Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26211
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพวงรัตน์ บุญญานุรักษ์-
dc.contributor.authorสอิ้ง อภิปาลกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-26T13:00:34Z-
dc.date.available2012-11-26T13:00:34Z-
dc.date.issued2524-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26211-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงพฤติกรรมและความต้องการในการสัมผัสบุตรและเปรียบเทียบพฤติกรรมในการสัมผัสบุตรของผู้ป่วยหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลราชวิธี โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีวัตถุประสงค์ ได้กลุ่มตัวอย่าง 120 คน ผู้วิจัยได้ดัดแปลงแบบสังเกตพฤติกรมมาจากแบบสังเกตพฤติกรรมของ แคทเธอรีน โครเพลย์ และได้สร้างแบบสัมภาษณ์เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างประชากรด้วยตนเอง ได้ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาพร้อมกับหึวามเที่ยงทั้งแบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ได้เท่ากับ 0.99 แบบสังเกตพฤติกรมประกอบด้วยข้อความทั้งหมด 32 ข้อ เป็น 2 หมวด คือ หมวดพฤติกรรมการสัมผัสที่แสดงออกด้วยคำพูด และหมวดพฤติกรรมการสัมผัสที่แสดงออกด้วยกริยาท่าทาง ส่วนแบบสัมภาษณ์ประกอบด้วยข้อความทั้งหมด 25 ข้อ เป็น 2 หมวด คือ หมวดความต้องการมีพฤติกรรมการสัมผัสที่แสดงออกด้วยคำพูด และหมวดความต้องการมีพฤติกรรมสัมผัสที่แสดงออกด้วยกริยาท่าทาง ได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้อัตราร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วเปรียบเทียบความแตกต่างของมัชฌิมเลขคณิต โดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย 1. พฤติกรรมในการสัมผัสบุตรของผู้ป่วยหลังคลอดทั้งหมดพบว่า ผู้ป่วยหลังคลอดมีพฤติกรรมในการสัมผัสด้วยการใช้สายตาสำรวจดูบุตรเกิดขึ้นก่อน การถามคำถามเกี่ยวกับการดูแลบุตรเกิดขึ้นภายหลัง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นบ่อยคือการใช้นิ้วมือเขี่ยฝ่ามือและพฤติกรรมที่เกิดระยะเวลานานคือการใช้ฝ่ามือลูบศรีษะบุตร 2. พฤติกรรมการสัมผัสบุตรทั้งที่แสดงออกด้วยคำพูด และกริยาท่าทางของผู้ป่วยหลังคลอดที่มีบุตรคนแรก และมีบุตรตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จึงคงไว้ซึ่งสมมติฐานข้อที่ว่า พฤติกรรมการสัมผัสบุตรทั้งที่แสดงออกด้วยคำพูดและกริยาท่าทางของผู้ป่วยหลังคลอดที่มีบุตรตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ย่อมมากกว่าผู้ป่วยหลังคลอดที่มีบุตรคนแรก 3. พฤติกกรมการสัมผัสบุตรทั้งที่แสดงออกด้วยคำพูดและกริยาท่าทางของผู้ป่วยหลังคลอดที่มีอายุระหว่าง 13-19 ปี และ 20-35 ปี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จึงคงไว้ซึ่งสมมติฐานข้อที่ว่า พฤติกรรมการสัมผัสบุตรทั้งที่แสดงออกด้วยคำพูดและกริยาท่าทางของผู้ป่วยหลังคลอดที่มีอายุระหว่าง 20-35 ปี ย่อมมากกวาผู้ป่วยหลังคลอดที่มีอายุระหว่าง 13-19 ปี 4. พฤติกรรมการสัมผัสบุตรทั้งที่แสดงออกด้วยคำพูดและกริยาท่าทางของผู้ป่วยหลังคลอดที่มีรายได้ครอบครัวระหว่าง 2,000-3,000 บาท และ3,001-4,000 บาท แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จึงคงไว้ซึ่งสมมติฐานข้อที่ว่า พฤติกรรมการสัมผัสบุตรทั้งที่แสดงออกด้วยคำพูดและกริยาท่าทางของผู้ป่วยหลังคลอดที่มีรายได้ครอบครัว 3,001-4,000 บาท ย่อมมากกว่าผู้ป่วยหลังคลอดที่มีรายได้ครอบครัวระหว่าง 2,000-3,000 บาท 5. เมื่อจัดลำดับความต้องการมีพฤติกรรมสัมผัสบุตรทั้งที่แสดงออกด้วยคำพูดและกริยาท่าทางของผู้ป่วยหลังคลอดทั้งหมด ปรากฏว่าลำดับแรกคือความต้องการมีพฤติกรรมการสัมผัสที่แสดงออกด้วยคำพูด ซึ่งได้แก่ การขอดูบุตรทันที่เมื่อสิ้นสุดการคลอด ต้องการทราบว่าบุตรมีร่างกายครบปกติหรือไม่และน้ำหนักเท่าไร ส่วนลำดับสุดท้ายเป็นความต้องการมีพฤติกรรรมการสัมผัสที่แสดงออกด้วยกริยาท่าทางในด้านการกอดรัดบุตร-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the behaviors and needs of postnatal patients concerning the attachment of their newborn infants and to compare the expression of patients about the attachment. The samples were 120 postnatal patients in Rajvithi Hospital selected by the purposive sampling. The instruments were the time sampling observation and interview. The observation form was adapted from the assesment tool which was developed by Mrs.Catherine Cropley and this form was devided into 2 parts; the verbal behaviors and the non-verbal behaviors. The interviewing form was devided into 2 parts; the needs concerning the mothers’ verbal and non-verbal behaviors. The instruments were tested for content validity and reliability were 0.99 and 0.99. The data were analyzed by using various statistical methods such as: percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test. The major findings are as follows: 1. Through observation, it was found that the first attachment behavior was using the sight to explore the newborn infants and the last attachment behavior was asking for caring the newborn infants. The attachment occurred very often was touching the infants’ palms with their fingers and the longest attachment behavior was touching the infants’ heads with their palms. 2. There was a statistically significant difference at the .01 level between verbal and non-verbal behaviors concerning the attachment of their newborn infants of the primigravida and multigravida patients. The hypothesis was retained. 3. There was a statistically significant difference at the .01 level between verbal and non-verbal behaviors concerning the attachment of their newborn infants of patients 13-19 and 20-35 years of age. The hypothesis was retained. 4. When divided the sample into two groups which were those who have income 2,000-3,000 bahts and those whose income 3,000-4,000 bahts. There was a statistically significant difference at the .01 level in verbal and non-verbal behaviors concerning the attachment of their newborn infants of the subjects between those two groups. 5. Patients’ needs to perform the behaviors showed that the verbal behavior was ranked first such as: asking to see the infant, wanted to know about the defects and weight of the infants but the non-verbal behaviors was ranked last which was the enfolding infants.-
dc.format.extent491427 bytes-
dc.format.extent685991 bytes-
dc.format.extent1272805 bytes-
dc.format.extent381154 bytes-
dc.format.extent708777 bytes-
dc.format.extent848239 bytes-
dc.format.extent550910 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleพฤติกรรมและความต้องการในการสัมผัสของผู้ป่วยหลังคลอดen
dc.title.alternativeBehaviors and needs in postnatal patients concerning the attachment of their newborn infantsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sa-ing_Ap_front.pdf479.91 kBAdobe PDFView/Open
Sa-ing_Ap_ch1.pdf669.91 kBAdobe PDFView/Open
Sa-ing_Ap_ch2.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Sa-ing_Ap_ch3.pdf372.22 kBAdobe PDFView/Open
Sa-ing_Ap_ch4.pdf692.17 kBAdobe PDFView/Open
Sa-ing_Ap_ch5.pdf828.36 kBAdobe PDFView/Open
Sa-ing_Ap_back.pdf538 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.