Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25771
Title: โครงการแนะแนวในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A guidance service program for elementary schools of Bangkok metropolis
Authors: สุรเชษฐ จิตตะวิกูล
Advisors: เลขา ปิยะอัจฉริยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาทัศนคติและความคิดเห็นเกี่ยวกับการแนะนำในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ของผู้บริหารการศึกษาในสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ศึกษานิเทศก์ ครูใหญ่ และครูประจำชั้นหรือครูแนะแนว 2. เพื่อเสนอแนวทางในการจัดโครงการแนะแนวสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร วิธีการดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาในสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ศึกษานิเทศก์ ครูใหญ่ และครูประจำชั้นหรือครูแนะแนว เกี่ยวกับการแนะแนวในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบและการจัดโครงการแนะแนวในโรงเรียนประถมศึกษา ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนประถมศึกษา โดยมีลักษณะคำถามเป็นแบบเขียนเครื่องหมาย เติมข้อความ มาตรส่วนประเมินค่าและคำถามปลายเปิด ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่ายและวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแยกประเภท (Stratified Random Sampling) ได้ผู้บริหารการศึกษาในสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ศึกษานิเทศก์ และโรงเรียนที่เป็นตัวอย่างประชากรทั้ง 24 เขต จำนวน 72 โรง ประกอบด้วยผู้บริหารการศึกษาในสำนักการศึกษา 9 คน ศึกษานิเทศก์ 24 คน ครูใหญ่ 72 คน ครูประจำชั้นหรือครูแนะแนว 326 คนนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยการตรวจนับจำนวนตัวอย่างประชากร จำแนกตามตำแหน่งงานที่รับผิดชอบ ขนาดโรงเรียน อายุราชการ เพศ และระดับการศึกษา หาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และจัดเรียงลำดับความคิดเห็น ผลการวิจัย ผู้บริหารการศึกษาสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร และศึกษานิเทศก์ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าด้วยนโยบายการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนประถมศึกษามีความสำคัญในระดับน้อย ครูใหญ่ ครูประจำชั้นหรือครูแนะแนวเห็นว่า สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ควรกำหนดตำแหน่งครูแนะแนวโดยเร็ว การจัดโครงการแนะแนวของโรงเรียนเท่าที่เป็นอยู่ขาดประสิทธิภาพ ไม่มีมาตรฐานเพียงพอ เนื่องมาจากครูใหญ่และคณะครูในโรงเรียนขาดความรู้ประสบการณ์ด้านแนะแนวที่ถูกต้อง ปัญหาด้านแนะแนวพบว่า การจัดโครงการแนะแนวในปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับบุคลากรอยู่มากที่สุด โรงเรียนยังไม่มีตำแหน่งครูแนะแนว การปฏิบัติงานไม่สอดคล้องกับหลักการแนะแนวและจุดมุ่งหมายในการจัดของโรงเรียน บุคลากรที่ทำหน้าที่แนะแนวอยู่ในขณะนี้ขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากมีชั่วโมงสอนมากเกินไปจึงทำงานไม่ได้เต็มที่ โรงเรียนส่วนใหญ่ขาดเงินงบประมาณ อุปกรณ์แนะแนว ห้องแนะแนว เวลา และสถานที่จัดกิจกรรมอยู่อีกมาก เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดโครงการแนะแนวในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จากผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครูใหญ่ ครูประจำชั้นหรือครูแนะแนวแล้ว พบว่าส่วนใหญ่มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ว่าโรงเรียนควรจัดโครงการแนะแนวขึ้นเพื่อนักเรียนทุกคน สิ่งที่ทุกฝ่ายต้องการมากที่สุด คือ ให้ผู้บริหารโรงเรียนและครูได้เข้ารับการอบรมทางด้านแนะแนวที่ทางสำนักการศึกษาจัดให้ทุกโรงเรียน
Other Abstract: Purposes The purposes of this research were 1. To study the attitude and opinions of educational administrators working at the office of education Bangkok Metropolis of supervisors, principals and classroom teachers or guidance teachers concerning the guidance service program for elementary schools of Bangkok Metropolis. 2. To suggest guidelines for setting up guidance service program for elementary school, Bangkok Metropolis. Procedures The instrument used in this research was a set of questionnaires which had been constructed, tested and improved by the investigator. The set of questionnaires was divided into three parts: opinions, problems and suggestions concerning guidance service program for elementary schools of Bangkok Metropolis. The forms of questionnaire were checklist, completion, ratting-scale and opened-end types. The samples were chosen by simple random Sampling and stratified random sampling technique. The questionnaires were distributed to 9 educational administrators and to randomly selected samples of 24 supervisors, 72 principals and 326 classroom teachers or guidance teachers. The collected data were classified and statistically analyzed, using mean and standard deviation. Finding Analysis of the data resulted in the following findings. The educational administrators and supervisors didn’t see much importance of a clear policy guidance service program. The principals and classroom teachers or guidance teachers agreed that the office of education should create a position for guidance teacher. The problems of guidance service program for elementary schools, Bangkok Metropolis were the lack of position for guidance teacher, the inefficiency of teachers working as guidance teachers because of having too many teaching hours and the awareness of principals, teachers, pupils and parents concerning guidance service program as well as budget and materials. Comparatively, the opinion of the educational administrators, supervisors, principals and classroom teachers or guidance teachers were not different. Most of the responsers agreed with the setting up of a guidance service program in elementary schools. Moreover, the responsers strongly agreed that the principals and teachers should be trained in school guidance provided by the office of education, Bangkok Metropolis.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25771
ISBN: 9745625795
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surachet_Ji_front.pdf524.85 kBAdobe PDFView/Open
Surachet_Ji_ch1.pdf510.33 kBAdobe PDFView/Open
Surachet_Ji_ch2.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Surachet_Ji_ch3.pdf369.6 kBAdobe PDFView/Open
Surachet_Ji_ch4.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Surachet_Ji_ch5.pdf778.07 kBAdobe PDFView/Open
Surachet_Ji_back.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.