Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25916
Title: คณะกรรมการลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน
Other Titles: Employees' committee in labour law
Authors: สราวุธ ศิริภาณุรักษ์
Advisors: สุดาศิริ เฮงพูลธนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กฎหมายแรงงาน
แรงงานสัมพันธ์
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เป็นที่ยอมรับกันว่า บทบาทของรัฐบาลในการส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ออกกฎหมายแรงงานรับรองสิทธิของลูกจ้างในการที่จะก่อตั้งสหภาพแรงงาน การร่วมเจรจาต่อรองกับนายจ้างและการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างลูกจ้าง แต่ก็มีข้อสักเกตว่า กระบวนการแรงงานสัมพันธ์ดังกว่างอาจมีส่วนสร้างการเผชิญหน้าระหว่างนายจ้างลูกจ้าง และหลาย ๆ ครั้งก็เป็นการยุ่งยากที่จะยุติข้อพิพาทแรงงานเหล่านั้นได้ ครั้นต่อมารัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติเรื่องคณะกรรมการลูกจ้างขึ้นควบคู่กับระบบการร่วมเจรจาต่อรองพร้อม ๆ กัน ทำให้เห็นได้ว่า ประเทศไทยเริ่มมีแนวความคิดที่จะให้ลูกจ้างเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการของนายจ้างได้ และเป็นการดำเนินนโยบายด้านแรงงานสัมพันธ์ตามระบบทวิภาคี ด้วยการพยายามสร้างความเข้าใจเพื่อหาทางปรองดองระหว่างกันและกัน ความพอใจของลูกจ้างในการทำงานและความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยไม่เกี่ยวข้องกับรัฐ ซึ่งสอดคล้องกับข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศในเรื่องการปรึกษาหารือและร่วมปฏิบัติการในกิจการ แต่คณะกรรมการลูกจ้างในประเทศไทยก็ยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีปัญหาและความไม่เข้าใจหลายอย่างหลายประการเกี่ยวกับคณะกรรมการลูกจ้างนี้ จึงน่าที่จะได้มีการศึกษาวิเคราะห์กฎหมายแรงงานของประเทศไทยเรื่องคณะกรรมการลูกจ้างเปรียบเทียบกับของกฎหมายต่างประเทศและผลทางปฏิบัติเกี่ยวกับกฎหมายเรื่องนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายต่อไป การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของแนวความคิดและนโยบายด้านแรงงานสัมพันธ์ตามแต่ละยุคสมัย แนวความคิดเรื่องการเข้าไปมีส่วนร่วมของลูกจ้างในการจัดการหรือทฤษฎีประชาธิปไตยในทางอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นที่มาของหลักการจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ลักษณะขององค์กรคณะกรรมการลูกจ้างที่มีการจัดตั้งอยู่โดยทั่วไป นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันซึ่งได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคณะกรรมการลูกจ้างมาเป็นเวลานานแล้ว กับประเทศทางภูมิภาคเอเชีย คือ ประเทศญี่ปุ่นและอินเดีย วิธีดำเนินการศึกษากระทำด้วยการรวบรวมข้อมูลเอกสาร บทความ คำพิพากษาของศาล แนวความคิดและความคิดเห็นของนักวิชาการ ตัวบทกฎหมายของต่างประเทศ อนุสัญญาและข้อแนะขององค์กรการแรงงานระหว่างประเทศ พร้อมทั้งจัดทำแบบสอบถามเพื่อศึกษาข้อมูลภาคสนามเกี่ยวกับปัญหาทางปฏิบัติอันเกิดจากบทบัญญัติของกฎหมาย และสำรวจความคิดเห็นของนายจ้างลูกจ้าง และกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจหาร แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับบทบัญญัติของกฎหมายและปัญหาในต่างประเทศ ผลของการวิจัยปรากฏว่า คณะกรรมการลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแรงงานนี้ไม่เพียงส่งเสริมความเข้าใจและหาทางปรองดองให้การทำงานร่วมกันของนายจ้างและลูกจ้างดีขึ้นตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่นายจ้างในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น คุ้มครองรักษาผลประโยชน์ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและประสิทธิผลในการดำเนินกิจการ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการลูกจ้างจะได้รับความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้สิทธิแก่คณะกรรมการลูกจ้างเกี่ยวกับการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการ การยอมรับของนายจ้าง ความรู้ความเข้าใจของนายจ้างและลูกจ้าง และความสามารถในการปฎิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการลูกจ้างเอง ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอแนวทางเพื่อพิจาณาแก้ไขบทบัญญัติเรื่องคณะกรรมการลูกจ้างนี้ เพื่อเพิ่มบทบาทให้แก่คณะกรรมการลูกจ้างมากขึ้น พร้อมทั้งให้รัฐเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเข้าไปมีส่วนร่วมของคณะกรรกมการลูกจ้างแก่นายจ้างและลูกจ้างอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็จัดอบรมแก่ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมลูกจ้างด้วย
Other Abstract: It is accepted that role of government for promotion of labour relations system is vital to the national development. Ever since 1956, the enactment of Labour Law had reflected government policy to improve labour conditions and promote labour relations by regulation conditions of employment and guaranteeing the right of employees to organise and join a labour union and to bargain collectively with employer and to settle dispute. It may be, however, noted that the confrontation between employer and employee had been occurred as never been before. Labour disputes through collective bargaining method were rather difficuly to be settled in many cases. When Labour Relations Act was issued in 1975, provision of employees’ committee, apart from collective bargaining system, was set up for labour-management consultation in enterprises, showing that Thailand has adopted the concept of workers’ participation in management and that policy of labour relations had turned to promote close bipartite dealings. This new provision could be regarded party as recognizing recommendation of the ILO concerning “Consultation and Co-operation between Employers and Workers at the Level of the Undertaking.” Yet, so far, employees’ committee under the law had not been widely understood, caused by lack of knowledge. Then it deserves to study and analyse provisions of employees’ committee under Labour Law of Thailand compared with those under legislations of other countries and seek its pratical resuly for improvement of labour legistation. This studies are about the development of concepts and policies of labour relations in each periods, the principles of Workers’ Participation in Management or Industrial Democracy from which the provisions of employees’ committee have derived, the organization and administration of works’ council. In addition, law on works’ council in Federal Republic of Germany, Japan and India are also studied in comparative. The method of study was done by means of collecting datum documents, articles, court judgements, intellectual opinions, the provisions of labour law of other countries, conventions and recommendations of the ILO. Apart from these, questionnaires were made to employers and employees to survey field data concernings practical problems arising out of analyse with the provisions and their opinions there of, then problems in other countries. The result of this study states that setting up of employees’ committee does not only promote sound understanding and better labour-management co-operation, but also provide other benefits e.g. help protect mutual interest, increase working efficiency and make effective operation. However, the success of employees’ committee in performing its function depend on to what extent that legal provision has empowered workers, managements’ acceptance3, their mutual knowledge and understandings and also their abilities to carry out the work. In conclusion, I propose to revise the legal provision so that employees’ committee will be able to play more role in management. The government should also encourage this form of bipartite dealings with each other and provide information service for employers and employees regularly and continually. At the same time, organize training courses should be organized for those in employees’ committee.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25916
ISBN: 9745633739
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saravut_Si_front.pdf738.24 kBAdobe PDFView/Open
Saravut_Si_ch1.pdf764.23 kBAdobe PDFView/Open
Saravut_Si_ch2.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Saravut_Si_ch3.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Saravut_Si_ch4.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Saravut_Si_ch5.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
Saravut_Si_ch6.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Saravut_Si_ch7.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Saravut_Si_back.pdf735.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.