Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25897
Title: การพัฒนารูปแบบการศึกษาต่อเนื่องเพื่อความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
Other Titles: The development of continuing education model in relevance to the national education Act B.E. 2542
Authors: เอกศักดิ์ แดงเดช
Advisors: อุ่นตา นพคุณ
ดิเรก ลาวัณย์ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการศึกษาต่อเนื่องให้ความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการเก็บข้อมูล 6 ขั้นตอน คือ 1) การเก็บรวมรวมข้อมูลและศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การยกร่างรูปแบบการศึกษาต่อเนื่อง 3) การวิเคราะห์โครงร่างรูปแบบ 4) การปรับโครงร่างรูปแบบ 5) การวิเคราะห์โครงร่างรูปแบบที่ผ่านการปรับ 6) สรุปรูปแบบการศึกษาต่อเนื่องที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาคิ พ.ศ. 2542 โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานการศึกษาต่อเนื่องของมหาวิทยาลัยในประเทศ 4 แห่ง มหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา 3 แห่ง และผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยซึ่งเป็นผู้มีบทบาทหน้าที่ระดับบริหารหรือด้านวิชาการของหน่วยงานการศึกษาต่อเนื่องและการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 2กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 จำนวน 16 ท่าน และกลุ่มที่ 2 จำนวน 9 ท่าน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โครงร่างรูปแบบการศึกษาต่อเนื่องที่สังเคราะห์ขึ้น โครงร่างรูปแบบที่ผ่านการปรับ เทปบันทึกเสียง ตัวผู้วิจัย และผู้ช่วยวิจัย โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยวิธีวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ซึ่งเป็นวิธีการตีความสร้างข้อสรุปจากข้อมูลที่เป็นรูปธรรมหรือปรากฏการณ์ที่มองเห็น วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปและการวิเคร์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) โครงสร้างการดำเนินงานหน่วยงานการศึกษาต่อเนื่องควรเป็นหน่วยงานหารายได้ในรูปแบบวิสาหกิจ มีการบริหารแบบโครงการ พึ่งตนเองมีกำไรเหลือที่จะสนับสนุนโครงการบริการสังคม และผู้ด้อยโอกาส สำรวจความต้องการสังคมสม่ำเสมอ ใช้เทคโนโลยีช่วยเสริมระบบงาน 2) การบริการวิชาการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตแก่ประชาชนทุกกลุ่ม เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน มีหลักสูตรหลากหลายตอบสนองความต้องการ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ใช้เทคนิคการเรียนทางไกล และ การใช้สื่อสารมวลชนขยายโอกาสพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน ประเมินผลที่มีการติดตามผลพัฒนาสื่อการเรียนการสอน เน้นการศึกษาเป็นเรื่องสนุก และ 3) เครือข่ายในการบริการร่วมมือกับองค์กรการศึกษาอื่นๆ เพื่อขยายการให้บริการ ระดมทรัพยากรจากทุกองคาพยพในสังคม ร่วมจัดการศึกษาร่วมกับแหล่งการเรียนรู้เพื่อให้เกิดเครือข่ายการเข้าถึงความรู้อย่างไม่มีขอบเขต ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาสของแต่ละบุคคลเพื่อก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
Other Abstract: This research aimed to develop the model of Continuing Education in relevance to the National Education Act B.E. 2542. The study was conducted by using Qualitative Research Methods. There were 6 steps in order to collect data: 1) data collecting and basic information study 2) initial Continuing Education model set up 3) initial model analysis 4) adjust model 5) adjusted model analysis and 6) summarize Continuing Education model in relevance to the National Education Act B.E. 2542. The content analysis of this research contained data of Continuing Education department of 4 Universities in Thailand and 3 Universities in the United State, and two sample group of Thai experts: the first group included the management and academic proficient in Continuing Education department and also the expert in Non-formal Education department with regarded to 16 people; the second group involved the number of 9 managements in Continuing Education department. Research tools were: structured interview protocol, initial Continuing Education model set up, adjusted model, tape recorder, researcher, and research assistants. Analytic induction was employed to analyze basic data of Continuing Education departments. While qualitative content analysis and descriptive analysis were operated upon the indepth interview data as well as focus group discussion information. The findings of this study are ; 1) a state enterprise structured which is self-supporting and maintains profits in order to conduct social service projects which focused in disadvantage groups, as well as using technology and examining social needs. 2) provides academic services to promote Life Long Learning to all target groups and focused on the community involvement. Various courses to support target’s satisfaction and their needs. Make use of distance learning technology and mass media to convey the opportunities of standardized learning quality. Follow up evaluation process should be employed. The development of the Education Mediated focused on the enjoyment of learning. 3) Initiate cooperation networks to extend the academic services and extract social resources to organize learning community without boundaries.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25897
ISBN: 9741728735
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eaksakdi_da_front.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open
Eaksakdi_da_ch1.pdf3.84 MBAdobe PDFView/Open
Eaksakdi_da_ch2.pdf33.62 MBAdobe PDFView/Open
Eaksakdi_da_ch3.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open
Eaksakdi_da_ch4.pdf55.71 MBAdobe PDFView/Open
Eaksakdi_da_ch5.pdf7.2 MBAdobe PDFView/Open
Eaksakdi_da_back.pdf14.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.