติหน้าที่โดยชอบไม่ด้วยกฎหมาย เป็นการกระทำที่จะต้องรับโทษทางอาญาด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าประมวลกฎหมายอาญาจะได้กำหนดบทบัญญัติคุ้มครองและควบคุมเจ้าพนักงานไว้ แต่กลับมิได้บัญญัติความหมายของเจ้าพนักงานไว้ว่าหมายความถึงบุคคลประเภทใดบ้าง หรือบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเช่นไรจึงจะมีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน ดังนั้นในการใช้บทบัญญัติของกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับเจ้าพนักงานจึงกลายเป็นภาระของศาลที่จะกำหนดลักษณะของเจ้าพนักงานว่าจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ซึ่งในปัจจุบันนี้คำพิพากษาฎีกาได้กำหนดลักษณะของเจ้าพนักงานไว้พอสรุปได้ 3 ประการคือ 1. กรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งให้เป็นเจ้าพนักงาน 2. กรณีที่กฎหมายกำหนดอำนาจหน้าที่ให้เห็นได้อยู่ในตัวว่าเป็นเจ้าพนักงาน 3. กรณีที่ได้รับการแต่งตั้งตามทางการโดยชอบให้ปฏิบัติราชการ หลักเกณฑ์ทั้ง 3 ประการนี้ เป็นหลักเกณฑ์ที่ศาลฎีกาได้วางไว้พอเป็นแนวทางในการพิจารณาแต่มิใช่หลักเกณฑ์ที่กฎหมายได้วางไว้ ดังนั้นหลักเกณฑ์เหล่านี้จึงอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจซึ่งในยุคสมัยหนึ่งบุคคลประเภทหนึ่งอาจจะได้รับการพิจารณาว่ามีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน แต่ยุคสมัยต่อมาบุคคลประเภทนั้นก็อาจจะไม่มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานก็ได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายกำหนดไว้อย่างแน่นอนนอกจากบุคคลที่มีกฎหมายกำหนดให้มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานไว้อย่างแจ้งชัด และจากการตีความหลักเกณฑ์ แต่บุคคลซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานแล้ว ก็มิได้หมายความว่าบุคคลนั้นจะได้รับความคุ้มครองหรือถูกควบคุมโดยบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญาในส่วนของความผิดเกี่ยวกับการปกครองอยู่เสมอ แต่จะต้องประกอบกับการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามตำแหน่งด้วย จึงจะได้รับความคุ้มครองหรือถูกควบคุมโดยกฎหมายในส่วนนี้ มิฉะนั้นแล้วการกระทำของบุคคลเหล่านี้แม้จะมีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน ก็จะต้องพิจารณาความรับผิดกันอย่างบุคคลธรรมดาทั่วไป ดังนั้นจึงน่าจะได้พิจารณากันอย่างละเอียดว่าการปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งนี้พิจารณากันอย่างไร เพื่อจะได้นำมาพิจารณาประกอบกับความผิดเกี่ยวกับการปกครองและการยุติธรรมต่อไป อย่างไรก็ตามรายละเอียดในเรื่องใดก็ตามที่กล่าวในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ต่อไปอาจจะถูกขยายความให้กว้างออกไปหรืออาจจะถูกจำกัดให้แคบเข้าโดยสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง
Other Abstract: The fact of being an official is provided by law in order to have duty or duties on his functions. As a matter of fact, the exercise of an official’s functions is the functions of the State towards her citizens. So we can compare the status of an official as the State’s machine to perform the State’s duties. In performing the said duties there might be some reaction or non-cooperation on the part of injury person or sometimes an official may resort to fraudulent practices in the use of authority invested in him. Besides having authority, an official is controlled and protected by law, especially in Thai Penal Code, which hold that both offences against officials or malfeasance in office are illegal. However, it can be said that there is no definition of “Official” in the Thai Penal Code, so it is the burden of the Court to interpret the characteristics of an official and the Supreme Court clarifies the definition into three aspects. (1). When it is clearly provided by law that one is an official. (2). When it is apparent from the function provided by law that one is an official. (3).When there is a legal appointment to exercise function as an official. Inspite of the rules laid by the Supreme Court, but there is no written law on the definition of an official so the rules of the Supreme Court may be changed depending on the circumstances. Moreover, not every official is controlled and protected by law, but consideration must also be given to the factor of “Function” otherwise the liability of an official is like that of an ordinary person, so the study of an official’s functions is very necessary especially in offences relation to public administration, and offences against judicial officials.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25671
ISBN: 9745668044
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Roongrat_Tu_front.pdf442.53 kBAdobe PDFView/Open
Roongrat_Tu_ch1.pdf317.83 kBAdobe PDFView/Open
Roongrat_Tu_ch2.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open
Roongrat_Tu_ch3.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Roongrat_Tu_ch4.pdf636.12 kBAdobe PDFView/Open
Roongrat_Tu_back.pdf285.11 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.