Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25889
Title: ระบบปรับอากาศแบบดูดกลืนโดยใช้ลิเธียมโบรไมด์-น้ำ
Other Titles: Absorption air-conditioning system by LiBr-H2O
Authors: วิสุทธิ์ เลี่ยมสกุล
Advisors: ชัยฤทธิ์ สัตยาประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทำความเย็นระบบดูดกลืนโดยใช้ลิเธียมโบรไมด์ - น้ำ เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถนำพลังงานความร้อนมาทำความเย็น ซึ่งในต่างประเทศได้มีการศึกษาและพัฒนามาเป็นเวลานานแล้ว แต่ส่วนใหญ่ได้ออกแบบให้ใช้กับพลังงานความร้อนที่อุณหภูมิสูง และ การใช้งานยังไม่แพร่หลายและเหมาะสมเท่าที่ควร เนื่องจากราคาของเครื่องมือสูงมากรวมทั้งเทคนิคและวิธีการคำนวณในการสร้างยังไม่เป็นที่เปิดเผย จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงปัญหารายละเอียดและเทคนิควิธีการต่างๆ ดังที่ได้กระทำในงานวิจัยนี้ งานวิทยานิพนธ์นี้ได้ออกแบบให้หน่วยทำความเย็นมีขนาด ½ ตัน ความเย็น โดยมุ่งเน้นที่ต้องการใช้พลังงานความร้อนอุณหภูมิต่ำกับตัวกำเนิด เพื่อที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับน้ำร้อนที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือความร้อนที่ปล่อยทิ้งไปตามโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ และให้ระบบทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ปั้มเพื่อขับดันสารละลายจากด้านความดันต่ำเข้าสู่ด้านความดันสูง แต่อาศัยแรงดันต่างระดับแทน ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำงานและลดค่าบำรุงรักษาของระบบลงได้ ในระบบปรับอากาศแบบดูดกลืน ส่วนต่างๆ ในระบบใช้หลักการแลกเปลี่ยนความร้อนทั้งสิ้นในการสร้างได้ใช้ท่อทองแดงเป็นท่อนำสารทั้งหมดภายในระบบ เพื่อป้องกันปัญหาการกัดกร่อนและเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อน ส่วนตัวถังใช้เหล็กไร้สนิม(stainless steel) ชนิด 316 L เพื่อทนต่อการกัดกร่อนของสารละลายลิเธียมโบรไมด์ และมีความแข็งแรงทนต่อความกดดันภายนอกในขณะที่ระบบทำงานอยู่ภายใต้ความดันสูญญากาศ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ระบบสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา โดยไม่ต้องใช้ปั้มเพื่อทำให้สารละลายหมุนเวียนแต่อย่างใด และสามารถทำงานได้ในช่วงอุณหภูมิประมาณ 156.2- 178.7 องศาฟาเรนไฮด์ ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สามารถใช้กับน้ำร้อนที่ได้จากแผงรับความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้เป็นอย่างดี และสามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานความร้อนต่อหน่วยพื้นที่กับอุณหภูมิที่จะใช้ในการทำให้สารละลายลิเธียมโบรไมด์เข้มข้น 55% ภายใต้ความดัน 45 – 62 ทอร์เดือดและทำให้ระบบสามารถทำงานได้
Other Abstract: Absorption air – conditioning system by Li Br-H2O is heat – operated to produce cooling energy. In the past, this process was not suitable because the price of this equipment was very high, and it was designed for using heating energy at high temperature. It can be more useful when its price is low and it can operate at lower temperature. In this thesis, the LiBr –H2O absorption air – conditioning system of ½ ton refrigerating capacity was designed to operate at low temperature at the generator. Hence, hot water produced by solar energy or any other heating energy at low temperature may be used to run the air – conditioner. In addition, there was no circulating pump in the designed air – conditioning system. Thus, it can operate safer with less maintenance. The system consisted mainly of heat – exchanging units so that copper tubes were used to increase heat transfer rate as well as to prevent corrosion. The shell body was made of stainless steel No.316L to prevent corrosion and to stand the pressure under vacuum. This system was able to operate continuously using heating water ranging between 156.2 – 178.7°F in temperature. The relationship of heat flux and temperature of hot water was found for this equipment.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25889
ISBN: 9745648116
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wisuth_Li_front.pdf553.35 kBAdobe PDFView/Open
Wisuth_Li_ch1.pdf432.5 kBAdobe PDFView/Open
Wisuth_Li_ch2.pdf278.64 kBAdobe PDFView/Open
Wisuth_Li_ch3.pdf294.17 kBAdobe PDFView/Open
Wisuth_Li_ch4.pdf519.3 kBAdobe PDFView/Open
Wisuth_Li_ch5.pdf604.86 kBAdobe PDFView/Open
Wisuth_Li_ch6.pdf373.13 kBAdobe PDFView/Open
Wisuth_Li_back.pdf755.24 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.