Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25791
Title: ความขัดแย้งภายในคณะราษฎร
Other Titles: Conflicts within the People's Party
Authors: วีณา มโนพิโมกษ์
Advisors: ชัยอนันต์ สมุทวณิช
ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และระบอบประชาธิปไตยย่อมต้องให้ความสำคัญแก่บทบาทของคณะราษฎรเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากคณะราษฎรเป็นกลุ่มบุคคลที่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เป็นผลสำเร็จ และสามารถผูกขาดอำนาจการปกครองในเวลาต่อมาได้นานถึง15 ปี (24 มิถุนายน 2475-8 พฤศจิกายน 2490) การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับคณะราษฎรจึงช่วยให้เข้าใจถึงสภาวะทางการเมืองในช่วงที่คณะราษฎรมีอิทธิพลอยู่ได้อย่างชัดแจ้งยิ่งขึ้น วิธีการศึกษาปัญหาความขัดแย้งภายในคณะราษฎรซึ่งเป็นผลงานวิจัยทางประวัติศาสตร์ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้รวบรวมและวิเคราะห์จากหลักฐานที่เป็นเอกสาร โดยยึดเอกสารชั้นต้นเป็นหลัก และเอกสารรองเป็นส่วนประกอบ สำหรับเอกสารชั้นต้นนั้น ผู้เขียนได้ให้ความสนใจแก่เอกสารราชการและรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และเอกสารกระทรวงต่างประเทศอังกฤษ ซึ่งเก็บรักษา ณ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากเอกสารทั้งสองแหล่งนี้เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยตรง และนับว่าเป็นข้อมูลที่ยังใหม่อยู่มาก จึงช่วยให้มีการพิจารณาปัญหาต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง และแตกต่างไปจากที่ได้มีผู้วิจัยไปแล้ว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของคณะราษฎรในส่วนที่เกี่ยวกับกรณีความขัดแย้งระหว่างสมาชิกชั้นผู้นำ โดยพิจารณาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มขุนนางเก่ากับกลุ่มคณะราษฎรหัวก้าวหน้า ความขัดแย้งภายในกลุ่มผู้นำทหารบก ความขัดแย้งระหว่างผู้นำฝ่ายทหารบกกับผู้นำฝ่ายพลเรือน และความขัดแย้งภายในกลุ่มผู้นำฝ่ายพลเรือน อันเป็นการจัดแบ่งบุคคลตามลักษณะแนวความคิดและสายงานอาชีพ เพื่อความสะดวกในการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำคณะราษฎรนับตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งความขัดแย้งสิ้นสุดลงเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสิ้นสุดอำนาจทางการเมือง และเพื่อที่จะได้พิจารณากรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในแต่ละกลุ่ม หรือในระหว่างกลุ่มอย่างต่อเนื่องกัน โดยมุ่งหวังที่จะค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น นอกเหนือไปจากการพิจารณาคณะราษฎรในฐานะกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานครอบครัว การศึกษา และสถานภาพทางสังคมที่แตกต่างกันตลอดจนการขาดอุดมการทางการเมืองร่วมกัน ซึ่งเข้ารวมกลุ่มกันโดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศ ทั้งนี้อาจสรุปได้ว่า สาเหตุสำคัญของความขัดแย้งภายในคณะราษฎร ก็คือ ความต้องการในอำนาจทางการเมือง จึงเกิดการแก่งแย่งแข่งขัน ตลอดจนการกำจัดซึ่งกันและกัน อันเป็นผลสืบเนื่องถึงความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตลอดระยะเวลาที่คณะราษฎรทำการปกครองประเทศ อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ความผันผวนทางการเมืองอันเนื่องมาจากการแย่งชิงอำนาจภายในกลุ่มคณะราษฎรนั้น ยังคงอยู่ภายในขอบเขตการปกครองระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ ยังคงมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักสำคัญในการปกครองประเทศ.
Other Abstract: It is necessary to pay much attention to the role of the People’s Party in the study of Thai History in a transitional period between absolute monarchy and democracy. The People’s Party was successful in changing the government and later in monopolising administrative power for as long as 15 years (June 24, 1932-November 8, 1947). Therefore, the study of the People’s Party would provide us some insights into the political situation as it was influenced by the actions of the People’s Party. The problem of the conflicts within the People’s Party will be investigated mainly by means of documentary research. All of the facts herein were collected from both primary and secondary sources. As for primary sources, the writer paid much attention to government documents i.e. the cabinet’s meeting reports from the Cabinet’s Secretariat of the Government of Thailand and the British Foreign Office documents, xeroxed & microfilmed copies kept at the Institute of Thai Studies, Thammasat University. The above mentioned sources are directly relevant to this study have been recently disclosed. They are most helpful for this research. This thesis has concentrated on the political behavior of the People’s Party in terms of conflicts among its elites by inductive consideration of the conflicts between the aristocrats and the progressives, the conflicts among the military leaders, the conflicts between the military and civilian leaders and the conflicts among the civilian leaders. A group classification was made according to their political concept and professional background so that it would be convenient to study the relationship of the People’s Party leaders from the beginning of a conflict through the end when political power was lost. Conflicts within each group and between groups were carefully studied with the purpose of finding the real cause of conflicts. Also, the account of the People’s Party as a group of people with different family, educational background, and social status and a as a group lack of shared political ideology who joined together just to change the country’s administration will be investigated. It can be concluded that the significant motive of the conflicts within the People’s Party was the struggle political power. The struggle among themselves to get rid of each other has gone to the extent that it influenced political evolution all through the rule of the People’s Party. However, it was remarkable that the political fluctuation caused by power strife within the People’s Party was yet within democratic rules of the game.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25791
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weena_Ma_front.pdf661.26 kBAdobe PDFView/Open
Weena_Ma_ch1.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Ma_ch2.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Ma_ch3.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Ma_ch4.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Ma_ch5.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Ma_ch6.pdf844.21 kBAdobe PDFView/Open
Weena_Ma_back.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.